The Puzzle Principle เคล็ดลับของไอน์สไตน์ที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น

เมื่อพูดถึงอัจฉริยะระดับโลกอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลายคนอาจนึกถึงสมการซับซ้อนหรือแนวคิดที่เข้าใจยาก แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ วิธีการคิดของไอน์สไตน์นั้นกลับเรียบง่ายและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ หนึ่งในแนวคิดที่สำคัญที่สุดของเขาคือ The Puzzle Principle ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อดังและผู้เขียนหนังสือ Think Again อย่าง Adam Grant และงานวิจัยสมัยใหม่ต่างยืนยันว่า แนวคิดนี้สามารถทำให้เราฉลาดขึ้นได้จริง !

The Puzzle Principle คืออะไร ?

หนึ่งในคำพูดที่โด่งดังของไอน์สไตน์คือ “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่ามันหมายถึงความคิดสร้างสรรค์นั่นมีความสำคัญเหนือกว่าความรู้ความเข้าใจ แต่ความจริงแล้วสิ่งที่ไอน์สไตน์ต้องการสื่อกว้างกว่านั้นมาก เขาไม่ได้มองว่าความรู้ไม่สำคัญ แต่เขามองว่าจินตนาการทำให้เรามีความยืดหยุ่นในการมองปัญหา มันคือการไม่ยึดติดกับคำตอบที่เราคิดว่าถูกต้องและพร้อมจะสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ เหมือนกับการเล่นพัซเซิลที่เราต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

สิ่งที่ทำให้ไอน์สไตน์แตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์หลายคนในยุคเดียวกัน คือเขาไม่มีปัญหากับการยอมรับว่าตัวเองอาจคิดผิด ขณะที่คนอื่นๆ มักจะติดอยู่ในกรอบความเชื่อเดิม ไอน์สไตน์กลับเปิดกว้างและพร้อมจะตั้งคำถามกับทุกสิ่ง แม้แต่ความเชื่อที่ทุกคนมองว่าถูกต้อง

ตัวอย่างเช่น การค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่เปลี่ยนแปลงโลกวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นเพราะไอน์สไตน์ไม่ได้ยึดติดกับแนวคิดเก่าของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้น เขามองปัญหาเหมือนพัซเซิล และเล่นกับมันด้วยมุมมองใหม่ที่แตกต่าง จนค้นพบคำตอบที่ไม่มีใครคาดถึง

ดังนั้น The Puzzle Principle คือ คือการมองปัญหาเหมือนกับเกมปริศนา ที่ต้องใช้การลองผิดลองถูกและความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ คุณไม่จำเป็นต้องรู้ทุกคำตอบตั้งแต่แรก ขอเพียงเปิดใจกว้าง กล้าที่จะตั้งคำถามและยอมรับว่าเราอาจคิดผิดได้บ้าง หลักการนี้ไม่ใช่แค่ช่วยเพิ่มความเฉลียวฉลาด แต่ยังช่วยให้เรามองเห็นมุมมองใหม่ๆ ของปัญหาที่คนอื่นอาจมองข้าม

ความถ่อมตนทางปัญญา คือความฉลาดที่แท้จริง

นักจิตวิทยาชื่อดังอย่าง Adam Grant ยังยืนยันว่าการคิดแบบนี้ช่วยให้คนทั่วไปมีความคิดที่เฉียบคมขึ้น ในหนังสือ Think Again เขาได้ให้แนะนำที่สำคัญไว้ถึง 2 อันได้แก่ 

จงให้ความถ่อมตนสำคัญกว่าความทะนงตัว และความอยากรู้อยากเห็นสำคัญกว่าความมั่นใจ


จงค้นหาว่าคุณอาจผิดตรงไหน ไม่ใช่เพียงหาหลักฐานมายืนยันว่าคุณถูก

นอกจากนี้ตัวอย่างจากงานวิจัยยังพบว่า…

  • งานวิจัยในยุโรปพบว่าธุรกิจที่มองการทำงานเหมือนการแก้พัซเซิล สร้างรายได้เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 500,000 ดอลลาร์ เทียบกับบริษัทที่ทำตามแผนเดิมอย่างเคร่งครัด
  • คนที่แก้ปัญหาด้วยความถ่อมตนทางปัญญามีแนวโน้มตัดสินคุณภาพของข้อมูลได้แม่นยำขึ้น เรียนรู้ได้เร็วขึ้น และเข้าใจปัญหาที่ซับซ้อนได้ดีกว่า

สุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะเป็นใครหรือทำงานอะไร หลักการพัซเซิลของไอน์สไตน์ช่วยให้คุณฉลาดขึ้นได้ เพียงมองปัญหาเหมือนพัซเซิลที่รอให้คุณแก้ไข เปิดใจกว้าง และอย่ากลัวที่จะคิดผิดบ้าง เพราะความคิดที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นจากการยอมรับว่าตัวเองยังไม่รู้ทั้งนั้น

อ้างอิง: inc

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดบทเรียนจาก Steve Jobs ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยแนวคิด “ไม่ลดคน ไม่ตัดงบ”

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2008 หลายบริษัทเลือกที่จะลดขนาดองค์กร ปลดพนักงาน และตัดงบประมาณเพื่อลดความเสี่ยง แต่ Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple กลับสวนกระแส ด้วยแนวคิดที่ว่า “จะเดินหน้...

Responsive image

CEO Shopify ชี้ AI ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทักษะที่ทุกคนต้องมีในองค์กร

บันทึกภายในของ Tobi Lütke ซีอีโอของ Shopify กลายเป็นที่จับตาอย่างมากในวงการเทคโนโลยีและการลงทุน เนื่องจากเขาประกาศชัดว่า “การใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ” คือความสามารถพื้นฐานที่พนักง...

Responsive image

Bill Gates เผย 3 อาชีพที่ AI ยังแทนที่ไม่ได้

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้ออกมาให้ความเห็นว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานหลายอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ยังเป็นคนกำหนดว่าต้องการให้ AI ทำอะไร และงานไหนควรให้มนุษย์ทำ จาก...