Sustainability ไม่ใช่แค่เทรนด์อีกต่อไป แต่คือก้าวใหม่ของทุกองค์กรในการสร้างโลกที่ดีขึ้น | Techsauce

Sustainability ไม่ใช่แค่เทรนด์อีกต่อไป แต่คือก้าวใหม่ของทุกองค์กรในการสร้างโลกที่ดีขึ้น

สรุป Key Takeaways จากงาน MEGA TECH FORUM 2022 by Techsauce ในหัวข้อ How We Can Build the Better World Together with Sustainable Innovation กับสองผู้เชี่ยวชาญ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์อีกทั้งยังเป็น Country Director จาก SB Thailand และคุณ Paul Ark Partner & Head of ESG (Environmental, Social, Governance) จาก Gobi Partners 

การตื่นตัวของทั่วโลกในด้าน Sustainability 

ดร. ศิริกุล ได้เล่าว่าที่ผ่านมาผู้คนมองเรื่องของความยั่งยืนเป็นเพียงแค่เทรนด์ แต่ทุกวันนี้เราควรมองเรื่องนี้เป็นเป้าหมายที่ต้องร่วมมือกันสร้างให้สำเร็จมากกว่า ก่อนหน้านี้พอพูดถึงเรื่อง sustainability ทุกคนจะนำไปทำงานต่อในรูปแบบของโปรเจ็คเล็ก ๆ ในขณะที่ทุกวันนี้มันถูกผสานรวมเข้าไปในองค์กรเล็กและใหญ่กลายเป็นเป้าหมายที่ต้องเกิดขึ้นแทน มีหลายคนบอกว่ากระแสนี้เกิดขึ้นจากการมีโรคระบาด 

แต่สำหรับ ดร. ศิริกุล มองว่าการระบาดใหญ่ครั้งนี้ให้มุมมองใหม่กับเราเป็นเหมือนการตื่นขึ้น เพราะไม่เคยมีช่วงเวลาไหนในอดีตที่องค์กรต้องปรับตัวและเอาจริงเอาจังกับเรื่องของความยั่งยืนขนาดนี้ นี่คือการที่เราทุกคนต้องร่วมมือกัน ในอดีตเราพูดคุยกันเรื่อง Net Zero แต่ด้วยยุคสมัยตอนนี้ที่เรามี นวัตกรรม มีเทคโนโลยี เราถึงเวลาที่จะพูดกันในเรื่องของ Net Positove แล้ว ไม่ใช่พูดเรื่องหยุดการทำสิ่งไม่ดีให้น้อยลงแต่เริ่มพูดถึงการทำสิ่งที่ดีมากขึ้น และถึงเวลาแห่งการร่วมมือกันอย่างจริงจังแล้วด้วย เราต้องทำงานร่วมกันทั้งฝั่งลูกค้าและผู้ผลิต ทุกวันนี้เรื่องของ sustainablility เป็นงานของทุกภาคส่วนในการที่ร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกัน เพราะว่า innovation ที่ไม่มี sustainability ก็ไม่มีความยั่งยืนที่แท้จริง สองสิ่งนี้ต้องเกิดขึ้นควบคู่กัน 

คุณ Paul เสริมต่อว่า ที่ผ่านมาเวลาพูดถึงการทำธุรกิจในระดับโลก ก็ต้องมีการเรียนในด้านธุรกิจระหว่างประเทศ แต่ทุกวันนี้เราเข้าใจกันหมดว่าธุรกิจสามารถอยู่ในระดับโลกได้หมด เพราะทุกอย่างเชื่อมต่อกัน ย้อนไปเมื่อตอนกลับมาที่ไทยหลายปีก่อนทุกคนพูดถึง innovation และ disruption และยังมีการแยกหน่วยเหล่านี้ออกมาจากตัวธุรกิจหลักด้วย แต่กลายเป็นว่าทุกวันนี้เรื่องของ innovation หลอมลวมลงไปในทุกธุรกิจโดยธรรมชาติ และกลับมาที่ปัจจุบันที่เห็นได้ว่าทุกบริษัทกำลังพูดถึงเรื่องของ sustainability มีการมอบหมายงานให้บุคคลากรทำในด้านนี้ และคิดว่านี่คือเรื่องที่ยังมีคนทำน้อย 

แต่ต่อจากนี้อีก 10 ปีบริษัทคงไม่มาพูดถึงเรื่อง sustainability เช่นนี้อีกแล้ว เพราะทุกบริษัทจะเข้าสู่เรื่องของ sustainability และ innovation อย่างเป็นธรรมชาติ นี่ไม่ใช่เทรนด์แต่คือการค่อย ๆ ไปปรับเปลี่ยน เหมือนกระแสอื่น ๆ ที่ตอนแรกเริ่มเป็นเพียงการเรียกร้องอย่าง  Black Lives Matter และอีกหลากหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ รายได้ ความเท่าเทียม และทุกวันนี้ที่เราพูดกันคือภาวะโลกร้อน นี่เป็นเหมือน S curve ของธุรกิจ เพราะว่าปัญหาต่าง ๆ กำลังจะถึงจุดเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดแนวคิดแบบ ESG และสำหรับการทำงานทุกวันนี้ และทางคุณ Paul เองก็ได้มีการนำแนวคิด (Environmental, Social, Governance : ESG) ไปปรับใช้อย่างจริงจัง พร้อมทั้งผลักดันให้ทั้งฝั่งทีมที่ทำงาน ไปจนถึงลูกค้า และเครือข่ายยึดหลักปฏิบัตินี้ร่วมกันด้วย 

สร้าง Sustainability อย่างแท้จริงและไม่ใช่แค่การทำ CSR แบบเดิม ๆ 

ถ้าเราคิดไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในโลก ณ ปัจจุบันนี้ อย่างการบริโภคและผลิตที่เกินความจำเป็น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำการตลาดและพยายามขายสินค้าของธุรกิจที่ไม่ได้ใส่ใจมากนักในเรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้นเราคือส่วนหนึ่งของปัญหา ในฐานะคนทำธุรกิจและคนสร้างแบรนด์จึงต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา สำหรับวิธีการต้องเริ่มที่การตั้งเป้าหมายที่มีประโยชน์กับสังคม อะไรคือเหตุผลที่องค์กรของคุณมีอยู่ อะไรคือสิ่งที่คุณอยากจะแบ่งปันให้กับผู้คนในสังคมและเครือข่ายของคุณ ในฐานะผู้นำองค์กรหรือทีมบริหารคุณจะต้องแชร์ข้อมูล เป้าหมายและปรับสิ่งเหล่านั้นสู่นโยบายเพื่อปั้นแผน CSR ที่มีประสิทธิภาพ 

ดร. ศิริกุล กล่าวในฐานะที่ปรึกษาการสร้างแบรนด์ สิ่งสำคัญคือแบรนด์ได้เป็นตัวแทนในการสื่อสารที่ชัดเจน ต้องสามารถขับเคลื่อนความหมายของ sustainability ได้ และเป็นตัวแทนในการรวบรวมทุกหน่วยเข้าด้วยกันในการจะร่วมกันทำงานในเป้าหมายเดียวกัน ก่อนหน้านี้เคยได้มีการพูดคุยกับคุณ Paul ว่าเราจะแก้ปัญหาในด้านการทำ CSR เพียงผิวเผินได้อย่างไร เลยคิดว่าจะต้องเจาะลึกไปในเรื่องการสื่อสารจนไปถึงการทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง เมื่อแน่ใจแล้วก็ไปดูผลิตภัณฑ์และบริการต่อว่าสิ่งที่เรามอบให้ลูกค้าเข้าถึงพวกเขาหรือไม่ ไม่ใช่แค่การบอกว่าเรากำลังพัฒนาด้วยแนวคิดแบบ ESG แต่ในขณะที่สินค้าที่ออกมาแตกต่างจากวิธีคิด อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าถึงเวลาที่ธุรกิจจะต้องตื่นขึ้นและสร้างเป้าหมายอย่างชัดเจน และจะต้องมีระบบการทำงานที่สามารถตรวจสอบและวัดผลได้ ต้องมีรายงานและต้องสามารถแชร์ข้อมูลได้ตลอดเวลา สำหรับดร. ศิริกุล นี่ไม่ใช่ยุคของการรอจนทุกอย่างสมบูรณ์แบบแต่เป็นการดูการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมุ่งเน้นไปที่กระบวนการ 

และในส่วนของการปรับใช้ในธุรกิจขนาดเล็กและ Startup ถ้าคุณอยากจะจริงจังกับเรื่อง sustainability คุณสามารถทำได้เลย เพราะว่าสุดท้ายแล้ว sustainability เป็นเรื่องของ mindset ไม่ใช่เรื่องของเงิน ไม่ใช่แค่การสร้างภาพลักษณ์แต่คือการมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ความสำคัญของ ESG ในองค์กรและการเป็นหนึ่งในประเด็นการตัดสินใจของนักลงทุน 

เทรนด์ที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ ESG เข้าไปเป็นหนึ่งในการตัดสินใจลงทุน มีกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ของโลกที่ได้ทำการศึกษาในการที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าด้วยการใช้ ESG frameworks ประกอบการตัดสินใจ โดย Blackrock ได้ปล่อยโปรเจ็คที่ระบุว่าในปี 2025 กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่ม Global Equity จะลงทุนโดยมีการประเมินจาก ESG เรียกง่าย ๆ ว่าใน 40 ดอลลาร์จากทุก 100 ดอลลาร์จะมีการเอาไปลงทุนในบริษัทที่มีผลประกอบการ ESG ถ้าแบ่งออกตามภูมิภาคเราจะเห็นความแตกต่าง ถึงแม้ในเอเชีย ESG จะใหม่มากๆ แต่จะเห็นว่ามีการลงทุนในหนึ่งในทุกห้าบริษัทที่มีการใช้ ESG และคาดว่าจะมีการลงทุนในด้านนี้เพิ่มมากขึ้นสองเท่าในไม่กี่ปีข้างหน้า 

ดังนั้นเมื่อเห็นแบบนี้ หากคุณเป็นบริษัทและอยากได้รับการลงทุนควรคำนึงถึงการนำเอา ESG มาปรับใช้ และ ESG ไม่ใช่แค่การสร้างภาพแล้วแต่เราทำเพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงให้คนเห็นว่าเราทั้งสร้างรายได้และรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ซึ่งนี่ไม่ใช่แค่การบอกคนอื่นว่าเราทำสิ่งที่ดีอยู่เท่านั้นแต่เป็นการที่เรานำเอาประเด็นสังคม สิ่งแวดล้อม และความโปร่งใสเข้าไปทำงานอย่างจริงจังส่งผลให้บริษัทยิ่งมีผลประกอบการที่ดีและยั่งยืนขึ้น 

คุณ Paul ยังพูดถึงกรณีศึกษาที่ได้ยินมาว่า บริษัทต่าง ๆ กำลังเจอเรื่องหุ้นตกหรือผลประกอบการตกต่ำอยู่เป็นผลมาจากการที่บริษัทไม่ใส่ใจในเรื่อง ESG เนื่องจากนักลงทุนทุกวันนี้มองหาบริษัทที่มีวิธีการทำงานอย่างยั่งยืน โดยหวังว่าจากนี้จะได้ยินคำอย่าง ESG discount หรือ ESG premiums และอื่น ๆ ให้องค์กรไปปรับใช้ และกลายเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจ ปรับจากการเพียงแค่ nice to have เป็น must have ในเร็ว ๆ นี้ 

การเติบโตของ ESG และ Sustainability ในไทย 

ในฝั่งของตลาดยุโรปและอเมริกาเหรือนั้นถือว่าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และกำลังจะเริ่มเข้ามาปรับใช้มากขึ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิก อีกด้านหนึ่งคือทุกวันนี้นักลงทุนไม่ได้มองหาแค่รายงานทางด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังขอดูเพิ่มเติมในส่วนของรายงานด้าน sustainability ทำให้บริษัทต่างเรียนรู้ที่จะต้องเตรียมพร้อมในการจะมีรายงานด้านความยั่งยืนหากพวกเขาต้องการที่จะลงไปอยู่ในตลาดที่ใหญ่ หลายบริษัทเอกชนเริ่มนำ ESG ไปปรับใช้ ถึงแม้จะยังอยู่ในจุดเริ่มต้นแต่ก็ได้เห็นการปรับใช้เพิ่มขึ้น 

ในฐานะนักลงทุนในเอเชียนี่คือสิ่งใหม่ และกำลังจะค่อย ๆ เข้ามาในเอเชีย เราอาจจะกำลังตามหลังทางฝั่งยุโรปและอเมริกาอยู่แต่ก็กำลังจะมีสิ่งใหม่มาแน่ เพราะฉะนั้นตอนนี้คือการค่อย ๆ นำเสนอแนวคิด ESG เข้าไปในนักลงทุนเอเชีย เริ่มตั้งแต่การสร้างความตื่นตัวในเรื่องนี้ เพราะเราไม่ใช่แค่ต้องการเลียนแบบฝั่งยุโรปมาทั้งหมดแต่ต้องการรูปแบบที่เหมาะสมกับเอเชีย ดังนั้นมีสิ่งที่ Gabi ทำอยู่คือการให้ความรู้ ปรับพื้นฐานให้กับเครือข่ายนักลงทุนรวมไปถึงผู้ประกอบการและ Startup 

การวัดผลและประเมิน Sustainability ในองค์กร 

เวลาที่ให้คำแนะนำกับแบรนด์ต่าง ๆ สิ่งที่มักจะเป็นคำถามเสมอคือคุณจะต้องประเมินผลกระทบที่คุณสร้างให้ได้ อันดับแรกต้องประเมินในรูปแบบที่มีพื้นฐานบนวิทยาศาสตร์ เช่น มีตัวเลขของการใช้คาร์บอนไดออกไซต์ ไม่ใช่แค่การพูดแบบกว้าง ๆ และวัดค่าไม่ได้ เพราะนี่เป็นเรื่องสำคัญหากคุณจะรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและสังคม 

การมีส่วนร่วมของเทคโนโลยีและ Sustainability

คุณ Paul มองว่า ต้องแยกออกก่อนว่าเรื่องของความยั่งยืนและเทคโนโลยีนั้นคือคนละส่วน เพราะ sustainability เป็นเรื่องของวัฒนธรรม การตื่นตัวของผู้คน ความเข้าใจ รวมไปถึงความต้องการจะเปลี่ยนแปลง เราไม่ได้ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อจะส่งเสริมด้าน sustainability เสมอไป ทุกอย่างเป็นเรื่องของแนวคิด มุมมองที่ผู้คนมีต่อโลกใบนี้ ความท้าทายคือ sustainability เป็นประเด็นที่กว้างมาก หลายคนนำมาปรับใช้ทั้งที่ยังไม่เข้าใจเรื่องของ CSR และ ESG อย่างแท้จริงว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ทำให้เกิดการทำ CSR แบบไม่ยั่งยืนขึ้น ESG นั้นเชื่อมโยงได้ในทุกองค์กร 

และหากทุกคนจริงจังพร้อมทำความเข้าใจกับปัญหาอย่างแท้จริง ผู้คนก็จะเริ่มมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสาธารณะสุขหรือการศึกษา พวกเขาจะสามารถเชื่อมโยงมันเข้ากับเรื่อง sustainability ได้ ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็น Stratup ในด้านใดก็ตามหากคุณมองปัญหาด้วยวิธีการมองแบบ sustainability คุณจะมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีความเป็นไปได้ จากนั้นถึงจะเริ่มมีการค่อย ๆ นำเทคโนโลยีเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อสร้างเครื่องมือหรือวิธีการ เพรราะฉะนั้นเมื่อพูดถึง sustainability จะไม่มาเริ่มต้นที่เรื่องเทคโนโลยี เนื่องจากประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและวิธีในการมองปัญหา 

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี ดร.ศิริกุล มีความเห็นว่าเทคโนโลยีมีส่วนอย่างมากในการสร้าง sustainability เพราะเข้ามาช่วยแบรนด์ในการปรับตัวและช่วยในการเรียนรู้เก็บเกี่ยวข้อมูลของผู้คน ทุกวันนี้ที่ SB (Sustainable Brands) เราได้สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า BTR (Brand Transformation Roadmap) เพื่อช่วยเป็นแบบประเมินในรูปแบบออนไลน์ว่าแบรนด์ของคุณอยู่ระดับใดในการพัฒนาไปสู่ความเป็น sustainability นี่คือส่วนหนึ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนแบรนด์ในการผลักดัน  sustainability นอกจากนี้เทคโนโลยียังส่วนในการเข้ามาผลักดันในด้านความโปร่งใสด้วยเพราะยังสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาตรวจสอบการทำงานและกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด 

และสุดท้ายเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการติดตามแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเราสามารถเก็บข้อมูลเพื่อเข้ามาสนับสนุนการทำการตลาดและสร้างแบรนด์ ทั้งหมดนี้คือการนำเอาเทคโนโลยีมาร่วมผลักดันให้เกิด sustainability ด้วยเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น และสำคัญที่สุดคุณไม่สามารถเป็นแบรนด์ที่มีความหมายและน่าจดจำสำหรับผู้บริโภคได้หากคุณไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุป 35 ความเสี่ยงจาก Global Risks Report 2025 ที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม

เจาะลึก Global Risks Report 2025 โดย World Economic Forum วิเคราะห์ 35 ความเสี่ยงระดับโลกที่สำคัญ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และเทคโนโลยี พร้อมแนวโน้มสำคัญในปี 2025, 2027 แ...

Responsive image

บางจาก ได้สินเชื่อรายแรกในไทย 6,500 ล้านบาทเพื่อพัฒนา SAF จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี มอบสินเชื่อ 6,500 ล้านบาท สนับสนุนบางจากฯ พัฒนาโครงการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) แห่งแรกในไทย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด 80% เพื่อเป้าหมาย Net Zero 20...

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...