[วิเคราะห์ข่าว] SkillLane ร่วมมือกับ Sanook! ขยายและทำซ้ำโมเดลธุรกิจ "แพลตฟอร์มคอร์สพร้อมเสิร์ฟ" | Techsauce

[วิเคราะห์ข่าว] SkillLane ร่วมมือกับ Sanook! ขยายและทำซ้ำโมเดลธุรกิจ "แพลตฟอร์มคอร์สพร้อมเสิร์ฟ"

Sanook! Learning (4)

SkillLane (สกิลเลน) หนึ่งใน EdTech ด้านแพลตฟอร์มคอร์สเรียนออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย รุดหน้ากับโมเดลธุรกิจใหม่ กับการเป็น "Underlying Platform" ด้านระบบคอร์สเรียนออนไลน์ ให้กับเว็บคอนเทนต์ชั้นนำของเมืองไทย ล่าสุดได้เป็นพันธมิตรกับ Sanook.com (สนุกดอทคอม) แล้ว! พร้อมเปิดตัว Sanook! Learning (Learning.sanook.com)  บริการใหม่ล่าสุดภายใต้การดำเนินงานของSanook!

Sanook! Learning คืออะไร

Sanook! Learning เป็นหนึ่งในบริการใหม่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ Sanook! ต้องการขยายให้ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคดิจิทัล Sanook! มีฐานที่เข้มแข็งด้านข่าวสาร ไลฟ์สไตล์ บันเทิง ฟังเพลง ท่องเที่ยวอยู่แล้ว การทำ Sanook! Learning เป็นการขยายไลน์คอนเทนต์ไปในเชิงการศึกษา

ซึ่งการเรียนรู้ผ่าน Sanook! Learning นั้น นอกจากเป็นออนไลน์คอร์สแบบวิดีโอจาก SkillLane แล้ว อนาคตจะมีเพิ่มเนื้อหาการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ตำราออนไลน์ บทความแนะนำการเรียนรู้ในสาขาต่างๆ มาเพิ่มให้ Sanook! Learning มีความหลากหลายมากขึ้น โดยในปีแรกตั้งเป้าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ที่เป็นแฟนประจำเว็บไซต์ Sanook! ได้ใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น จากเดิมใช้เพื่อการติดตามข้อมูล ข่าวสาร สาระ และบันเทิง

Sanook! ได้อะไรจาก SkillLane

Sanook! สามารถนำเสนอคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานได้ครบทุกด้าน ทั้งบันเทิง, ข่าวสาร และการศึกษา ซึ่งจะเป็นการเสริมจุดแข็งให้กับทาง Sanook! ในแง่ของการรักษาฐานผู้ใช้งานไว้กับ Sanook! เอง

SkillLane ช่วยให้ Sanook! มีคอนเทนต์ด้านการศึกษา โดยไม่ต้องลงทุนผลิตคอนเทนต์ด้วยตัวเอง เพียงปลั๊กเข้ากับทรัพยากรคอร์สเรียนที่ทาง SkillLane มีอยู่แล้ว และเลือกคอร์สที่น่าสนใจกับกลุ่ม User ปัจจุบัน ก็ทำให้ Sanook! เปิดตัว Sanook! Learning ออกสู่ตลาด และมีความพร้อมในการใช้งาน ได้อย่างรวดเร็ว (ก่อนจะนำมาสู่การนำเสนอคอนเทนต์การศึกษารูปแบบอื่นๆ ต่อไป) นอกจากจะไม่ต้องลงทุนในการผลิตเองแล้ว ยังได้รับประโยชน์จากโอกาสด้านการทำ Revenue sharing ร่วมกับ SkillLane อีกด้วย

sanook learning screenshot

หน้าเว็บ Learning.sanook.com พร้อมใช้งานแล้ว

SkillLane ได้อะไรจาก Sanook!

Sanook! เข้ามาเป็นเสมือนตัวแทนจำหน่ายคอร์สเรียนของ SkillLane การจับมือกันครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มช่องทางการขาย ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายคอร์สให้กับผู้สอนในแพลตฟอร์มมากขึ้น

โดยคุณกฤตธี มโนลีหกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ระบุว่าปัจจุบันผู้ใช้งาน Sanook! มีมากถึงราว 40 ล้านคน (Unique Visitor) และ 800 ล้านเพจวิวต่อเดือน เป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มการรับรู้ของ SkillLane มากขึ้นอย่างแน่นอน

จากธุรกิจคอร์สออนไลน์ สู่ธุรกิจแพลตฟอร์มการศึกษาพร้อมเสิร์ฟ

SkillLane ได้เข้ามาเป็น"ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์" แก่แพลตฟอร์มอื่น ซึ่งนอกจาก Sanook! Learning แล้ว ทาง SkillLane ก็ได้มีการทำรูปแบบโมเดลเดียวกันนี้ กับเว็บไซต์ Ookbee.com เช่นเดียวกัน ซึ่งสำหรับที่ Ookbee ในขณะที่เขียนนี้ (22  กันยายน 59) ได้เป็นลักษณะเชื่อมต่อ API เรียบร้อยแล้ว คือผู้ใช้งานของ Ookbee สามารถดูวีดีโอของ SkillLane บนเว็บไซต์เดิมได้เลย  สำหรับ Sanook! Learning ที่ปัจจุบันใช้รูปแบบ Redirect ไปหน้า SkillLane นั้น ก็กำลังพัฒนามาสู่รูปแบบ API เช่นเดียวกัน

ความคิดเห็นปิดท้าย

สตาร์ทอัพ SkillLane ยกระดับการ "ทำซ้ำ" ชัดเจนขึ้น

เราพูดกันเสมอว่ารูปแบบโมเดลของ Startup คือการ "ทำซ้ำได้" (repeatable) ข่าวความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องการทำซ้ำ โดยเป็นการทำซ้ำแพลตฟอร์มที่ตนมี สามารถไปอยู่บนแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้ จากเดิมทีที่การทำวีดีโออย่างเดียว เป็นเรื่องที่ต้นทุนสูง และการ "หาลูกค้า" ถือเป็นเรื่องท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Startup ขอแสดงความยินดีกับก้าวสำคัญอีกก้าวของทีม SkillLane ด้วยค่ะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...