ถอดบทเรียนจากจุดสูงสุดของ Sharing Economy ในจีน | Techsauce

ถอดบทเรียนจากจุดสูงสุดของ Sharing Economy ในจีน

สังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) เป็นแนวคิดทางธุรกิจที่รายได้เกิดจากการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการระหว่างบุคคลโดยมีค่าใช้จ่าย โดยแนวคิดนี้จะเกิดขึ้นจริงและประสบความสำเร็จเนื่องจากปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหรือต้นทุนการผลิตที่ต่ำมากจนทำให้การครอบครองทรัพยากรจำนวนมากเป็นไปได้

เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้น พร้อมด้วยความเชื่อใจ ความสะดวกและสำนึกรวมแห่งความเป็นชุมชน โดยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท Startup อย่าง Uber และ Airbnb ถือเป็นสองบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำแนวคิดนี้มาใช้ทำธุรกิจ จึงทำให้ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียคุ้นเคยและไว้ใจบริการ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าแนวคิดนี้จะมีประสิทธิภาพต่อธุรกิจในประเทศจีนหรือประเทศไทยเสมอไป

สิ่งที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน

เหล่าบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศจีนต่างเชื่อว่าการแบ่งปันสินค้าเกือบทุกอย่างนั้นเป็นไปได้ โดยมีหลากหลายบริษัทที่ให้บริการเช่าสินค้าหรือบริการต่างๆในปัจจุบัน ทั้งนี้สินค้าหรือบริการที่ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเจาะไปที่ตลาดแมส เพราะประเทศจีนมีการให้เช่าสินค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ร่ม ลูกบาส พาวเวอร์แบงค์ จักรยานหรือแม้แต่คอนกรีต

สังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันมีมูลค่าสูงกว่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่การลงทุนไม่สามารถชี้วัดได้ว่าแนวคิดนี้เป็นแนวคิดทางธุรกิจที่ดีหรือไม่

ทั้งนี้ มีชาวจีนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า Bike Hunter หรือนักล่าจักรยาน สำรวจจักรยานให้เช่าจากแอปฯ Ofo ในหกเมืองของประเทศจีน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น อู่ฮัน และเฉิงตู โดยพบกว่า 19% ของจักรยานถูกทำลาย 15% ไม่ได้ถูกล็อคเก็บเข้าที่และ 12% สูญหายหรือเอาไปใช้เป็นของส่วนตัว นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าแอพให้เช่าร่มอย่าง E Umbrella ขาดทุนสูงถึง 286,000 เหรียญสหรัฐ

นักวิเคราะห์รายงานกับสำนักข่าวฟอร์บส์ว่า ด้วยสภาวะซบเซาของเศรษฐกิจที่ทำให้จีดีพีของประเทศจีนตกลงไปอยู่ที่ 6% ทำให้ผู้คนไม่อยากซื้อสินค้าจึงสร้างโอกาสการแบ่งปันมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน จีดีพีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์ เมียนมาร์และเวียดนาม ทำให้ความเป็นไปได้ของสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันเป็นไปได้น้อยลง

สถานการณ์ของประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ Startup จากประเทศสิงคโปร์และจีนอย่าง MoBike , oBike และ Ofo เข้าหารือกับรัฐบาลไทยเพื่อยื่นขออนุมัติการให้บริการการเช่าจักรยานในประเทศไทย พร้อมเริ่มทดสอบแล้วที่มหาวิทยลัยชื่อดัง อาทิ มหาวิทยลัยเกษตรศาสคร์ มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยโอไบค์ยังได้ร่วมมือกับเอไอเอสและกลุ่มเซ็นทรัลพัตนา เพื่อผลักดันตลาด Smart Bike ในประเทศไทย นับว่าเป็นก้าวที่กล้าหาญมากเนื่องจากบริการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการหลอกหลวงโดยกรุงเทพมหานคร

สังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมารองรับจึงทำให้เกิดความไม่พอใจเกิดขึ้นกับเจ้าถิ่น อย่างที่เห็นกันได้ชัดจากชุมชนแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายหน่วยงานรัฐบาลที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาของแนวคิดนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลเข้ามามีบทบาทในการผลักดันสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันในประเทศไทย โดยในขณะนี้ได้มีการจัดการอบรมและการประกวดผลงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและโอกาสทางการตลาด

ที่มาของภาพและข่าว ecommerce IQ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...