4 หนุ่มกับเเนวคิด Smart City พัฒนาเมืองอย่างไรให้ตอบโจทย์ประเทศไทยอย่างยั่งยืน | Techsauce

4 หนุ่มกับเเนวคิด Smart City พัฒนาเมืองอย่างไรให้ตอบโจทย์ประเทศไทยอย่างยั่งยืน

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการจัดงานเสวนา Co-founder dating: Let's hack the city together!  ภายในงานได้รับโอกาสจากบุคคลที่น่าสนใจถึง 4 คน โดยทั้งหมดนี้ต่างมีความรู้เเละมีประสบการณ์เกี่ยวกับ Smart City ในแต่ละภาคส่วนตั้งเเต่ ภาครัฐ  ภาคเอกชน รวมถึงชุมชน โดยเเต่ละคนต่างมีบทบาทเเตกต่างกัน เเล้วความเเตกต่างของทั้ง 4 คนนี้ทำไมถึงเป็นจุดสำคัญของการเสวนาในหัวข้อ Smart City  หากพูดถึงคำว่า “ เมือง ” คงหนีไม่พ้นการอยู่อาศัยของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งเเน่นอนว่าหากต้องการพัฒนาเมืองคงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่จำต้องอาศัยความรู้และความคิดเห็นจากทุกคน

ใจความสำคัญของการพัฒนา Smart City ที่หลงทาง!

Smart City คำยอดฮิตที่หลายประเทศทั่วโลกต่างพยายามพัฒนาประเทศของตนให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะหรือเมืองที่มีความทันสมัย  คนส่วนมากจึงมองว่าเมืองที่ Smart ต้องมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าการพัฒนาให้เป็น Smart City ไม่ใช่เเค่เรื่องจะเอาเทคโนโลยีใดเข้ามาโดยใช้ทุนจำนวนมากเพื่อให้ได้นวัตกรรมนี้มา หรือสร้างเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างเดียวโดยไม่ดูว่าสร้างเพื่ออะไร? สร้างมาเเล้วตอบโจทย์ปัญหาได้อย่างยั่งยืนไหม?  

แล้ว Smart City ในมุมมองของคุณเป็นอย่างไร? หนึ่งในคำถามหลักของงานนี้ เราเชื่อว่าภาพในความจำหรือความเข้าใจของเเต่ละคนคงมีมากมาย แต่ครั้งนี้ลองมาฟังมุมมองจากทั้ง 4 หนุ่มกัน 

พอพูดถึงคำว่า Smart City ในมุมของแต่ละคนมองว่าเป็นอย่างไร?

ไอติม : เมื่อพูดถึง Smart City ผมลองไปเปิด dictionary เพื่อหาความหมายเเละส่วนมากก็จะเเปลตรงตัวว่า “อัจฉริยะ” ซึ่งในมุมมองของผมการที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะได้คือ  ทำอย่างไรให้เมืองสามารถคิด ตรวจสอบ และแก้ปัญหาในตัวของมันเองได้มากที่สุด ซึ่งคงหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีไม่ได้ที่จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการให้มีความเป็นอัตโนมัติ นอกจากมุมมองเเรกที่ทุกคนอาจมองภาพเดียวกันอยู่เเล้ว ยังมีอีกมุมมองที่สองซึ่งผมอยากจะมาเเชร์ คือ Smart City ที่มากกว่าเทคโนโลยี หากลองเปรียบตัวอย่างการมองคนว่าเขาเป็นคน Smart คุณจะมองที่อะไร ซึ่งผมมองว่า

ท้ายสุดแล้ว การที่เรามองคนๆ หนึ่งว่าเขา Smart ไม่ใช่เเค่เขานำเทคโนโลยีมาใช้ให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นแต่เขาเป็นคนที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนเเปลงของโลกในอนาคต 

สำหรับหนุ่มไอติมเเล้ว เขามีการเเบ่งมุมมองของ Smart city ออกเป็น 2 ทาง คือ 

1. เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการมีความอัตโนมัติ

2. การวางแผนเพื่อรองรับอนาคตเเค่ไหน ความเท่าทันอนาคตในด้านสิ่งเเวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน 

การรู้เท่าทันต่อโลกอนาคตเพื่อรองรับการปรับตัวอาจไม่เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีแต่คือการทำยังไงให้การสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาแล้วมีการวางเเผนผังเมืองไว้ชัดเจน และสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้อยู่อาศัย ซึ่งเวลามองไม่ใช่เเค่การนำมาใช้แต่ต้องมองว่าจะใช้อย่างไรให้ฉลาดเเละเกิดประโยชน์ต่อชีวิต  

ดร.นน : สำหรับผมในเเง่ของเทคโนโลยี อีกจุดที่สำคัญในการพัฒนาคือ Data  ยิ่งมีมากเรายิ่งเเม่นยำและใช้เวลาน้อยสำหรับการคิดวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจหรือวางเเผนสำหรับการพัฒนา  

ข้อมูลใช่ว่ามีเเล้วจะทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้นทันที  เเต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำมาใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ตอบโจทย์สิ่งที่ต้องการพัฒนา

ยกตัวอย่างเทคโนโลยีเพื่อการเดินทาง หากเรามีข้อมูลช่วงเวลายอดนิยมของคนไทยว่าออกไปทำงานช่วงไหน  เราอาจนำข้อมูลมาคำนวณช่วงเวลารถติดได้ ซึ่งจะช่วยให้เราตัดสินใจว่าเราควรจะเดินทางเวลาไหน หรือ วางเเผนการเดินทางล่วงหน้าอย่างไร  

หากมองในมุม Smart City  ยิ่งเรามีข้อมูลมากจะช่วยอะไรได้บ้าง คงเป็นเรื่องการตัดสินใจได้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติในด้านเทคโนโลยี หรือ มุมการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ที่สามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้น ซึ่งต่างจาก Smart City ที่ถูกสร้างภาพจำผ่านภาพยนตร์ซึ่งต้องมีหุ่นยนต์ หรือมีโดรนบินทั่วเมือง แต่สำหรับ ดร.นน เพียงจุดเล็กๆ อย่าง Data ก็เป็น Smart City ได้แค่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สร้างชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้นได้ ซึ่งในมุมมองของ ดร.นน มองว่าจุดหลักที่ Smart City จะเกิดได้พื้นฐานหนึ่งที่ต้องมีคือ Data ที่จะช่วยให้การพัฒนาสามารถทำน้อยเเต่ได้มากแค่ใช้ Data ให้เป็น

แล้วในมุมมองของนักออกแบบอย่างสถาปนิกจะมีภาพจำของ Smart City ในรูปแบบใด? อีกสองหนุ่มที่น่าสนใจด้วยประสบการณ์ของคนลงพื้นที่และทำงานกับชุมชน รวมถึงการมีผลงานด้านการเขียนในหัวข้อที่เกี่ยวกับ “การออกแบบพัฒนาเมือง”  โดยเฉพาะอย่างคุณศานนท์และคุณชัชวาลย์ซึ่งทั้งสองได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายชุมชนในกรุงเทพด้านการพัฒนาท้องถิ่นมามากมาย 

ชัชวาลย์ : ด้วยความที่เป็นสถาปนิกเราอาจมองมากกว่าการที่ว่าเราจะพัฒนาเมืองด้วยเทคโนโลยีอะไร?  แต่เราจะมองในด้านการดีไซน์ที่จับต้องได้อย่างการเข้าถึงของผู้คนด้วยการใช้ชีวิตร่วมกับงานดีไซน์นั้น สำหรับผมจึงมองว่า Smart City มี 2 มุมที่ต้องไปด้วยกัน คือ เทคโนโลยีและการดีไซน์ ซึ่งเกิดจากปัญหาที่ไม่ต้องมองในภาพใหญ่มากแค่มองในมุมบ้านๆ อย่างปัญหาในชีวิตก็สามารถสร้าง Smart Living เช่น กันสาด ที่เกิดจากปัญหาบ้านเก่าที่ต้องการบางสิ่งมาตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้ก็นับว่าเป็นการสร้างชีวิตที่ Smart และการหาปัญหาในพื้นที่เพื่อหาเเนวทางตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในพื้นที่นั้นด้วย  

คุณชัชวาลย์ได้ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของผู้คนเพื่อให้ง่ายต่อการนึกภาพตามซึ่งเราจะเห็นว่าเมื่อเวลาแต่ละยุคที่เปลี่ยนไปวิถีชีวิตคนก็ต้องเปลี่ยนตาม เช่น ห้องครัว ของคนสมัยก่อนที่ยังไม่มีเตาไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบห้องครัวจะเป็นรูปแบบที่รองรับการใช้ชีวิตที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า พอเวลาผ่านไปรูปแบบการดีไซน์ห้องครัวของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตและเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาโดยจะถูกออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของคนและเครื่องครัวไฟฟ้า 

เรื่องนี้ทำให้เราเห็นถึงอะไรบ้างนั้นคงชัดเจนอยู่แล้วเรื่องหนึ่งคือ การเปลี่ยนเเนวคิดวิธีการออกเเบบที่เกิดจากเตาไฟฟ้าซึ่งเป็นจุดเล็กๆ ในชีวิตที่สร้างให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของการดีไซน์  จากการยกตัวอย่างจะเห็นว่าห้องครัวสมัยก่อนปรับเปลี่ยนดีไซน์ให้ทันสมัยขึ้นเพราะเตาไฟฟ้าที่เปรียบเหมือนปลั๊กอินจุดเริ่มให้เกิดสิ่งใหม่ ดังนั้นอีกสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาเราต้องคิดอยู่เสมอว่า เราจะปรับเเละดีไซน์สิ่งที่มีอยู่อย่างเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตอย่างไร

ศานนท์ : เบื้องหลังแนวคิดผมอาจเกิดจากการที่ได้เรียนจบมาในสายวิศวะทำให้ผมชอบเทคโนโลยีอยู่เเล้ว แต่พอได้ทำงานร่วมกับชุมชนมาได้ระยะหนึ่งทำให้มุมมองของผมเปลี่ยนไปจากเดิมจนกลับมามองในมุมที่ว่าเทคโนโลยีเป็นเหมือนเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ทำให้ผมต้องย้อนกลับมามองถึงเป้าหมายก่อนว่าทำไมเราถึงต้องการ Smart City 



บางคนอาจไม่ได้ต้องการความทันสมัยจากเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว พวกเขาอาจเเค่ต้องการบ้านที่น่าอยู่ หรือเมืองที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัย  เมืองที่ทุกคนรักและอยากดูเเลร่วมกัน ผมคิดว่าไม่ต้องคิดอะไรให้ไกลจากเรื่องพื้นฐานทั่วไปของคนเเค่สร้างพื้นฐานชีวิตให้ดี ก็เป็น Smart City ได้เพราะสุดท้ายโจทย์ใหญ่ที่ต้องแก้คือ ทำยังไงให้ในเเต่ละวันการใช้ชีวิตของคนดีขึ้น ผมจึงมองว่า

การพัฒนา Smart City เราต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหาคืออะไร แล้วเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมให้ทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น

ปัจจัยในการพัฒนา “เมือง” ที่ทั้ง 4 หนุ่มได้กล่าวสรุปไว้

  • ในมุมของนโยบายภาพรวมคือการกระจายอำนาจ ซึ่งปัญหาที่เจอคือทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพซึ่งเวลาเปลี่ยนหรือส่งผู้ว่าราชการจังหวัดไปดำเนินงานประจำพื้นที่ในแต่ละครั้ง การเลือกจะถูกเลือกจากส่วนกลางแล้วส่งไปประจำเเต่ละท้องถิ่นที่อาจไม่รู้ถึงปัญหาเเท้จริงของท้องถิ่นนั้น นอกจากนี้แต่ละตำแหน่งมีอำนาจต่างกันซึ่งไม่ครอบคลุมการเเก้ปัญหาในแต่ละจุด ทำให้ปัญหาแต่ละเรื่องที่รอการเเก้ไขต้องใช้เวลานาน ด้วยโครงสร้างเดิมที่มี หากมองในมุมภาครัฐอาจต้องปรับจากฐานนี้
  • บางครั้งการพัฒนาไม่จำเป็นต้องสร้างบางสิ่งให้เกิดขึ้นแต่เราสามารถสังเกต วัฒนธรรมของคนแล้วหาเเนวคิดจากเหตุและผล การสร้างชีวิตที่ Smart จะเกิดขึ้นตามวิถีชีวิตของคนได้เอง 


  • การพัฒนาเมืองสิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักรู้ให้ชุมชนด้วยการร่วมมือกับคนท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ เมื่อคนในพื้นที่มีส่วนร่วมจะสร้างให้เกิดความรู้สึกรักเเละเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนได้ร่วมกันสร้าง
  • เข้าใจปัญหาของพื้นที่ให้ถูกจุดเราจะสามารถออกแบบและดีไซน์ให้ตอบโจทย์พื้นที่นั้นได้อย่างยั่งยืนเพราะหากเราเข้าใจชุมชน สิ่งที่ตามมาคือคนในชุมชนจะตระหนักที่จะดูแลต่อ หากเราไม่เข้าใจคนหรือปัญหาถึงแม้จะออกแบบหรือดีไซน์ดีแค่ไหน หากไม่มีคนใช้งานหรือดูแลต่อสุดท้ายก็ไม่ยั่งยืน


Smart City ในเมืองไทยกำลังจะเกิดขึ้นจริง ภายใต้เเนวคิดที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น ตอนนี้โครงการ depa Accelerator Program (ASEAN's First Smart City Accelerator) กำลังมองหาทีม Startup นักพัฒนาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันเพื่อเฟ้นหาไอเดียและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์เเนวคิด Smart City ในตอนนี้โครงการ depa Accelerator Program 2019 ได้เดินทางมาถึงวันเเห่งการตัดสินครั้สุดท้าย 

มาร่วมเป็นกำลังใจและร่วมฟังการนำเสนอการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย ได้ที่งาน Online Demo Day ในวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.00 - 16.30 น.

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีได้ที่ https://www.hubbathailand.com/depa-accelerator พร้อมลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมในงานนี้ อย่ารอช้ากดเข้ามาลงทะเบียนร่วมงานฟรีได้ที่นี่เลย! 

**ทีมงานจะส่งลิงค์เข้าร่วมดูการนำเสนอและกิจกรรม Online Networking ก่อนเวลาเริ่มงาน 1 ชั่วโมง  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...