หญิงไทยอยู่ตรงไหนในโลกการเมือง? ทำไมผู้หญิงถึงประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจมากกว่า | Techsauce

หญิงไทยอยู่ตรงไหนในโลกการเมือง? ทำไมผู้หญิงถึงประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจมากกว่า

  • ผู้หญิงไทยกำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำในแวดวงธุรกิจ ซึ่งนับว่าโดดเด่นกว่าประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย
  • อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยติดในหนึ่งอันดับที่เลวร้ายที่สุดในโลกด้านความเสมอภาคทางการเมือง
  • การเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้ มีผู้ลงสมัครเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 68 คน มีเพียง 8 คนเท่านั้นที่เป็นผู้หญิง
  • อีกทั้งไม่มีรัฐมนตรีหญิง

กว่า 37 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงในประเทศไทย อยู่ในตำแหน่งผู้นำในโลกธุรกิจ เปรียบเทียบกับทั่วโลกที่โดยเฉลี่ยมีเพียง 24 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยร้อยละ 40 ของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้หญิง และร้อยละ 34 ของเจ้าหน้าที่สตรีได้ขึ้นมาอยู่แนวหน้าในแวดวงการเงิน

ผู้หญิงไทยกำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำในแวดวงธุรกิจ ซึ่งนับว่าโดดเด่นกว่าประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย

อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขข้างต้นจะแสดงว่าผู้หญิงกำลังมีความโดดเด่นในโลกธุรกิจ ซึ่งต่างจากโลกการเมืองอย่างสิ้นเชิง ข้อมูลจาก สหภาพรัฐสภา จัดให้ประเทศไทย มีผู้หญิงในรัฐสภาอยู่ในอันดับ 182 จาก 193 ประเทศ โดยมีผู้หญิงเข้าสภาผู้แทนราษฏรเพียง 13 คนคิดเป็น 5.4% ของ 240 ที่นั่ง

การเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงการขาดความก้าวหน้าในการสนับสนุนสตรีด้านการเมืองเมื่อเทียบกับโลกธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปีนี้ เห็นได้ว่าจำนวนผู้ลงสมัครเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 68 คน จาก 44 พรรค มีเพียง 8 ผู้สมัครเท่านั้นที่เป็นผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม: ส่อง 6 ผู้คร่ำหวอดในวงการเทคโนโลยี สู่บทบาทนักการเมืองไทย

โดดเด่นในโลกธุรกิจ

เมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าว Bloomberg รายงานถึงเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงไทยถึงประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจมากกว่าโลกการเมืองได้อย่างน่าสนใจ โดยได้ทำการสัมภาษณ์หญิงเก่งในโลกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหา การขนส่งสาธารณะ หรืออุตสาหกรรมการผลิต โดยสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงในองค์กรเนื่องจากมี 'วัฒนธรรมของเวิร์กกิ้ง วูแมน' ผ่านการดำเนินธุรกิจครอบครัว ในประเทศไทย ผู้หญิงมักจะทำงานนอกบ้านเสมอ

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ ผู้หญิงมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาขั้นสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น จากรายงาน The Global Gender Gap ของ Grant Thronton และ World Economic Forum รายงานว่า ผู้หญิงไทยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาอันดับหนึ่งของโลก โดยมีโอกาสเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในอัตรา 1.41 คนต่อจำนวนประชากรชาย

ในอดีตผู้ชายจะถูกคาดหวังให้ทำงานหาเลี้ยงครอบครัว เพื่อที่ผู้หญิงจะได้ดูแลงานบ้าน มันเป็นบทบาทที่ฝั่งแน่นในความเชื่อในเรื่องบทบาททางเพศ

ดร.จุรี วิจิตรวาทการ อดีตประธานสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สพบ.) และแนวหน้าด้านการศึกษาด้านสตรีในประเทศไทย กล่าว

การมีส่วนร่วมในครอบครัวของผู้หญิงไทยต่างจากในประเทศอื่น ๆ อย่างกรณีประเทศเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ผู้หญิงยังคงทำงานบ้าน และน้อยคนที่จะทำงานในองค์กร

สตรีมีโอกาสในการเป็นผู้นำในแวดวงธุรกิจ เนื่องจากประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถทำงานร่วมกับผู้ชายในด้านการเงินและในธุรกิจด้านประกัน ขณะที่ผู้หญิงยังคงต้องการการสนุนทางการเมืองจากพรรคการเมือง ในการที่จะเข้าไปในพื้นที่ที่มีผู้ชายเป็นใหญ่ อย่างในสภานิติบัญญัติเอง มีผู้หญิงเป็นสมาชิกเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมีการสนับสนุนผู้หญิงในพื้นที่นี้อยู่

สู่เส้นทางสูงสุดของอาชีพ

คุณกมลวรรณ วิปุลากร วัย 56 ปี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร หลังจากไต่เต้าการทำงานมานานหลายปี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงความสามารถของสตรีไทยในการเป็นผู้นำโลกธุรกิจ โดยเธอเริ่มทำงานจากตำแหน่งเล็กๆ ในบริษัทหลักทรัพย์ หลังจากไต่เส้นทางอาชีพเป็นเวลาหลายปี เธอก็สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรม และสามารถนำบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของประเทศในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้ในที่สุด

ปัจจุบันคุณกมลวรรณดำรงตำแหน่งเป็นซีอีโอของ บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของหนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยหลังจากทำงานได้ 15 ปี ในการเริ่มเส้นทางอาชีพในอุตสาหกรรมการเงินในฐานะนักวิเคราะห์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทจึงลาออก จากนั้นหันมาทำงานในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินที่บริษัท ปิโตรเคมีเป็นเวลาห้าปี จากนั้นเข้ารับตำแหน่งเดียวกันที่บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งประธานในระยะเวลาเพียงสามปี

เรื่องราวของคุณกมลวรรณถือเป็นสิ่งสะท้อนองค์กรไทย ประเทศที่มีถือว่ามีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการที่ผู้หญิงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม และมีตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสมากกว่า 1 ใน 3

หัวเรือใหญ่ในธุรกิจครอบครัว

มาดูอีกตัวอย่างของผู้หญิงที่สืบทอดธุรกิจของครอบครัวของคุณสุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม ผู้ดำรงตำแหน่งซีอีโอบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด โดยผู้หญิงที่สืบทอดกิจการครอบครัวนับว่ามีจำนวนมากในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีผู้หญิงขึ้นเป็นผู้นำ

บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ก่อตั้งโดยคุณหญิงภัทรา สิงหกกะ (คุณยายของคุณสุภาพรรณ) เริ่มดำเนินขนส่งสาธารณะทางน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2514 คุณสุภาพรรณในวัย 74 ปี เป็นตัวแทนผู้หญิงรุ่นที่สามที่ดำเนินธุรกิจครอบครัว

คุณสุภาพรรณดำเนินการควบคุมบริษัทเต็มตัวหลังจากที่คุณแม่เสียชีวิต โดยกล่าวว่านี่คือ "หน้าที่" ในการดูแลธุรกิจที่คุณยายและคุณแม่ได้อุทิศชีวิตให้ อีกทั้งการบริหารบริษัทเรือข้ามฟากยังเป็น "บริการขนส่งสาธารณะ" แม้ว่าจะได้กำไรไม่มากนักก็ตาม

เธอได้พัฒนาบริษัทเรือข้ามฟากแม่น้ำเล็ก ๆ ในกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นกลุ่มบริษัทใหญ่ให้บริการผู้โดยสารกว่า 17 ล้านคนต่อปี ขายพื้นที่โฆษณาบนเรือ และดำเนินการท่าเรือให้บรรดาห้างสรรพสินค้า โรงแรม และร้านอาหาร

ในตอนนี้ผู้ที่อยู่ลำดับถัดไปของบริหารคือผู้เป็นลูกสาวอย่างคุณณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม

กลับสู่ตลาดแรงงานหลังจากมีบุตร

"อีกหนึ่งปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้หญิงไทยในแวดวงธุรกิจ เป็นเพราะผู้หญิงยังคงกลับเข้ามาทำงานหลังจากมีบุตร ต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่จำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานลดลง นอกจากนี้ยังเป็นเพราะโครงสร้างครอบครัวของไทย ที่ปู่ย่าตายายมักอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และยังคงช่วยสนับสนุนงานในบ้านของสมาชิกอื่นในครอบครัว นี่เองที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงในสังคมไทยยังคงกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน" คุณแอนนา-การิน แจตฟอร์ส ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาคขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติในเอเชียและแปซิฟิก กล่าว

ด้านดร.จุรี ได้ให้ความเห็นถึงบทบาทของสตรีในด้านการเมืองไทยว่า

ในด้านการเมืองกลับไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีเรื่องของโครงสร้างพรรคการเมือง จะเห็นได้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ทางการเมืองในอดีตเป็นที่ของผู้ชายมาแต่ไหนแต่ไร ต่างจากโลกธุรกิจที่ผู้หญิงสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ตั้งแต่เริ่มต้น

คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริษัทโตชิบาประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหญิงคนแรก และเคยเป็นหนึ่งในสามของคณะรัฐมนตรีหญิง เธอกล่าวว่าความแตกต่างที่สำคัญระหว่างโลกธุรกิจและการเมืองในประเทศไทยคือ 'การขาดการสนับสนุน' แม้ว่าเธอต้องการเห็นผู้หญิงในโลกโลกธุรกิจมากขึ้นเช่นกัน

"จากประสบการณ์ ฉันเห็นทั้งผู้หญิงที่ดูแลทั้งธุรกิจและงานในบ้าน แต่บางครั้งเราก็ยอมให้ผู้ชายพูดแทนในที่ประชุม" คุณกอบกาญจน์กล่าว

เช่นเดียวกับคุณกอบกาญจน์ ดร.จุรี ผู้ที่เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 กล่าวว่า "รัฐสภาเป็นสถานที่ที่โดดเดี่ยวสำหรับผู้หญิง เพราะมันเป็นเรื่องง่ายกว่าสำหรับผู้ชายในการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตร"

 

อ้างอิงเนื้อหาข่าวจาก: Bloomberg: Thailand's Women Are So Successful in Business (But Not Politics)

ภาพหน้าปกจาก: Bold Content/Flickr

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดลิสต์ 9 หนังสือเล่มโปรด ของ Sam Altman ที่แนะนำให้ทุกคนอ่าน

บทความนี้รวบรวม 9 หนังสือเล่มโปรดที่ Sam Altman แนะนำ ที่เต็มไปด้วยมุมมองและแรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากหนังสือเหล่านี้ ที่จะช่วยให้คุณมองโลกได้กว้างขึ้น พร้อมตั้งคำถามที่ท้าทายความค...

Responsive image

20 อาชีพทางไกลที่เติบโตเร็วที่สุด คาดโตเกิน 17% ในปี 2025

จากผลสำรวจของ FlexJobs ในปี 2024 พบว่า 81% ของคนทำงานในสหรัฐฯ มองว่าการทำงานแบบรีโมทเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการหางานใหม่ แต่ที่น่าสนใจ คือมีคนจำนวนมากวางแผนที่จะลาออกในปีนี้ แต...

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...