คุณพร้อมแค่ไหนสำหรับโอกาสมากมายในตลาดสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงบนโลกออนไลน์? | Techsauce

คุณพร้อมแค่ไหนสำหรับโอกาสมากมายในตลาดสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงบนโลกออนไลน์?

เวลาที่เราไปซุปเปอร์มาร์เก็ต เรามักจะเห็นคนที่เลี้ยงสัตว์มาซื้ออาหารสัตว์เป็นกระสอบๆ บวกกับของใช้ของสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีกเพียบ  แต่อะไรกันที่ทำให้การซื้อของใช้ต่างๆ เพื่อสัตว์เลี้ยงบนออนไลน์ถึงยังไม่เป็นที่นิยม อาจเพราะว่าแบรนด์จำนวนไม่มากนักในไทยที่มีช่องทางการขายสินค้าบนออนไลน์ ช่องว่างทางธุรกิจนี้น่าสนใจอย่างมาก หากมองเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างไทย ที่มีตลาดอาหารสัวต์เลี้ยงมูลค่าถึง 736.7 ล้านดออล่าร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2015 และคิดเป็นสัดส่วนถึง 44% ของตลาดสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ยิ่งไปกว่านั้น การใช้จับจ่ายสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มการเติบโตขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของเมือง ความนิยมและความต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยง กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์ทั่วโลก เติบโตขึ้น4% (มูลค่า 7หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ใน ค.ศ. 2015 และมีจำนวนการซื้อขายบนออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 38% จากยอดขายทั้งหมดของอาหารสัตว์ในประเทศจีนใน ค.ศ. 2015

จากที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตไปในแนวทางเดียวกับประเทศจีน สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสของการขยายตัวของตลาดสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงบนออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างดี

[toc]

BI

ในงานประชุม Petfood Forum Asia เมื่อปีที่ผ่านมา คุณ Mariko Takemura หัวหน้านักวิเคราะห์ของบริษัท Euromonitor International ได้กล่าวถึงข้อมูลที่ว่าในประเทศไทยนั้นมียอดขายรวมของสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงทั้งหมด 737 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5 ปีอยู่ที่ 13.7% ซึ่งสิ่งนี้ได้บ่งชี้ให้เห็นแล้วว่า ตลาดในประเทศไทยนั้นมีความต้องการสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงจำนวนมากขนาดไหน แต่ว่าอุปสงค์จำนวนมากขนาดนี้ มาจากใครกันล่ะ

ลักษณะของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ในไทย

มีจำนวนสุนัขและแมวถึง 60% ในภูมิภาคชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงถูกให้อาหารด้วยอาหารสัตว์ที่ปรุงขึ้นเองในครัวเรือน หรือจากอาหารเหลือจากการบริโภคของเจ้าของ เนื่องจากในภูมิภาคนี้ อัตราการเข้าถึงของแบรนด์สินค้าอาหารสัตว์นั้นยังค่อนข้างต่ำอยู่ จากข้อมูลของคุณ Harprem Doowa ผู้ก่อตั้ง PetLoft เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแรกๆ ในไทยสำหรับสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง กล่าวว่า พฤติกรรมการให้อาหารสัตว์เลี้ยงด้วยอาหารที่ปรุงขึ้นเองในครัวเรือนนั้น แสดงให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา และด้วยอำนาจในการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น และแนวคิดที่เปรียบสัตว์เลี้ยงเป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ทำให้เจ้าของสัตว์ต่างเรื่มมองหาอาหารสัวต์ที่ได้รับการแนะนำจากสัตวแพทย์เพื่อสัตว์เลี้ยงแสนรักของพวกเขา

“ในประเทศสิงคโปร์ เป็นเรื่องปกติที่เราจะเห็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงถามถึงเรื่องคุณภาพ และสินค้าและการบริการที่มีความโดดเด่นเพื่อสัตว์เลี้ยงของพวกเขาอยู่เสมอ เจ้าของสัตว์เหล่านี้ต่างมองว่าสัตว์เลี้ยงของพวกเขาเป็นเหมือนสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว และต้องที่จะให้อาหารพวกมันด้วยอาหารออร์แกนิคเพื่อสุขภาพ หรืออาหารสัตว์ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าอาหารของมนุษย์” คุณ Jennifer Lee ผู้จัการมหกรรม Pet Asia ในประเทศสิงคโปร์กล่าว

ในประเทศไทยก็เช่นกัน การดูแลสัตว์เลี้ยงในลักษณะดังกล่าวเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยจำนวนผู้เลี้ยงสัตว์และการมองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสมาชิกในครอบครัวที่เพื่มสูงขึ้น ทำให้บรรดาเจ้าของสัตว์ทั้งหลายเริ่มมองหาอาหารสัตว์ระดับพรีเมี่ยม ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยงแบบองค์รวม แทนที่จะให้อาหารพวกมันด้วยอาหารที่เหลือจากการบริโภคของพวกเขา และพวกเขาก็มีความสามารถที่จะซื้อมันได้ ด้วยอัตราการขยายตัวของชนชั้นกลางในประเทศไทย ที่คาดการ์ณว่ารายได้ต่อหัวจะเพิ่มขึ้นอีก 3.2% ในปีนี้ รวมทั้งเทรนด์การอยู่คนเดียวที่เพิ่มขึ้น

3

4

คุณ Neil Wang ประธานแล้วผู้ร่วมทุนบริษัท Greater China for Frost & Sullivan กล่าวว่า “ในภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลาดของสินค้าเพื่อนสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคนี้ยังถือว่าเป็นตลาดที่ยังค่อนข้างใหม่ และธุรกิจสัตว์เลี้ยงก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค และมีคนจำนวนมากขึ้นที่รู้สึกว่าสัตว์เลี้ยงเป็นเสมือนกับสมาชิกในครอบครัว และต้องการที่จะใช้เงินจับจ่ายสินค้าเพื่อซื้อสินค้าให้พวกมัน”

แต่ว่าผู้บริโภคชาวไทยนั้นจะไม่ใช้จ่ายอย่างไร้เหตุผล งานวิจัยชื่อ “Winning the zero moment of truth in Southeast Asia ” แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันนี้ ผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่ให้ความสำคัญเรื่องราคานั้น จะทำการค้นหาและเปรียบเทียบราคาของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งนี้ยังหมายรวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยงด้วย มีคนจำนวน1ใน3ของกลุ่มที่ทำการสำรวจกล่าวว่า พวกเขาได้ทำการเปรียบเทียบสินค้าอาหารสัตว์จากหลายๆแบรนด์บนอินเตอร์เน็ทก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

ธุรกิจสตาร์ทอัพที่ให้บริการการส่งสินค้าตามความสะดวกของผู้รับอย่าง Lalamove เปิดเผยว่า หนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดบนแพลทฟอร์มของเขาในประเทศไทยก็คืออาหารสัตว์

5

คว้าโอกาสของตลาดสินค้าสัตว์เลี้ยงที่มีอยู่บนออนไลน์

งานวิจัยของ L2 ระบุว่าตลาดสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงในสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าถึง 760 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมีอัตราการเข้าถึงสูงสุดของอีคอมเมิร์ซในบรรดาหมวดสินค้าสำหรับครัวเรือน ทั้งเว็บไซต์ Amazon.com และ chewy.com สองเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ ผู้ครองตลาดอีคอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกา ถูกเปิดเผยว่ามีสัดส่วนมากที่สุดในการขายอาหารสัตว์บนออนไลน์ ทำไมน่ะหรอ?  ก็เพราะว่าพวกเขาเห็นถึงศักยภาพของตลาดนี้  และเริ่มที่จะลงทุนกับมันตั้งแต่เนิ่นๆ บรรดาผู้ค้าปลีกและแบรนด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงควร ใช้ข้อมูลนี้เป็นตัวเทียบเพื่อจับโอกาสมูลค่าหลายล้าน ดอลล่าร์ของการขายสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงบนออนไลน์ในภูมิภาคนี้

6

ด้วยน้ำหนักของกระสอบอาหารสัตว์ และความหลากหลายของสินค้า รวมถึงการที่ต้องบริโภคอยู่เป็นประจำ ทำให้สินค้าประเภทนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการขายผ่านอีคอมเมิร์ซ จากผลการสำรวจของบริษัทหนึ่งในสหรัฐอเมริกาพบว่า หนึ่งในสามของบรรดาผู้เลี้ยงสุนัขและแมว รู้สึกสนใจจะใช้บริการส่งอาหารสัตว์ให้ถึงบ้าน เนื่องจากเป็นสิ่งที่จะต้องในปริมาณเดิมๆ ทุกๆ วันอยู่แล้ว

ด้วยการขายผ่านแพลทฟอร์มบนออนไลน์ แบรนด์สินค้าสามารถให้บริการต่างๆ เช่นการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน เสนอสินค้าที่หลากหลายให้ลูกค้า หรือแม้กระทั่งมอบโปรโมชั่นพิเศษสำหรับการซื้อในจำนวนมากๆ และบริการสมัครรับสินค้าอย่างต่อเนื่อง หรือ ส่วนลดในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นตัวกระทุ้นให้เกิดการซื้อจากเหล่าบรรดานักช้อปได้

เป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับบรรดาผู้เลี้ยงสัตว์ชาวไทยที่ยังไม่มีตัวเลือกมากนัก นอกจากร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะอย่าง Petpro.co.th และ dogilike.com ก็ยังมีสินค้าที่ได้รับความนิยมจำนวนมากที่ไม่สามารถหาซื้อได้บนออนไลน์ แม้จะมีความต้องการในสินค้าเหล่านี้อยู่ก็ตาม จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ที่ Lazada ประเทศไทยแถลงว่ามีสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงนั้น มีอัตราการเติบโตถึง 600% และส่วนมากก็มาจากการขายของผู้ค้ารายย่อยๆ ทั้งนั้น

แม้แต่แบรนด์อาหารสัตว์ระดับพรีเมี่ยมที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง Alpo, Royal Canin และ Purina ก็สามารถหาซื้อได้จากเว็บไซต์มาร์เกตเพลสอย่าง orami.co.th และ lazada.co.th ช่องว่างของตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มแบรนด์สินค้าราคากลางๆ ที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองไว้โปรโมทรายละเอียดสินค้าและเสนอขายสินค้าที่หลากหลาย ทำให้ยังมีช่องว่างในตลาดที่ยังเปิดกว้างและรอให้ใครสักคนเค้ามาทำธุรกิจในจุดนี้

ยังไม่มีแบรนด์สินค้าสัตว์เลี้ยงแบรนด์ไหนที่มีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นของตัวเอง

เหตุผลเหล่านี้ แบรนด์สัตว์เลี้ยงต่างๆจึงควรเริ่มเข้าหาลูกค้าโดยตรง:

  • สามารถควบคุมแพลทฟอร์มที่ใช้เพื่อสื่อสารกลับกลุ่มเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มองหาข้อมูล และเป็นประโยชน์กับการทำ SEO ด้วยการทำ content marketing
  • อัตราการแข่งขันที่ต่ำกว่า หากเทียบกับอัตราการแข่งขันของสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงบนเว็บไซต์มาร์เกตเพลส และแผนกสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงในซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • สามารถเข้าข้อมูลของลูกค้าได้โดยตรง และนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบรนด์และลูกค้า รวมถึงสามารถใช้ข้อมูลนั้นในการสื่อสารได้อย่างตรงจุดในภายหลัง (remarketing)
  • ลดต้นทุน โดยเข้าถึงลูกค้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น 5% ให้เว็บไซต์มาร์เกตเพลส

เว็บไซต์ของแบรนด์ Purina ที่สหรัฐอเมริกา ที่ Nestle เป็นเจ้าของ ได้อุทิศหน้าหนึ่งทั้งหน้าของเว็บไซต์ เพื่ออธิบายเรื่องคุณค่าทางอาหารและประโยชน์ที่สัตว์จะได้รับจากอาหารสัตว์แต่ละชนิดของแบรนด์  เพื่อดึงดูดความสนใจของคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ และกระตุ้นให้เกิดการซื้อ

7

8

“แบรนด์สินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงที่มีความหลากหลายของสินค้ามากพอเท่านั้น จึงจะมีโอกาสแทรกซึมตลาดของบรรดาเจ้าของสัตว์ที่เป็นกลุ่มชนชั้นกลางได้” คุณ Harprem Doowa ผู้ร่วมก่อตั้ง PetLoft กล่าว

กรณีศึกษา : กลยุทธ์การเพิ่มความนิยมของ Pedigree ในออฟไลน์

แม้ว่าการแข่งขันระหว่างแบรนด์ที่ต้องการจะครองกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลางในตลาดนั้นมีแนวโน้มที่จะดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ บริษัท Mars ประเทศไทย ยังคงถือได้ว่าเป็นผู้นำตลาดของสินค้าเพื่อสัตว์ในประเทศไทย และแบรนด์อาหารสัตว์ที่ขายดีที่สุดภายใต้การดูแลของบริษัทก็คือ แบรนด์ Pedigree

Pedigree เป็นแบรนด์ที่ผู้คนต่างคุ้นเคยกันดีในครัวเรือน เนื่องจากตัวแบรนด์สามารถรักษาระดับความนิยมไว้ได้ ด้วยการใช้กลยุทธ์การโปรโมททั้งบนออนไลน์และออฟไลน์ โดยเฉพาะแคมเปญวันวาเลนไทน์ที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยทำการโปรโมทผ่านผู้นำในชุมชุน และมูลนิธิ Pedigree โดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อความเกี่ยวกับแคมเปญการกุศลเพื่อสุนัขไร้บ้าน และใช้ #ValentinesDay โดยแสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแบรนด์และความห่วงใยสุนัข

แอคเค้าท์ทวิตเตอร์ของ PedigreeUS มีผู้ติดตามมากกว่า 18,000  คน และแอคเค้าท์ของ Pedigreeในประเทศอื่นๆ ก็มีผู้ติดตามมากกว่าพันคน ซึ่งสิ่งนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่จะส่งคนให้ไปที่หน้าเว็บไซต์ของ Pedigree เพื่อซื้อสินค้าได้ของแบรนด์ได้

pedigree-valentines

Pedigree’s #ValentinesDay online campaign

Acom-216

สินค้าของ Pedigree ที่คลังสินค้าของ aCommerce ในประเทศไทย

การที่มีช่องทางการขายอยู่บนมาร์เกตเพลส ไม่ได้ทำให้ Pedigree สามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า และไม่สามารถควบคุมกลุ่มผู้ค้ารายย่อยอื่นๆ รวมถึงการสื่อสารและภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

และก็จะเริ่มยากขึ้นอีกเมื่อแบรนด์หลายๆแบรนด์ ต่างแข่งขันกันเพื่อแย่งลูกค้ากลุ่มเดียวกันบนมาร์เกตเพลส

จังหวะคือสิ่งสำคัญ

ตลาดสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงยังมีที่ว่างมากมายให้แบรนด์ต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่เข้ามาครอบครองส่วนแบ่งในตลาด โดยบริษัทระดับโลกมากมายและกลุ่มธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) ก็กำลังเริ่มสนใจโอกาสการลงทุนในตลาดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่นานมานี้ กลุ่มธุรกิจร่วมลงทุนของไทยชื่อ 500 TukTuk ได้ประกาศถึงการลงทุนของบริษัทในบริษัท PerroPack ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจ Perrobox  เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเพื่อการสมัครรับสินค้าอุปโภคบริโภคของสัตว์เลี้ยง และ PerroMart เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ขายสินค้าทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง และคงอีกไม่นานนักที่ธุรกิจในลักษณะจะเกิดขึ้นในประเทศไทย

Acom-201

ในขณะที่ตลาดในประเทศไทยเริ่มจะมีแบรนด์ระดับโลกมากมายเข้ามาแย่งพื้นที่ในตลาด และมีความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายขึ้น ทำให้ตลาดของสินค้าหลายๆ ชนิดเริ่มไม่ค่อยน่าลงทุน ทว่าตลาดของสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงนั้น ยังคงเป็นเสมือนเค้กก้อนโตที่ยังไม่มีใครมาจับจอง การซื้อของใช้เพื่อสัตว์เลี้ยงที่มีความจำเป็นต้องใช้เป็นประจำบนออนไลน์ก็กำลังจะกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนนิยทำกัน เมื่อคนเริ่มคุ้นเคยกับการใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้น

“ตลาดของสินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงในเอเชียนั้นได้พัฒนาไปมาก และมีความหลากยมากขึ้นเรื่อยๆ และยังก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยนของตลาดที่อื่นๆทั่วโลกในอีกไม่กี่ปี่ข้างหน้า” คุณNeil Wang พันธมิตรระดับโลกและประธานบริษัท Greater China at Frost & Sullivan กล่าว

แล้วมีแบรนด์สินค้าสัตว์เลี้ยงไหนบ้างล่ะ ที่พร้อมจะเริ่มเกมนี้อย่างจริงจังสักที?


eIQ-short-Logo-final

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษที่ ecommerceIQ.asia

ecommerceIQ is a research initiative formed out of aCommerce, one of Southeast Asia’s leading ecommerce solutions providers. We are dedicated to providing objective insights and data to help businesses investigating or already operating in the region address the most critical challenges and identify the best opportunities when growing online. ecommerceIQ produces sector and customized reports, clinics and conferences, a weekly Ecommerce in Southeast Asia brief and a news portal.

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดลิสต์ 9 หนังสือเล่มโปรด ของ Sam Altman ที่แนะนำให้ทุกคนอ่าน

บทความนี้รวบรวม 9 หนังสือเล่มโปรดที่ Sam Altman แนะนำ ที่เต็มไปด้วยมุมมองและแรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากหนังสือเหล่านี้ ที่จะช่วยให้คุณมองโลกได้กว้างขึ้น พร้อมตั้งคำถามที่ท้าทายความค...

Responsive image

20 อาชีพทางไกลที่เติบโตเร็วที่สุด คาดโตเกิน 17% ในปี 2025

จากผลสำรวจของ FlexJobs ในปี 2024 พบว่า 81% ของคนทำงานในสหรัฐฯ มองว่าการทำงานแบบรีโมทเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการหางานใหม่ แต่ที่น่าสนใจ คือมีคนจำนวนมากวางแผนที่จะลาออกในปีนี้ แต...

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...