สาเหตุหลักของความล้มเหลวในการสร้างเทคโนโลยีคือ 'การขาดความเข้าใจในความเป็นมนุษย์' | Techsauce

สาเหตุหลักของความล้มเหลวในการสร้างเทคโนโลยีคือ 'การขาดความเข้าใจในความเป็นมนุษย์'

หากผู้สร้างนวัตกรรมต้องการสร้างเทคโนโลยีด้าน FinTech หรือด้านใดก็ตามให้ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญที่ต้องทำการโฟกัสก็คือ จะต้องทำการถอดรหัสของนวัตกรรมให้เข้ากับเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์ให้ได้อย่างรอบด้าน

เมื่อเร็วๆ นี้ Techsauce ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน Singapore FinTech Festival 2018 จัดโดย Monetary Authority of Singapore หรือธนาคารกลางสิงคโปร์ งานนี้มีทั้ง Showcase ด้านเทคโนโลยีการเงิน อีกทั้งมีผู้นำนวัตกรรมมาร่วมแชร์แนวคิดไอเดียที่ขับเคลื่อน FinTech ไปสู่อนาคต

โดยหนึ่งในเวทีที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือ เซสชันของ Chris Colbert ผู้เป็น Managing Director, Harvard Innovation Labs เขาได้พูดในหัวข้อ Technology is dead ถึงสิ่งที่ผู้สร้างนวัตกรรมมักจะทำพลาดในการนำนวัตกรรมมาใช้ให้ประสบความสำเร็จ โดยสาเหตุหลักๆ ก็คือพวกเขาขาดความเข้าใจในพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์

คริสได้ให้ 3 สาเหตุที่ทำให้เหล่า Startup ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างเทคโนโลยีมาตลอดช่วงหลายปีดังนี้

  • ผู้คิดค้นนวัตกรรมให้ความสนใจในเรื่องของฟังก์ชั่นของมัน มากกว่าจะทำความเข้าใจปัญหาที่แท้จริง
  • โซลูชันที่ได้มีการคิดค้นไปแล้วไม่สามารถนำมาแก้ปัญหาได้
  • ผู้คิดค้นนวัตกรรมไม่เข้าใจลูกค้า

ธุรกิจจำนวนมากล้มเหลวในการมองเห็นว่า จริงๆ แล้วลูกค้าก็คือมนุษย์ที่มีทั้งความไม่แน่ใจ, ความกลัว และอคติ ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยเขาได้อ้างถึงทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's hierarchy of needs) และได้เน้นย้ำว่า ส่วนใหญ่แล้วการตัดสินใจของมนุษย์นั้นได้ถูกกรองผ่านความต้องการ ลำดับขั้นความต้องการพื้นฐาน อีกทั้งความต้องการความปลอดภัย

เขายังกล่าวอีกว่า การนำนวัตกรรมอะไรก็ตามมาใช้นั้น ประสิทธิภาพการตอบแทนของมันจะต้องเกินกว่าต้นทุนที่ได้เสียไป แน่นอนว่าในขณะที่ต้นทุนและคุณประโยชน์ของมันมีมหาศาล ความซับซ้อนก็คือ การสร้างนวัตกรรมนั้นจะต้องพิจารณาในหลายๆ ตัวแปรของความสัมพันธ์ทั้งระหว่างมนุษย์ เวลา และความต้องการ ซึ่งนี่ต้องนำมาปรับประยุกต์ใช้กับ B2B และ B2C อีกทั้งทุกภาคส่วนที่อยู่ใน ecosystem ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มีความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น

คริสยังยืนยันอีกด้วยว่า การสร้างนวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างฟังก์ชันเท่านั้น แต่เป็นการโฟกัสไปที่การนำฟังก์ชันเหล่านั้นมาปรับใช้ได้อย่างไร นั่นก็คือการนำมาเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ ความหมายของการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ก็คือ การเข้าไปยังความสัมพันธ์เหล่านั้นอย่างมีเจตนา โดยลูกค้าจะทำการปรับไปตามสิ่งที่ธุรกิจได้นำเสนออยู่แล้ว และการนำมาใช้นั้นก็ถือเป็นข้อผูกมัดที่ยิ่งใหญ่พอสมควร ซึ่งถ้าผู้สร้างนวัตกรรมขาดความเข้าใจในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในการเชื่อมต่อระหว่างข้อผูกมัดที่ลูกค้ามีต่อธุรกิจก็จะส่งผลให้เกิดความล้มเหลว ด้วยเหตุนี้ กุญแจสำคัญก็คือผู้สร้างนวัตกรรมจะต้องทำการถอดรหัสพฤติกรรมของมนุษย์ หากต้องการประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม

กุญแจสำคัญก็คือผู้สร้างนวัตกรรมจะต้องทำการถอดรหัสพฤติกรรมของมนุษย์ หากต้องการประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม

การแยกขาดออกจากกันอาจส่งผลให้เห็นในผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจในนวัตกรรม คริสได้เน้นย้ำว่า มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำการบาลานซ์จังหวะของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีกับเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์ และประสิทธิภาพในการนำมาปรับใช้ อีกทั้งการจับคู่นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีกับจริยธรรมก็สำคัญเช่นกัน

พวกเราต้องร่วมมือกันในฐานะสังคมโลกเพื่อช่วยกันยืนยันว่า รากฐานทางจริยธรรมของพฤติกรรมมนุษย์จะช่วยรับประกันนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ว่ามันจะช่วยพวกเราได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เมื่อใดก็ตามที่ได้มีการริเริ่มการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน รวมถึงรัฐบาล ที่จะช่วยกันถกคิดอย่างรอบด้าน เพื่อเป็นการช่วยลดผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมาอย่างไม่ได้ตั้งใจ

นอกจากนี้ความรู้เรื่องทางการเงินยังเป็นปัญหาหลักในประชากรกลุ่ม Underbanked (กลุ่มที่มีบัญชีแต่นิยมใช้เงินสดหรือเช็คเงินสดเราไม่สามารถให้เครื่องมือกับคนอื่นโดยที่ไม่ได้บอกวิธีการใช้งานกับพวกเขาได้

โดยสรุปก็คือ มุมมองของเขาในเรื่อง ’ไม่ว่าเทคโนโลยีจะได้ตายไปแล้วหรือไม่คุณค่าของมันนั้นอยู่ที่ความสามารถของมันที่ว่า มันจะสามารถทำการเชื่อมกับความเป็นมนุษย์ และกับเงื่อนไขต่างๆ ของมนุษย์ได้หรือไม่นั่นเอง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

20 อาชีพทางไกลที่เติบโตเร็วที่สุด คาดโตเกิน 17% ในปี 2025

จากผลสำรวจของ FlexJobs ในปี 2024 พบว่า 81% ของคนทำงานในสหรัฐฯ มองว่าการทำงานแบบรีโมทเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการหางานใหม่ แต่ที่น่าสนใจ คือมีคนจำนวนมากวางแผนที่จะลาออกในปีนี้ แต...

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...