"โลกไม่เคยแปรผันเร็วขนาดนี้ และจะไม่ช้าลงอีกแล้ว" ที่ Techsauce Global Summit 2019 | Techsauce

"โลกไม่เคยแปรผันเร็วขนาดนี้ และจะไม่ช้าลงอีกแล้ว" พบเจอความกลัวเพื่อก้าวไปข้างหน้า ที่ Techsauce Global Summit 2019


แม้ Digital Transformation จะดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แต่กระบวนการก็ถือว่ายังห่างไกลจุดสิ้นสุด ทั้งยังมีทีท่าว่าจะดำเนินต่อไปจนเกินกว่าจะคาดเดาทิศทางได้ถูก ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่ทุกท่านจะได้พบกับเนื้อหาสุดเข้มข้นเกี่ยวกับ Technology และ Business ในวันข้างหน้าที่งาน Techsauce Global Summit 2019 เราจึงอยากสรุปสถานการณ์ Digital Transformation ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกันก่อนผ่าน Panel Discussion ในหัวข้อ “Breaking the boundaries of tech, business and creative industries with the world changing technologies” จากผู้นำทางความคิดด้านต่างๆ ของประเทศไทย

สำหรับ Speaker ใน Session นี้ ประกอบด้วย คุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้ง Kafedum Group สื่อมวลชนอาวุโสผู้ผ่านทุกกระแสความเปลี่ยนแปลง, ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ภาคเทคโนโลยี ผู้เขียนหนังสือ “Futuration เปลี่ยนปัจจุบันทันอนาคต”, คุณอมฤต เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Techsauce Media และดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

จากซ้ายไปขวา คุณอมฤต เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Techsauce Media, คุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้ง Kafedum Group และ ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ภาคเทคโนโลยี ผู้เขียนหนังสือ “Futuration เปลี่ยนปัจจุบันทันอนาคต”

เมื่อโลกจะไม่ช้าลงอีกแล้ว ไทยตื่นตัวกับเรื่องนี้แค่ไหน

เริ่มที่คำถามที่หลายคนอยากรู้ด้วยการสะท้อนภาพสถานการณ์และมุมมองต่อ Digital Disruption ในประเทศไทยกันก่อน ซึ่งคุณสันติธารและคุณสุทธิชัยต่างบอกเล่าในประเด็นต่างๆ ได้น่าสนใจทีเดียว

เริ่มที่คุณสันติธาร กล่าวว่า คนไทยตื่นตัวเรื่องความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จาก Digital ในระดับที่เห็นได้ชัด แต่ก็ไม่ได้เพียงพอ ทั้งนี้สิ่งที่น่ากลัวไม่ใช่ตัวเทคโนโลยีหรือกระบวนการ แต่เป็น “ความเร็ว” หากนักจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวนำ และสิ่งที่ทุกฝ่ายเสนอตรงกันคือ การปฏิวัติครั้งนี้ถือว่าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด และจะไม่ช้าไปกว่านี้อีกแล้ว แถมยังจะเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ ในทุกด้าน

ด้วยเหตุนี้ การถามว่าเราจะเตรียมตัวรับมืออย่างไรจึงเป็นเรื่องยากมาก การเตรียมตัวในอนาคตจึงไม่ใช่เรื่องของการคาดเดาอนาคตหรือนึกภาพวันข้างหน้าเท่านั้น สิ่งที่ต้องเริ่มถามทุกวันนี้ ต้องเริ่มตั้งแต่ว่า คน องค์กร ไปจนถึงประเทศ จะต้อง “เตรียมตัว” อย่างไร และต้องทำอย่างไรให้การตื่นตัวนำไปสู่การเป็น “โจทย์” เพื่อหาคำตอบ

คุณสุทธิชัยได้เสริมในประเด็นเกี่ยวกับ “สิ่งที่หายไป” ที่พาการตื่นตัวไปสู่คำตอบว่า ในตอนนี้ พรรคการเมืองหลายๆ พรรคยังไม่ได้ยกนโยบายหรือแสดงวิสัยทัศน์รับมือ Digital Disruption เท่าที่ควร การหวังพึ่งภาครัฐในเวลานี้และต่อไปว่าจะลุกมานำการรับมือจึงยาก เอกชนและภาคธุรกิจเลยก้าวมาเป็นผู้นำการรับมือการอย่างที่เห็น แม้แต่ในส่วนภูมิภาคท้องถิ่นก็เริ่มมีบริษัทพัฒนาเมืองโดยเอกชนให้เห็นแล้ว

เมื่อพูดถึงการตื่นตัวของเพื่อนบ้าน ก็ต้องบอกว่ามีมากกว่าชัดเจน และไล่ตามไทยอย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนามที่พัฒนาด้านเทคโนโลยีจนยกระดับประเทศใน 10 กว่าปี ส่วนสิงคโปร์นั้นไม่ต้องพูดถึง หลายๆ ส่วนไปไกลมากถึงระดับโลก อันเนื่องมาจากการบริหารของรัฐฯ ที่คิดแบบเอกชน

สำหรับในประเทศไทย การที่เอกชนลุกขึ้นมานำการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 2-3 ปีก่อนถือเป็นเรื่องดี ภาครัฐก็มีส่วนช่วยได้ด้วยการ “ร่วมมุ่ง” ไปยังทางที่เอกชนอยากจะไป

Previous Generation ยุคสมัยเป็นปัญหากับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

เป็นอีกคำถามที่หลายคนสนใจ หนีไม่พ้นปัจจัยรับมือการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องของคน โดยเฉพาะ Generation ที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อการรับมือความเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งคำตอบของผู้เสวนาได้เผยมุมมองที่น่าสนใจเอาไว้ไม่น้อย

คุณสุทธิชัยกล่าวว่าประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับ Generation หรืออายุแต่อยู่ที่ “วิสัยทัศน์” โดยยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจาก 2 เจ้าสัวใหญ่ของไทย ได้แก่ คุณธนินทร์ เจียรวนนท์ แห่งซีพี และคุณบุญสิทธิ์ โชควัฒนา แห่งสหพัฒน์ ที่แม้จะดำรงตำแหน่งประธานยังต้องกลับมานำการปฏิบัติงานเพื่อพาองค์กรให้อยู่รอดจากพายุใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งเจ้าสัวทั้งสองพูดตรงกันว่า ถ้าไม่ทำอะไร ธุรกิจที่เติบใหญ่ระดับประเทศอาจจะล้มด้วยพายุ Disruption

คุณสุทธิชัยยังชี้อีกว่าในขณะที่ประธานบริษัทอายุหลัก 80 ปี ต้องลงมาสั่งการเอง แต่ผู้บริหารในวัย 40-60 ปี หลายคนกลับไม่ได้ตระหนักหรือตื่นตัวตามทัน ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจาก “ประสบการณ์การผ่านร้อนผ่านหนาว” ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เจ้าสัวทั้งสองท่านยอมรับว่า พายุ Disruptive ครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้ง เพราะไม่มีท่าทีจบลงเพื่อให้ได้เริ่มต้นใหม่ได้เหมือนที่ผ่านมา

พายุ Disruption มันแฟร์ มันพัดมาทีเดียว ยากดีมีจน มีโอกาสเจ๊งกันหมด ถ้าไม่ปรับตัว - คุณสุทธิชัย หยุ่น

คุณสันติธาร เสริมว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากคนรุ่นก่อนกลัวเทคโนโลยี แต่มาจากคนทุกคนกลัวความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัญหาของคนทุกรุ่น คนรุ่นเก๋ามองว่าคนรุ่นใหม่มีแต่เทคโนโลยแต่ไม่มีประสบการณ์ ส่วนคนรุ่นใหม่ก็มองว่าประสบการณ์ของคนรุ่นเก๋านั้นใช้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น จึงมีการกล่าวว่า Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของคน การจะ Transform ให้สำเร็จต้องผสานจุดแข็งของคนรุ่นใหม่และรุ่นเก๋าเข้าด้วยกัน

“Techsauce Globlal Summit 2019” ความกลัวที่ต้องถูกกระตุ้นเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เมื่อได้เห็นความจำเป็นของการรับมือ Disruption แล้ว ก็ถึงคราวที่เราจะมาพูดถึง Techsauce Global Summit 2019 ว่าจะเข้ามาช่วยรับมือได้อย่างไร ซึ่ง Speaker ทุกคนต่างยืนยันว่างานนี้สำคัญต่อการรับมือคลื่นความเปลี่ยนแปลงลูกใหญ่ที่เข้ามาและไม่ผ่านไปง่ายๆ

ดร.สันติธาร กล่าวถึงงาน Techsauce Global Summit ว่า การมางานนี้ทำให้ได้พบกับ Futurist หรือผู้สนใจอนาคตเป็นจำนวนมาก การได้พบเจอและพูดถึงอนาคตทำให้เกิด “ความตื่นกลัว” ซึ่งจะไปกระตุ้นสัญชาตญาณการเอาตัวรอด และนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นทักษะที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต

งานอย่าง Techsauce Global Summit นี่สำคัญมาก มันกระตุ้นความกลัว กระตุ้นต่อมการเรียนรู้ของเรา ให้เราทำ Live Long Learning ได้สำเร็จ - ดร.สันติธาร เสถียรไทย

นอกเหนือจากกระตุ้นความตื่นกลัวแล้ว การไปหาความรู้ที่งาน Techsauce Global Summit 2019 ยังช่วยกระตุกการตั้งคำถามด้วย ซึ่งการตั้งคำถามที่เหมาะสมนั้นสำคัญไม่แพ้การหาคำตอบที่ถูกต้องเลยทีเดียว

คุณสุทธิชัย กล่าวว่า อันที่จริง ความกลัวได้เกิดขึ้นแล้ว โดยเกิดในระดับบนสุด คุณสุทธิชัยมีโอกาสพบกับทั้งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยดังและผู้บริหารหน่วยงานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่ออกมาพูดว่า พวกเขาเห็นเทคโนโลยีใหม่ Solution ใหม่ๆ และเห็นว่าจะมา Disrupt ธุรกิจที่เขาดูแลแน่ สิ่งที่ผู้บริหารเหล่านี้ต้องการจึงมากกว่าแค่ตระหนัก แต่เป็นการค้นหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อบอกให้ได้ว่า “พวกเขาควรทำอย่างไร”

ปิดท้ายที่คุณอมฤต เจริญพันธ์ Co-Founder ของ Techsauce กล่าวว่า เดิมที Techsauce เป็นงานที่มักขึ้นชื่อเรื่อง Tech และ Startup แต่ในปีนี้ เราตระหนักกับปัญหาหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Corporate Innovation สำหรับองค์กรธุรกิจที่กำลังทำ Digita Transformation ไปจนถึงปัญหาสังคมต่างๆ ที่เทคโนโลยีสามารถเข้าไปแก้ปัญหาได้ การนำเสนอเนื้อหาในปีนี้จึงสรุปเรียกว่า “Tech for All, Tech for Life” คือการทำให้เทคโนโลยีมีคุณค่ากับชีวิตของคนทั่วไป ทั้งนี้ Techsauce Global Summit 2019 เองก็จะยังคงขับเคลื่อน Startup Ecosystem ของไทยไปพร้อมกัน ผ่าน Corporate ที่เป็น Partner ซึ่งพร้อมสนับสนุนทำให้ประเทศไทยยังคงมีศักยภาพจะปลุกปั้น Unicorn ได้

พบเนื้อหาสุดเข้มข้นจาก Tech Conference ที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับ Techsauce Global Summit 2019!!!

บทสรุป Session จากผู้คร่ำหวอดของไทยที่ท่านได้อ่านไปนี้ เป็นเพียงออเดิร์ฟสู่เนื้อหาที่ดีที่สุดและครบเครื่องที่สุดจาก Speaker ระดับโลกใน Techsauce Global Summit 2019 ที่จะพาทุกท่านร่วมเจาะลึกในประเด็นอย่าง Digital Transformation, Corporate Innovation, Social Enterprise รวมถึงเนื้อหาเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่ห้ามพลาดไม่ว่าจะเป็น AI/Data, Blockchain, Fintech, Clean Tech และอื่นๆ อีกมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน, Startup Enterprenuer, ผู้สนใจปัญหาสังคม แม้จะเป็น Developer หรือ Marketer งานมีเนื้อหาเหมาะกับคุณแน่นอน สนใจรีบคว้าบัตรราคาพิเศษได้ที่ summit.techsauce.co


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...