R3 เผยทิศทางซอฟต์แวร์ระบบบล็อกเชน อุตสาหกรรมการเงินต้องพร้อมรับมือนวัตกรรมใหม่และเปลี่ยนแปลงสู่โลกที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัล | Techsauce

R3 เผยทิศทางซอฟต์แวร์ระบบบล็อกเชน อุตสาหกรรมการเงินต้องพร้อมรับมือนวัตกรรมใหม่และเปลี่ยนแปลงสู่โลกที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัล

เอเชียเป็นผู้นำเทรนด์ทางด้านบล็อกเชน โดยในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการแพร่ระบาดของ โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นเส้นทางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก ในช่วงเวลานี้บล็อกเชนได้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ถูกนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยปรับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำเพื่อรองรับการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของบล็อกเชน เราจะเห็นว่าภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น บริษัทภาครัฐและภาคเอกชนต่างทำงานสอดคล้องร่วมกันเพื่อนำเสนอโซลูชันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เทคโนโลยีบล็อกเชนยังส่งประโยชน์ไปจนถึงบุคคลทั่วไป โดยในปัจจุบันนี้ ทุกคนคุ้นเคยกับบล็อกเชนมากขึ้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมทราบได้อย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นเมื่อใด และยืนยันว่าฝ่ายอื่นเห็นสิ่งเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีคนกลางให้การรับรองและไม่จำเป็นต้องกระทบข้อมูลในภายหลัง

เมื่อถามถึงมุมมองของ อามิต กอช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลและบริการ ของบริษัท R3 บริษัทที่ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบบล็อกเชนเพื่อวิสาหกิจและบริการชั้นนำของโลกเกี่ยวกับอนาคต การเติบโต และศักยภาพในการพัฒนาของเทคโนโลยีบล็อกเชนในทุกภาคส่วนในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง เขากล่าวว่า “กลยุทธ์ในวงกว้างของเราในประเทศไทยและในภูมิภาคคือการเป็นพันธมิตรด้านซอฟต์แวร์ Distributed Ledger Technology (DLT) และที่ปรึกษาทางความคิดสำหรับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) สถาบันการเงิน บริษัทซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ หน่วยงานของรัฐ ตลอดจน SME และบรรษัทข้ามชาติ ในการจัดหาแพลตฟอร์มสำหรับจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล เราช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ที่มีโซลูชันบล็อกเชนระดับองค์กรที่จำเป็นในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมเป็นดิจิทัล เวิร์กโฟลว์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบหลายฝ่ายให้คล่องตัว ด้วยการเปิดตัวโครงการ Thailand 4.0 ซึ่ง R3 เล็งเห็นว่าประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างตัวเองให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาค ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นในด้านเทคโนโลยี เนื่องจากสตาร์ทอัพและธุรกิจต่าง ๆ เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น บล็อกเชนมากขึ้น สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม เช่น ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ร่วมมือกับ R3 ได้เปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนอย่างฉับพลันด้วยการใช้บล็อกเชนเพื่อพร้อมรับการก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในพื้นที่การค้าและตลาดทุน ในขณะที่เราเดินหน้าต่อไปกับบริษัทต่าง ๆ ในการเดินทางสู่ระบบดิจิทัล เราจะมุ่งเน้นไปที่การทำงานร่วมกับพันธมิตรที่กำลังสร้าง Corda ขณะที่พวกเขาค้นพบวิธีใหม่ ๆ ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนในอุตสาหกรรมของตน” 

ซอฟต์แวร์ระบบบล็อกเชนของ R3 ในประเทศไทย

อามิตกล่าวถึงโครงการอินทนนท์ว่า “R3 มีประสบการณ์มากมายในการทำงานร่วมกับธนาคาร หน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานกำกับดูแลในโครงการ CBDC ค้าส่งและค้าปลีกทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งรวมถึงโครงการที่มีธนาคารกลางในเอเชีย เช่น ธนาคารกลางฮ่องกง โครงการอินทนนท์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย และโครงการ Inthanon-LionRock หน่วยงานการเงินของโครงการ Ubin ของสิงคโปร์ และทั่วโลก Project Jasper ของธนาคารแห่งแคนาดา ในส่วนของโครงการอินทนนท์เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินชั้นนำในการสำรวจประโยชน์ของ Central Bank Digital Currencies (CBDCs) เราเข้าร่วมเป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยีในโครงการอินทนนท์ เฟส 1 และ 2 ของธนาคารแห่งประเทศไทยและโครงการ Inthanon-LionRock ของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางฮ่องกง วัตถุประสงค์หลักของโครงการเหล่านี้คือการสำรวจ DLT และการใช้งานที่มีศักยภาพในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตลาดการเงินในประเทศของประเทศไทย โครงการเพิ่งเสร็จสิ้นระยะที่ 3 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะขยายโครงการอินทนนท์ในหลายแง่มุม รวมถึงการเสนอบริการ CBDC แก่ผู้ใช้ทั่วไปในประเทศ และเราเชื่อว่าระยะแรกของโครงการได้ช่วยกำหนดรากฐานสำหรับการโอนเงินแบบค้าส่งผ่าน CBDC และการค้นพบนี้ส่งผลให้ธนาคารกลางฮ่องกงและธนาคารแห่งประเทศไทยประสบความสำเร็จในการค้าเงินบาทและเงินดอลลาร์ฮ่องกงแบบเรียลไทม์โดยไม่มีตัวกลาง โครงการยังคงดำเนินต่อไป และธนาคารกลางได้นำการวิจัยของพวกเขาไปสู่ระดับต่อไป ในเฟส 2 ของ Project Inthanon-LionRock จะยังคงทดสอบองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการปรับขนาดของเทคโนโลยี ความสามารถทางเทคนิค และสำรวจปัญหาทางกฎหมายและข้อบังคับที่อาจเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากบล็อกเชนช่วยให้ฝ่ายต่าง ๆ ทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัยและราบรื่น และยืนยันความเป็นส่วนตัวและการไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ และด้วยความสามารถในระดับนี้ทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการรวมเทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การโอนเงิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยง และลดลงต้นทุนโดยรวมในระบบนิเวศทางการเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค” 

ล่าสุด R3 ยังเป็นพันธมิตรกับธนาคารกรุงเทพเพื่อต่อยอดธุรกิจ ซึ่งเป็นธนาคารที่เป็นสมาชิก R3 แห่งแรกในอาเซียน เพื่อใช้แพลตฟอร์ม Corda Enterprise เพื่อปรับปรุงและพลิกโฉมบริการแลกเปลี่ยนทางดิจิทัล ด้วยวิธีนี้ ธนาคารกรุงเทพจึงสามารถใช้แพลตฟอร์มเพื่อสร้าง แลกเปลี่ยน อนุมัติ และตราสารเครดิต (L/C) บน Corda และ Contour ซึ่งจดทะเบียนและจัดตั้งขึ้นในสิงคโปร์ ผู้ถือหุ้นของโปรเจกต์ Contour ประกอบด้วยธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำระดับโลก 11 แห่ง พร้อมด้วยพันธมิตรทางธุรกิจของ R3 และนอกจากนี้ R3 ยังร่วมมือกับ Digital Ventures, Accenture, ธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย เพื่อพัฒนาโซลูชันบล็อกเชนแบบบูรณาการสำหรับการจัดหาเพื่อชำระเงินที่เรียกว่า B2P โดยโซลูชันนี้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 75% และลดระยะเวลาการดำเนินการลงถึง 50% ธนาคารไทยพาณิชย์สามารถขยายฐานลูกค้าได้โดยใช้ B2P เนื่องจากสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กเพื่อเสนอสินเชื่อได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน กลุ่มปูนซิเมนต์ไทยก็สามารถรวบรวมธุรกิจใหม่ ๆ เข้ามาในห่วงโซ่อุปทานได้

ความแตกต่างของแพลตฟอร์ม Corda กับบล็อกเชนแพลตฟอร์มอื่น

แม้ว่าบล็อกเชนที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตจะมีความคล้ายคลึงกันโดยพื้นฐาน แต่ก็มีความแตกต่างบางอย่างที่ทำให้เราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างทั้งสองได้ โดยอามิตกล่าวว่า “ก่อนที่เราจะเริ่มต้น ผมขออธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับ Corda Network ว่าเป็นเครือข่ายพื้นฐานที่ให้ข้อมูลประจำตัวและความเป็นเอกฉันท์ร่วมกันในเครือข่ายธุรกิจต่าง ๆ โดยพื้นฐานแล้วนี่คืออินเทอร์เน็ตที่เปิดเผยต่อสาธารณะของ Corda ซึ่งดำเนินการโดยผู้เข้าร่วมเครือข่ายและควบคุมโดยองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร แพลตฟอร์มบล็อกเชนที่ได้รับอนุญาตที่เรานำเสนอก็คือ Corda ตัวอย่างเช่น Corda เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบเปิดที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำธุรกรรมโดยตรงโดยมีความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวดโดยใช้ระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบซึ่งเป็นกระบวนการทางดิจิทัลที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้าโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง (Smart Contract) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมและการเก็บบันทึก และทำให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัว อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นบล็อกเชนที่ได้รับอนุญาต Corda อนุญาตให้ธุรกิจทำธุรกรรมในความเป็นส่วนตัวด้วยข้อมูลที่แบ่งปันเฉพาะตามความจำเป็นเท่านั้น โดยมีข้อกำหนดการตรวจสอบสิทธิ์ที่เข้มงวดเพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว มีภาคีอยู่ในระบบนิเวศแบบปิด และสมาชิกที่เกี่ยวข้องตัดสินใจว่าจะให้สิทธิ์การเข้าถึงกับใคร 

ประโยชน์ของการใช้บล็อกเชนแพลตฟอร์มกับธุรกิจอื่นที่มากกว่าธุรกิจการเงิน

ในปีที่ผ่านมา COVID-19 ได้ตอกย้ำความจำเป็นของธุรกิจที่ต้องแปลงเป็นดิจิทัลเพื่อความอยู่รอด และในปีต่อ ๆ ไป การนำบล็อกเชนไปใช้จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ มองหาวิธีที่จะปรับปรุงองค์กรให้เกิดความคล่องตัวเพื่อที่จะยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้กับตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

“เมื่อเราเข้าสู่ปี 2564 เราคาดการณ์ถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากองค์กรและหน่วยงานกำกับดูแลทั่ว เอเชีย-แปซิฟิก (APAC) เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ต้องการใช้ประโยชน์จากโซลูชันบล็อกเชนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การแปลงสินทรัพย์ให้กลายมาอยู่ในรูปของโทเคน (Tokenization) และการชำระเงิน ไปจนถึงการวิเคราะห์ และพื้นที่อื่น ๆ ในภาคการเงิน ซึ่งความต้องการส่วนใหญ่นี้มีไว้สำหรับแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่ได้รับอนุญาต เนื่องจากหลายองค์กรตระหนักดีถึงประโยชน์ของบล็อกเชน แต่อาจลังเลใจเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงและดำเนินการเนื่องจากกลัวว่าข้อมูลลับจะถูกเปิดเผยต่อคู่แข่ง ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ หันไปใช้แพลตฟอร์มบล็อกเชนที่ได้รับอนุญาต เช่น Corda ของ R3 เราคาดหวังว่าจะมีองค์กรอื่น ๆ อีกที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชน สิ่งนี้จะส่งผลในเชิงบวกต่อผู้ใช้ปลายทาง เนื่องจากต้นทุนถูกลดต่ำลงและประสบความสำเร็จในการทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายอามิตกล่าว

อุปสรรคของการใช้แพลตฟอร์มบล็อกเชน

เราเชื่อว่าตลาดที่มีการควบคุมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในทศวรรษหน้า โดยเพียงช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็วในช่วงโควิด-19 ทว่าสถาบันหลายแห่งที่สนับสนุนระบบการเงินก็ยังไม่ก้าวหน้าตามนี้ ซึ่งไม่ยั่งยืน นักพัฒนานวัตกรรมเพื่อความคล่องตัวกำลังแข่งขันกันเพื่อแทนที่รูปแบบเดิม ๆ เหล่านี้ — ในการชำระเงิน การกู้เงิน การจัดการหลักประกัน การชำระบัญชีการค้า และการดูแล หากองค์กรเหล่านี้ปรับตัวไม่ทัน พวกเขาอาจพบว่าตัวเองถูกทิ้งไว้ให้ล้าหลังในโลกที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัล (Digital-first world)   โดยอามิตกล่าวว่า “นี่คือเอกลักษณ์ของ R3 เพื่อช่วยให้องค์กรบริการทางการเงินได้รับชัยชนะในยุคดิจิทัล ผลิตภัณฑ์ของเรา เช่น Corda และ Conclave ผนวกกับเอกลักษณ์ของระบบนิเวศทางธุรกิจของเราที่มีประสิทธิภาพสูงจะช่วยให้องค์กรบริการทางการเงินประสบความสำเร็จในโลกอนาคตที่จะมาถึงนี้” ในขณะที่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิมที่เป็นรากฐานของระบบการเงินมานานหลายทศวรรษมีความไม่แน่นอนในการปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจดิจิทัลแบบใหม่ การเปิดรับโอกาสในการเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัลจะช่วยให้พวกเขายังคงมีบทบาทสำคัญในการเงินโลกต่อไป


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...