ความล้มเหลวของระบบรถโดยสารสาธารณะไทย ที่เราได้แต่ ‘รอ’ เทคโนโลยี | Techsauce

ความล้มเหลวของระบบรถโดยสารสาธารณะไทย ที่เราได้แต่ ‘รอ’ เทคโนโลยี

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา น่าจะเป็นช่วงที่ยากลำบากสำหรับคนกรุงเทพ ด้วยพายุฝนที่โหมกระหน่ำในช่วงเวลาเร่งด่วน ระบบรถสาธารณะไทยคือทางเลือกที่ทุกคนพึ่งพาที่จะ ‘กลับบ้าน’ โดยทางเลือกหลักนั้นประกอบไปด้วย BTS , MRT , Airport Rail Link , รถโดยสารประจำทาง , ซึ่งแต่ละตัวเลือกนั้นก็ยังคงมี Pain Point หรือปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ประเทศอื่นนั้นมีแล้ว แต่ประเทศไทยยังคงได้แต่ ‘รอ’ อยู่

ภาพฝันของคนไทยต่อระบบรถโดยสารสาธารณะ หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ก็เช่น ประเทศสิงคโปร์ ที่มีบัตร EZ Links ใบเดียว สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถได้ทุกระบบ ทั้งยังสามารถวางแผนการเดินทางผ่านแอปพลิเคชัน ดูเวลาที่รถจะมาถึง ดูเส้นทางการเดินทาง นี่คือภาพฝันง่ายๆ แต่ความจริงแล้วระบบรถโดยสารในไทยนั้นเป็นอย่างไร?

รถไฟฟ้า BTS

เส้นทางบนฟ้าที่สะดวกที่สุดสำหรับคนกรุง ก็คือ BTS หากเทียบกับเมื่อสิบปีที่แล้ว BTS คือทางเลือกที่สะดวก รวดเร็ว แต่เทคโนโลยีในเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จากวันนั้นถึงวันนี้มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง?

  • การออกบัตรโดยสาร : BTS มีเครื่องรับธนบัตรในบางสถานี ทำให้ผู้ใช้บริการต้องใช้เครื่องออกบัตรโดยสารแบบเหรียญ ต้องเสียเวลาแลกเหรียญ หยอดเหรียญในเครื่องที่ไม่รับเหรียญ 2 บาท แม้ในไม่กี่วันที่ผ่านมา BTS ได้เปลี่ยนเครื่องออกบัตรใหม่ สามารถแตะหน้าจอ เลือกสถานี และรับเหรียญ 2 บาทแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีเครื่องรับธนบัตรให้ใช้อย่างแพร่หลายในทุกสถานี ยังคงต้องรอคิว แลกเหรียญ และรอหยอดเหรียญที่ตู้ออกบัตรกันอยู่

  • แอปพลิเคชัน : ไม่นานมานี้ เริ่มมีแอปฯ BTS Skytrain ให้ใช้ โดยแอปบอกเพียงเส้นทางการเดินรถ ยังมีข้อมูลหลายส่วนที่ยังต้องการพัฒนาอยู่ เช่น เวลาที่รถจะเดินทางมาถึง

สรุป Pain Point ของ BTS

  • การออกบัตรโดยสารที่ยังต้องมีต่อคิวแลกเหรียญ เพราะเครื่องไม่รับธนบัตร
  • ไม่สามารถซื้อบัตรโดยสารบางประเภทผ่านบัตรเครดิตได้
  • ไม่มีตู้ออกบัตรโดยสารแบบเติมเงิน และไม่สามารถเติมเงินผ่านตู้เองได้ ต้องต่อคิวกับเพื่อเติมเงินกับพนักงาน
  • แอปพลิเคชันยังต้องพัฒนา ข้อมูลบัตรโดยสารของผู้ใช้ยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับแอป

รถไฟฟ้า MRT

MRT มีข้อได้เปรียบเรื่องเครื่องออกบัตรโดยสารมาตั้งแต่ต้น โดยสามารถรับได้ทั้งธนบัตรและเหรียญ โดยต่อมายังมีป้ายบอกเวลาของรถที่จะเดินทางมาถึง แต่ก็ยังมีอีกหลายเทคโนโลยีที่จะสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ใช้ได้อีก เช่น เครื่องเติมเงินบัตรโดยสาร

สรุป Pain Point ของ MRT

  • ไม่มีตู้ออกบัตรโดยสารแบบเติมเงิน และไม่สามารถเติมเงินผ่านตู้เองได้ ต้องต่อคิวกับเพื่อเติมเงินกับพนักงาน
  • แอปพลิเคชันสำหรับ MRT ยังคงต้องพัฒนาเช่นเดียวกับ BTS
  • แม้ตู้ออกบัตรรองรับการใช้ธนบัตร แต่บางทีก็เจอสถานการณ์ที่ใช้ไม่ได้ คือรับได้แต่เหรียญ

รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์)

รถเมล์ไทย ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ร้อนหรือรถเมล์แอร์ อาจเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดสำหรับคนกรุงเทพ เริ่มตั้งแต่การเก็บเงินค่าโดยสาร การดูเวลารถ การดูสถานีหรือเส้นทางที่จะลง และยังมีเรื่องของโครงการกล่อง Cash Box หรือกล่องสำหรับคิดค่าโดยสารผ่านการหยอดเหรียญ  และ เครื่องสแกนบัตร E-Ticket เพื่อชำระค่าโดยสาร ที่โครงการล่มอย่างที่เราเห็นกันตามข่าวและไม่ถูกใช้งานจริง ซึ่งยังคงต้องรอต่อไป

สรุป Pain Point รถเมล์

  • ไม่มีแอปฯที่จะสามารถบอกเวลาของรถโดยสารของทุกสาย
  • ป้ายบอกสายรถเมล์ที่ป้ายรถเมล์ไม่ชัดเจน
  • ยังไม่สามารถใชับัตรจ่ายเงินค่าโดยสารได้
  • เครื่องหยอดเหรียญใช้งานจริงไม่ได้

บัตรแมงมุม บัตรเดียวไม่มีอยู่จริง

บัตรที่ทางภาครัฐเคยพยายามดำเนินการ เพื่อเป็นบัตรที่จะสามารถชำระค่าบริการได้ทั้ง BTS MRT BRT หรืออื่น ๆ รวมไปถึงการชำระค่ารถเมล์ ขสมก. เหมือนที่ต่างประเทศมี เช่น Octopus ในฮ่องกง , EZ-Link ที่สิงคโปร์เป็นต้น แต่สุดท้ายแล้วบัตรแมงมุมยังคงแยกกับบัตรแรบบิทของ BTS ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยบัตรแมงมุมสามารถใช้จ่ายค่าโดยสารได้เฉพาะรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงินเท่านั้น ซึ่งแผนที่จะใช้ร่วมกับรถโดยเมล์และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้ในอนาคตยังคงต้องรอกันต่อไป ภาพฝันบัตรเดียวทุกสรรพสิ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศไทยเสียแล้ว

สรุป

สุดท้ายแล้วอะไรคือความล้มเหลวทั้งหมด? ทั้งๆที่เรามีประเทศตัวอย่างที่ใช้เทคโนโลยีอย่างที่เราฝันให้เห็นกันมาอย่างยาวนาน แต่ด้วยระบบของประเทศไทย ที่มีผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน และอาจยังไม่มีการร่วมมือกันอย่างแท้จริง ดังเช่นบัตรแมงมุมที่ไม่สามารถร่วมกับ BTS ได้  หากทุกภาคส่วนยังคงฝันให้ประเทศไทยมีระบบรถโดยสารเหมือนกับต่างประเทศ อาจต้องหันหน้าร่วมมือกัน ให้ความสำคัญกับประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก ในเวลานี้เราเลยยังคงได้แต่ 'รอเทคโนโลยี' กันต่อไป 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...

Responsive image

ทำไม Fastwork ขาดทุนเกือบทุกปี ? ฟังเหตุผลของ CK Cheong

Fastwork เป็นอีกหนึ่งชื่อธุรกิจที่มาแรงในช่วงเวลานี้ ด้วยความไวรัลบนโลกออนไลน์ของผู้บริหาร CK Cheong (ซีเค เจิง) ที่มักทำคลิปให้ทัศนะเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต และธุรกิจ แต่กลับถูกต...

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...