ปีนี้หลายคนคิดว่า Facebook สะบักสะบอมจากกรณี Cambridge Analytica ไปหนักพอสมควร แต่เอาเข้าจริง จากผลประกอบการของ Facebook ในไตรมาสแรก (Q1) ของปี 2018 สะท้อนให้เห็นว่า Facebook ยังไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากกรณีเรื่องข้อมูลที่หลุดออกไปมากนัก ซึ่งทำให้ Facebook ยังยืนลู่ลมได้อย่างสบาย ๆ
แต่เอาเข้าจริง เราลองจินตนาการดูไปข้างหน้าว่า Facebook ในยุคที่พยายามเป็นศูนย์กลางของทุกอย่างในสังคมออนไลน์ หรือ Centralized Social Network รวมรวบฟีเจอร์ทุกอย่างที่ควรมี (Nice to have) ต้องมี (Must Have) ใส่มาครบ
ซึ่งมันให้เราแอบนึกถึงยุคดอทคอม ประมาณปี 2000 ที่มี Portal รวมลิงก์ทุกอย่างไว้ในหน้าแรกมีครบ เกือบ 20 ปีผ่านเทคโนโลยี Web Programming พัฒนาแบบก้าวกระโดดจนทำให้เกิดการพัฒนา Products, Services และ Features ต่าง ๆ ออกมามากมายเกินจะจินตนาการ
ลองไล่ดูเล่น ๆ ใน Facebook ก็จะมี News Feed, Profile, Messenger (แยกไปเป็นอีก Brand หนึ่งแล้ว), Posts, Photos, App & Games, Groups, Pages, Events, Marketplace, Saved, On This Day, Nearby Friends, Offers, Recommendations, Rewards, Greetings, Sports, Weather, Stories, Advertisements, QR Code, Device People, Find Wi-Fi, City Guides, Crisis Response และอื่น ๆ อีกมากมาย
คำถามคือใช้หมดหรือไม่? เชื่อว่าคำตอบของหลาย ๆ ก็คือ ใช้ไม่หมดหรอก ...แต่มีไว้แล้วมันอุ่นใจ (ฮา)
มันเหมือนยุคนั้นอย่างบอกไม่ถูก....
แต่พอลองคิดดูอีกที ก็พบว่าจริง ๆ แล้วหลายฟีเจอร์ที่ Facebook สร้างขึ้นมาก็เพื่อสกัดคู่แข่งไป เช่น Interest Lists (ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว), Stories (เอามาจาก Snapchat) และล่าสุดกับฟีเจอร์ Dating (สื่อต่างประเทศคาดการณ์ว่าเพื่อเอามาแข่งกับ Tinder) เป็นต้น
The Guardian สัมภาษณ์ Jason Calacanis นักลงทุน (Early Investor) ในช่วงเริ่มต้นของ Uber และ Thumbtack ผู้เขียนในหนังสือ "Angel – How to Invest in Technology Startups – Timeless Advice from an Angel Investor Who Turned $100,000 into $100,000,000" ชี้ให้เห็นสองเหตุผลว่าทำไม Facebook ถึงยังไม่ถูกล้ม
ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า การสร้างฟีเจอร์ออกมาเยอะ ๆ ก็เพื่อผู้บริโภค และก็เพื่อสกัดคู่แข่งไปในตัว
Jim Edwards เขียนบทความใน Business Insider ที่ชื่อ "No one thinks this is 'the end of Facebook' ... yet investors sense blood in the water" (ไม่มีใครคิดว่านี่จะเป็นจุดจบของ Facebook แต่ยังไงฉลามอย่างนักลงทุนก็ได้กลิ่นคาวเลือดบ้างแล้ว) โดยระบุว่าไม่มีกฎอะไรที่จะบอกเราได้ว่า Facebook จะยังคงมีความนิยมต่อไปเมื่อไร
Jim กล่าวต่อว่า หลายครั้ง Social Media ในอดีต ก็ไม่ได้ตายเพราะให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ลดลงหรอก แต่เป็นเพราะสังคมในเวลานั้นมองว่า Social Media เดิมที่ใช้อยู่มันไม่เท่ ไม่ Cool เหมือนเดิมแล้ว เช่น Hi5, MySpace, Path, Livejournal เป็นต้น ก็ทำให้คุณและเพื่อน ๆ คุณต้องย้ายมายัง Social Media ใหม่ก็เท่านั้นเอง
ในฐานะผู้บริโภค เราคิดว่าสิ่งที่ Facebook ควรทำก็คือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้เราก็เห็นว่า Facebook กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่ก็ถือเป็นแนวโน้มที่ดี แต่การเป็น Centralized Social Network ที่มีขนาดใหญ่ด้วยหรือเปล่า ทำให้การตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างล่าช้า และตอบสนองต่อปัญหาไม่ได้ในทันที
“เรากำลังพยายามทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดของสิ่งที่เกิดขึ้น และผมคิดว่าผมคำนวณผิดพลาดไป ผมควรจะพูดอะไรบางอย่างออกมาเร็วกว่านี้ แม้ว่าผมจะยังไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด เมื่อพวกเราเริ่มตรวจสอบและเรียนรูุ้ทุกอย่างแล้ว ผมคิดว่าเรากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพียงแค่ว่าเราควรจะจัดการทุกอย่างให้ได้เร็วกว่านี้” Mark Zuckerberg กล่าวในงาน F8 ปีนี้
อย่างไรก็ตาม เรามองว่าสักวันหนึ่งพวกเราหลาย ๆ คนก็ต้องย้ายออกไปยัง Social Media ใหม่ในสักวันหนึ่ง อาจเพราะความแน่นของฟีเจอร์ ความแน่นของผู้ใช้งาน ความแน่นของการโฆษณา ความแน่นของการเก็บข้อมูลผู้ใช้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และอาจเพราะมันไม่ Cool แล้วด้วยก็เป็นได้
จะเป็นไปได้หรือไม่? ถ้าแต่ละแพลตฟอร์มกระจายตัวกัน เป็น Decentralized Social Media ไม่กระจุกอยู่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งจนเกินไป เช่น เก็บรูปทีนึง, เก็บวิดีโอที่นึง, เก็บไฟล์เสียงทีนึง ซึ่งภาพในเวลานี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง
เอาจริง ๆ เราแอบเชียร์ Instagram ในฐานะ Social Media เก็บรูปภาพ ที่ Facebook เลือกเอามาชูเป็น Decentralized Social Media ในอนาคต
และเราคิดว่าในอนาคต คนจะยอมใช้แพลตฟอร์มที่ตรงกับ Lifestyle ตัวเองมากขึ้น ตรงกับสิ่งที่เราอยากจะแชร์มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดในระบบใดระบบหนึ่งในอนาคต
แต่จริง ๆ โจทย์นี้คนแก่ ๆ แบบเราก็เริ่มจะตีบตัน หวังว่าคงมีสักวันที่เกิดในยุค Social Media คงจะคิดออกและหา Solution ได้ว่า Social Media ในอนาคตจะเป็นแบบไหน?
เห็นด้วยหรือเห็นต่างโปรดร่วมแชร์ความคิดเห็นกันครับ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก The Next Web, Business Insider, Vanity Fair, The New York Times และ The Guardian ผสมผสานความเห็นกองบรรณาธิการรวมเข้าไปด้วย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด