ถึงเวลาที่ภูมิภาคอาเซียนจะต้องปฏิวัติครั้งใหญ่ หากต้องการคว้าโอกาสจากเทรนด์รถ EV | Techsauce

ถึงเวลาที่ภูมิภาคอาเซียนจะต้องปฏิวัติครั้งใหญ่ หากต้องการคว้าโอกาสจากเทรนด์รถ EV

กระแสของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) กำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มีการผลิตรถ EV มาใช้อย่างต่อเนื่อง การแข่งขันของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้จึงเข้มข้นไม่ต่างไปจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาเลยแม้แต่น้อย 

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด EV ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตลาด เพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคาสำหรับผู้บริโภคในภูมิภาค รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสที่หลากหลายสำหรับอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค ทั้งสำหรับธุรกิจส่งออกและธุรกิจในประเทศอีกด้วย

ภายหลังจากการการประชุมสุดยอด COP26 ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำก็ได้ให้คำมั่นที่จะเลิกใช้ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในหรือก่อนปี 2040 ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องหาตัวเลือกใหม่ที่จะมาทดแทนรถยนต์แบบเดิม และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็ถูกเลือกเป็นทางออกของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นไปได้ที่สุด

ซึ่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รถ EV ที่มีจำหน่ายอยู่ขณะนี้มีราคาสูง ซึ่งการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงกลายเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าวสำหรับผู้บริโภคในภูมิภาค รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสที่หลากหลายสำหรับอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค ทั้งสำหรับธุรกิจส่งออกและธุรกิจในประเทศอีกด้วย

หนทางสู่การเป็นแชมป์ EV ระดับภูมิภาค

เนื่องด้วยตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นกำลังเติบโตขึ้นเป็นระยะ รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงให้ความสนใจกับรถยนต์ไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลาย และพยายามอย่างมากเพื่อให้เป็นฐานผลิตหลักของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้หลาย ๆ ประเทศนั้นมีความที่จะเป็นศูนย์กลางของการสร้างส่วนประกอบใหม่ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงเป็นแพลตฟอร์มใหม่สำหรับจำหน่ายรถ EV ในอนาคต

โดยผู้นำส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทรถยนต์จาก 3 ประเทศหลัก เช่น Hyundai Motor จากเกาหลีใต้ , SAIC-GM-Wuling Automobile จากประเทศจีน และตามมาด้วยบริษัทรถยนต์ยอดนิยมของญี่ปุ่นอย่าง Toyota Moter

แต่อีกหนึ่งบริษัทที่น่าจับตามองตอนนี้คงเป็น VinFast ยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเวียดนามที่กำลังจะเริ่มจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศช่วงเดือนธันวาคมนี้ รวมถึงมีแผนจะผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงถือว่าเป็นตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสูง แต่อัตราส่วนการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้ากลับต่ำกว่า 20%  ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องเข้าหาผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีราคาไม่แพงพร้อมการออกแบบที่น่าดึงดูดด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างการตั้งฐานผลิต หรือใช้ประเทศนั้น ๆ เป็น hub ในการประกอบชิ้นส่วนของ EVs เพื่อลดต้นทุน

ซึ่งประเทศอินโดนีเซียก็พยายามที่จำทำเช่นนั้นอยู่ด้วยการหยุดส่งออกโลหะมาตั้งแต่ปี 2020 เพื่อที่จะสะสมแร่นิเกิลซึ่งจำเป็นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่เพื่อใช้ในอุตสาหรรมธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ EVs เพื่อลดต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายลง โดยรัฐบาลของอินโดนีเซียมีความคาดหวังที่จะให้ประเทศมียอดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า 400,000 คันและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1.76 ล้านคันภายในปี 2568

ประเทศไทยกับอนาคตของรถ EV

รัฐบาลของไทยได้เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 โดยรัฐบาลได้วางแผนทำการลดภาษีที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าลงเหลือ 2% เพื่อให้ประเทศสามารถเพิ่มการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น 30% ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายและภาษีสำหรับรถ EV ที่จะจำหน่ายในไทยลงตามเป้าที่ตั้งไว้คือรถ EV ที่ผลิตในประเทศจะต้องมีราคาต่ำกว่าแบบนำเข้าประมาณ 150,000 บาทต่อคัน

โดยมี PTT ซึ่งเป็นกลุ่มพลังงานของรัฐไทยเข้ามาสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมด้วยบริการรถเช่า EV และติดตั้งที่ชาร์จที่สถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ รวมถึงตั้งเป้าที่จะเริ่มการผลิต EV ร่วมกับ Hon Hai Precision Industry ผู้ผลิตชาวไต้หวันหรือที่รู้จักในชื่อ Foxconn ในปี 2024 

แต่ถึงจะมีความพร้อมมากเพียงใด ประเทศไทยมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่เหมาะกับการเป็นผู้ผลิตรถ EV เท่ากับการเป็นตลาดแห่งใหม่สำหรับบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ามากมายที่ต้องการจะเข้ามาวงการยานยนต์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น Great Wall Motor ที่จัดโปรโมชันให้กับการซื้อรถ EV ในประเทศโดยเฉพาะ

หรือจะเป็น Toyota Motor คาดว่าจะเริ่มจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นให้กับไทยในปีนี้ พร้อมทั้งมีแผนที่จะเปลี่ยนมาใช้การผลิตในประเทศไทยโดยเร็วที่สุดในปี 2024 รวมถึงบริษัทยานยนต์ชั้นนำอย่าง Mercedes-Benz Group ก็วางแผนที่จะเริ่มประกอบรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายในปี 2022 นี้เช่นกัน 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีข้อได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางการผลิตต้นทุนต่ำระดับโลก และการเติบโตของตลาด EVs ในภูมิภาคสูง แต่ผู้ซื้อและผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ดูเหมือนจะไม่พร้อมที่จะปรับตัวและหาประโยชน์จากการเปิดตลาดนี้ ซึ่งนั่นจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตจากภูมิภาคอื่น ๆ สามารถก้าวเข้ามายึดครองตลาดได้ในที่สุด


อ้างอิง   Nikkei Asian ,  BusinessTimes  ,  KrASIA

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...