ส่องไอเดีย Biofase ไบโอพลาสติกจากเมล็ดอะโวคาโด ย่อยสลายเร็ว แข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไป | Techsauce

ส่องไอเดีย Biofase ไบโอพลาสติกจากเมล็ดอะโวคาโด ย่อยสลายเร็ว แข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไป

อะโวคาโดกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทั่วโลก โดยชาวเม็กซิโกบริโภคอะโวคาโดต่อหัวอยู่ที่ 8.1 กก. ยุโรป 1.33 กก. และสหรัฐอเมริกา 3.8 กก. 

รวมถึงยังกลายเป็นวัตถุดิบที่ร้านอาหารหลาย ๆ ร้านต้องการ ความนิยมเหล่านี้ส่งผลให้เกิดขยะจากชิ้นส่วนของอะโวคาโดที่คนไม่กิน อย่าง เมล็ด

หากปล่อยเมล็ดเหล่านี้ทิ้งไปก็จะกลายเป็นขยะ และไปจบลงที่การฝังกลบ บริษัทท้องถิ่นในเม็กซิโกอย่าง Biofase จึงผุดไอเดียนำเมล็ดอะโวคาโดมาเปลี่ยนเป็น Bioplastics เพื่อลดขยะจากอะโวคาโดและขยะพลาสติก

จุดเริ่มต้นของ Biofase

รูปภาพจาก unfuct.earth 

Scott Munguia วิศวกรเคมีผู้ก่อตั้ง Biofase พบว่าวงจรการผลิตและบริโภคอะโวคาโดสร้างขยะมากมายภายในประเทศ รวมถึงมองว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกพยายามหาทางแก้ไขกันมาตลอด 

จากผลสำรวจ ทั่วโลกทิ้งขยะพลาสติกประมาณ 350,000,000 เมตริกตันต่อปี และมีเพียงไม่ถึง 10% ที่นำมารีไซเคิล Bioplastics หรือพลาสติกชีวภาพ จึงเป็นทางออกที่ดีต่อทั้งเม็กซิโกและโลก 

Munguia เริ่มตั้งสมมติฐานจากไอเดียของคนอื่นที่นำข้าวโพดหรือมันฝรั่งมาทำ Bioplastics เขาคิดว่าเมล็ดอะโวคาโดก็มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งน่าจะทำได้

หลังจากวิจัยและพัฒนาจนค้นพบว่าโมเลกุลพืชในเมล็ดอะโวคาโดสามารถนำมาผลิต Bioplastics ได้ จึงเริ่มก่อตั้งบริษัท Biofase ในปี 2013 เพื่อผลิตและขายสินค้าจาก Bioplastics และจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีนี้ของบริษัท

นอกจากนี้ความแตกต่างของ Bioplastics ที่บริษัทเน้นย้ำอยู่เสมอก็คือ พลาสติกของ Biofase ไม่ได้ทำมาจากแหล่งอาหาร เช่น ข้าวโพดหรือมันฝรั่ง เราเลือกใช้วัตถุดิบจากชิ้นส่วนที่ไม่เป็นที่ต้องการเท่านั้น

สินค้าของ BIOFASE

รูปภาพจาก 4eco.uk.com

สินค้าที่ผลิตมาจาก Bioplastics ของบริษัทจะเป็นของใช้ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ที่โดยปกติแล้วมักจะถูกผลิตด้วยพลาสติกธรรมดา เช่น ช้อนพลาสติก ส้อมพลาสติก มีดพลาสติก และหลอดพลาสติก ซึ่งการใช้ Bioplastics ก็ให้ทั้งความคงทนมากกว่าการใช้กระดาษ และย่อยสลายไวกว่าการใช้พลาสติกแบบธรรมดานั่นเอง

ประโยชน์ของ Bioplastics จากเมล็ดอะโวคาโด

  • ย่อยสลายเร็ว ใช้เวลาในการย่อยสลายเพียง 240 วัน (8 เดือน) พลาสติกปกติใช้เวลาถึง 500 ปี

  • ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง ทำให้ปล่อยมลพิษน้อยลงไปด้วย

  • มีสารปนเปื้อนน้อย เพราะผลิตมาจากเมล็ดพันธุ์ธรรมชาติ

  • ทนความร้อนและเย็น ได้ถึง 10℃-115℃

  • แข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไป

อ้างอิง: nostalgiademexico, worldbiomarketinsights, businessinsider


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...