ความเป็นไปได้ของ Startup ไทย​ในตลาดอินโดนีเซีย มีจริงหรือ | Techsauce

ความเป็นไปได้ของ Startup ไทย​ในตลาดอินโดนีเซีย มีจริงหรือ

Silicon Valley อาจเป็นที่ๆหลายๆคนอยากไปเยือน และมองหาโอกาสใหม่ๆ แต่สำหรับ 'ธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน' หรือ แคสเปอร์ เขาเลือกเดินทางออกจากซานฟรานซิสโก กลับมายังภูมิภาคบ้านเกิด และเลือกเริ่มต้นธุรกิจกับตลาดที่หลายคนต่างบอกว่านี่เป็นโอกาส อย่างประเทศอินโดนีเซีย 

Techsauce นั่งคุยกับแคสเปอร์ Startup หนุ่มผู้มากประสบการณ์ และได้เคยเก็บเกี่ยวประสบการณ์และคลุกคลีอยู่ใน Silicon Valley ก่อนตัดสินใจมาทำธุรกิจ Startup ในอินโดนีเซีย อย่าง Kulina และ Edaf

จาก Silicon Valley สู่ Startup ในอินโดนีเซีย

ผมย้ายจากซานฟรานซิสโกมาอยู่ที่อินโดนีเซีย หลายคนก็ถามว่าทำไมต้องจาร์กาตา ซึ่งผมก็อธิบายว่า ผมมองเห็นโอกาสตรงนี้ ซึ่งผมได้ศึกษาตลาดในปลายปี 2016 และเข้าไปในปี 2017 ปัจจุบัน 2 ปีผ่านไป มีหลายๆ อย่างที่เปลี่ยนไปเร็วมาก อย่างบริษัทที่รู้จักกัน เมื่อก่อนมีพนักงานอยู่ 50 คน ตอนนี้เพิ่มเป็น 350 คนแล้ว

ทำไมต้องอินโดนีเซีย

ผมมองว่าในแง่ของ Talent หรือคนเก่งๆที่ต้องการนั้น Scale อาจจะใหญ่กว่า Silicon Valley ด้วยซ้ำ และตอนนี้ ในแง่ของ technical skills เขาก็ยังไม่ advance ขนาดนั้นเพราะฉะนั้น ทุกคนมีโอกาส

มันก็มีเหตุผลหลายอย่างประกอบกัน ถ้ามองภาพรวมอินโดนีเซียถือว่ามีประชากรเยอะที่สุด มากกว่า 40% ของตลาด Southeast Asia และยังเป็นตลาดที่ประชากรอายุยังน้อยและถือว่าเป็น growing population country ถ้าเรามองจาก Report ของ PwC ภายในปี 2040 อินโดนีเซียจะเป็น 4th Largest Economy of the World ซึ่งทำให้มี high potential ที่คนจะเอาเงินมาลงทุนกับตลาดนี้ โดยเฉพาะ Startup ที่จะโตเร็วไปพร้อมๆกับ economy

ผมชอบอะไรที่มันขัดกับความคิดของตัวเอง เพราะมันทำให้เราเรียนรู้ละเข้าใจอะไรใหม่ๆ

ใช้เวลานานไหมกว่าจะมองเห็นภาพว่ามันไปได้

ผมโชคดีที่ตอนเข้าไปในตลาดอินโดนีเซีย ยังไม่ค่อยมี international talent โดนเฉพาะคนที่มาจาก Silicon Valley เลยได้มีโอกาสไปพูดในเวทีต่างๆเยอะ ทำให้เราได้เห็นอีกมุมมองหนึ่ง คนที่เรารู้จักก็เป็น Speaker คนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในการลงทุน หรือสร้าง startup ที่โตมาเป็น Unicorn อย่างทุกวันนี้ การที่เราอยู่ตรงนั้นก็จะเห็นนักลงทุนจากจีน อเมริกาเข้ามาถามและขอความคิดเห็นตลอด เพราะเราเข้าใจตลาดอื่นด้วย แต่พอกลับมาเยี่ยมที่ไทย ผมรู้สึกว่าตลาด ยัง Early อยู่เยอะเลยถ้ามาเทียบกัน อินโดนีเซียนั้นเติบโตเร็วกว่ามาก

อินโดนีเซียต่างจากไทยอย่างไร

จริงๆแล้วผมคิดว่า มันมีความคล้ายกันเยอะเลย รู้สึกเสียดายที่ไม่มีคนไทย ไปอินโดเพื่อคว้าโอกาสเยอะกว่านี้

หลายปัจจัยที่ต่างกันคือ อย่างแรก เงินลงทุนที่มีเยอะ การลงทุนแบบ startup ทำให้ธุรกิจสามารถไปต่อได้และได้มีโอกาสลอง สองคือ ถ้ามีเงินก็สามารถจ้าง talent เก่งๆได้ คนที่ทำ startup ในอินโดส่วนมากเป็นคนที่มีความสามารถและความรู้ หลายคนเรียนที่อเมริกาหรือยุโรปแล้วกลับมาพัฒนาประเทศเค้า หรือเราเรียกว่า SEA Turtles

ในขณะที่ประเทศไทยในก็มีครับ แต่การที่จะกลับมาตั้ง startup เองแล้วยังต้องสู้กับบริษัทใหญ่ๆในไทย โดยที่ตัวเองมีเงินลงทุนน้อย ก็ไม่ได้จูงใจให้ talent เหล่านั้น กล้าที่จะทิ้งเงินเดือนหลายแสนเพื่อกลับมาที่ไทย ในขณะที่อินโดนีเซีย บริษัท startup สามารถจ่ายเงินคนเหล่านั้นได้และยังได้ทำงานในองค์กรที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นคนถึงยอมกลับประเทศ

เงินลงทุนที่มาลงทุนใน Startup ไทยยังน้อย?

จริงๆก็ไม่น้อยมากครับ แต่ส่วนใหญ่มาจาก Corporate ซึ่งวิธีคิดและวิธีการทำงานนั้น ไม่เหมือน startup คำแนะนำของ corporate ก็จะเหมือนการให้คำแนะนำ business unit แต่ไม่ใช่การที่จะสามารถโตแซงได้เช่นกัน

ถ้าเทียบกับ อินโดนีเซียแล้วมันก็มีเงินมาจาก หลายแหล่ง เช่น จีน สิงค์โปร์ อเมริกา ญึ่ปุ่น ทำให้เงินลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้มา จาก Corporate เยอะที่สุด เพราะฉะนั้นเราก็จะได้เห็นความคิดและการลงทุนที่หลากหลาย ที่ทำให้ตลาดโตอย่างรวดเร็ว การแข่งขันสูง ทำให้ตลาดไปได้เร็ว ซึ่ง founder คนไทยที่มีความสามารถนั้น มีน้อยคนที่จะคิดออกไปหาเงินลงทุนและดูภาพใหญ่ๆ ในการเติบไปยังตลาดภูมิภาค ถ้าเค้าไม่เข้ามาเราก็ต้องออกไปหาเค้า

ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนขนาดไหน?

ผมมองว่าภาครัฐที่อินโดให้การสนับสนุนที่ดีทีเดียว เพราะเค้าเข้ามาช่วยปลดล็อคไม่ใช่บล๊อค ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เค้าให้โอกาศภาคเอกชนทำและสนับสนุน ไม่ได้ทำแข่ง มีงานหนึ่งผมเจอที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เขาก็ถามผมทั้งวันว่าคุยกับนักลงทุนที่มางานแล้วกี่ราย และก็เรียกคนมาช่วยแมตช์เรากับนักลงทุนคนอื่นๆอีกด้วย

จะมี Unicorn ในอินโดนีเซียเกิดขึ้นมาอีกไหม? 

ผมว่าจะมีขึ้นมาเยอะเลย เหตุผลเพราะ  

  1. Funding: เมื่อมี success case ก็จะมี investor กล้าเข้ามาอีกและ ก็ยังพกเงินมาเพิ่มขึ้นอีกด้วย

  2. Inspiration: เพราะหลายคนที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ หรือทำงานในบริษัทใหญ่ๆ เวลาเค้าเห็น Unicorn เค้าก็จะกล้าออกมาเพราะมันมี succcess case แล้ว ผมมองว่าถ้าประเทศไทยยังไม่มี success case ภายใน 2 ปีนี้ Ecosystem ของ startup เราก็จะดูเงียบๆนิ่งๆและก็ต้องไปพึ่ง solution ของต่างประเทศ

  3. Experienced Talent: Early Employees ของบริษัท unicorn เหล่านี้ เมื่อเขาได้ผ่านประสบการณ์ตรง เขาก็จะเริ่มอยากออกมาทำของตัวเอง หรือเข้าไป support ecosystem ในภูมิภาคอื่นๆในประเทศเขา

ความท้าทายของคนที่จะเข้าไปในตลาดอินโดนีเซีย

  1. ต้องรู้จัก Local Partner ที่สามารถ Support เราได้ สามารถพาเราไปได้ไกลกว่าคนอื่น
  2. ถึงแม้ว่าประชากร คนไทยกับคนอินโดจะมีอะไรคล้ายๆกัน ผมว่าเรายังต้องศึกษาและทำความเข้าใจความแตกต่างที่ยังมีอยู่อีกด้วย
  3. เรื่องภาษา เพราะคนไทยยังอ่อนเรื่องภาษาอังกฤษ แต่ถ้าคนอินโดนีเซียที่อยู่ในเมือง เฉลี่ยแล้วเขาจะภาษาดีกว่า
  4. เรื่องศาสนา ประเทศเราเป็นเมืองพุทธ ประเทศเค้าเป็น มุสลิมก็ต้องเค้าใจว่าอะไรความไม่ควรและยอมรับได้ในสังคมทั่วไป อีกทั้งแต่และเกาะและภูมิภาคก็ยังมีความต้องการไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเรื่อง อาหาร ความชอบ รูปแบบรสชาติ ก็จะแตกต่างตามโซน

Do/Don’t ถ้าจะเข้าไปในตลาดอินโด

DO

  1. Founder ต้องไปอยู่ที่อินโดอย่างน้อย 2 เดือนเพื่อที่จะเข้าใจตลาด ไม่งั้นเราก็จะไม่รู้ว่าคนที่นั่นเขาเป็นอย่างไร อีกอย่างจะเติบโตยากถ้า partner ที่อินโด ไม่เห็นเจ้าของบริษัท เพราะเค้าคิดว่าเราไม่จริงจัง

  2. ต้องทิ้ง Mindset ที่เราเคยคิดว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ล้าหลัง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เขาไปไกลกว่าเราเยอะแล้ว ฉะนั้นเราต้องมี Mindset ว่าเราไปเพื่อไปเรียนรู้

  3. ต้องหา Connection กับคนให้เยอะที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือ Partner ก็ตาม เราต้องลองคุยและแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เสมือนเป็นการทิ้งความคิดเก่าๆ เกี่ยวกับอินโดนีเซียนั่นเอง

  4. อาจจะลองเรียนรู้วัฒนธรรมหรือภาษาของเขา อย่างน้อยก็ขอให้เราได้ทักษะพื้นฐานในการสื่อสารก็ยังดี เช่น ขอบคุณ สวัสดี

Don’t

  1. อย่าคิดว่าอินโดนีเซียจะเหมือนกันหมด เพราะแต่ละภาคก็มีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นอะไรที่มันเวิร์คกับอีกทีหนึ่ง อาจจะไม่เวิร์คกับอีกที่หนึ่งก็เป็นไปได้
  2. อย่าดูถูกคนอินโดนีเซียว่าล้าหลังกว่า
  3. ถ้าเรารอนานเกินไปกว่านี้ มันก็จะไม่มีโอกาศในการเข้าไปแล้ว เพราะ Solution ที่เราคิดได้ ว่ามันเวิร์คก็อาจจะโดนคนอื่นในตลาดอินโดตัดหน้าไป

คิดว่ามีอะไรที่ทำให้ไทยไม่มี Unicorn สักที

อย่างแรกคือ ทางเลือกของ Founder ที่ยังไม่มี mindset ที่เป็น Global/Regional ตลาดไทยที่มี 69ล้านคนนั้น ถือเป็นตลาดที่เล็กอยู่ในอับดับสี่ของอาเซียน รองจาก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพราะฉะนั้นต้องลองหาทีม ที่จะเข้ามา support ในการขยายตลาดไปต่างประเทศ

อย่างที่สองคือ กลุ่มนักลงทุนในประเทศ ที่ต้องใจกว้างขึ้นและศึกษาการลงทุน startup อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น VC, CVC, Angel Investor หรือ Corporate เองก็ตาม เพราะเท่าที่ดูจาก startup ที่เข้ามาปรึกษาผมนั้น หลายรายก็โดน Angel Investor และหลายๆที่โก่งราคาและ equity เยอะอยู่เหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถระดมทุนต่อได้ในต่างประเทศ ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่ามันเป็นการคิดระยะสั้น เพราะถ้าบริษัทที่ลงทุนไม่เติบโต เงินที่เข้าลุงทุนไปก็เป็นศูนย์

นอกจากนั้น Corporate ก็ต้องเปิดกว้างในเรื่องข้อจำกัดต่างๆ เช่น ห้ามทำงานกับบริษัทอื่น ซึ่งมันทำให้ Market ที่เล็กอยู่แล้วมันเล็กลงไปอีก อีกมุมมองหนึ่งคือจะดีกว่าไหมถ้าเราทำให้ Market มันใหญ่ไว้ก่อนแล้วไปช่วยกันสู้เขาข้างนอกแทน

อย่างที่สามคือ ต้องช่วยกันโน้มน้าวคนที่มี Talent ที่กระจัดกระจายกันอยู่ต่างประเทศกลับเข้ามาในไทย

ตอนนี้ผมว่าคนที่อยู่ใน Tech Startup ก็เริ่มสนใจไปอินโด ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะเวลาออกไปต่างประเทศมันค่อนข้างยาก ถ้ามี Success Case และมีคนที่คอย Support รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความรู้หรือแนวคิด มันจะดีมาก นอกจากนี้ก็อยากให้หลายๆ ส่วนร่วมมือกันและช่วยกัน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถ Explore ออกไปต่างประเทศได้ แคสเปอร์กล่าวปิดท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ และสวัสดิการหญิงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว...

Responsive image

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็ก Disney ผันตัวมาเป็น CEO บริษัทเทคโนโลยีอวกาศ

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็กและนักร้องชื่อดังจาก Disney Channel ล่าสุดเธอผันตัวมาทำ Startup สถานีอวกาศภาคพื้นดินแล้ว...