เปิด 'Global Risks Report 2023' ให้รู้กันไปว่า โลกกับไทยแบก 'ความเสี่ยง' ด้านไหนอยู่ | Techsauce

เปิด 'Global Risks Report 2023' ให้รู้กันไปว่า โลกกับไทยแบก 'ความเสี่ยง' ด้านไหนอยู่

ไม่ใช่ทุกคน ทุกองค์กร ที่จะแบกรับความเสี่ยงได้ ยิ่งทุกชีวิตยึดโยงอยู่กับการพึ่งพาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรโลกด้วยแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์คาดการณ์อนาคต ซึ่งช่วยบ่งชี้ภาพความเป็นไปได้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไปจนถึงการตระเตรียมหนทางหากเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้น (Worst-case scenario) ดังที่ปรากฏในรายงานเล่มล่าสุด The Global Risks Report 2023 18th Edition ที่ World Economic Forum ร่วมกับ Marsh McLennan and Zurich Insurance Group จัดทำขึ้น 

Global Risks Report 2023

ความเสี่ยงที่ปรากฏใน The Global Risks Report 2023

รายงาน The Global Risk Report 2023 มาจาก Global Risks Perception Survey (GRPS) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลด้านความเสี่ยงของ World Economic Forum 

อธิบายก่อนว่า GRPS เป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาพรวมด้านความเสี่ยงทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,200 คน ทั้งจากสถาบันการศึกษา ธุรกิจ รัฐบาล ชุมชนระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคม ในช่วงระหว่างวันที่ 7 กันยายน ถึง 5 ตุลาคม 2022 (GRPS 2022-2023) 

ทั้งนี้ ความเสี่ยงถูกจัดออกเป็น 5 กลุ่ม และในแต่ละกลุ่มยังแยกย่อยไปอีกหลายหัวข้อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ด้านเศรษฐกิจ (Economic) - สีฟ้า
  2. ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) - สีเขียว 
  3. ด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) - สีส้ม
  4. ด้านสังคม (Societal) - สีแดง
  5. ด้านเทคโนโลยี (Technological) - สีม่วง

Global Risks Report 2023จะเห็นว่า ความเสี่ยงในแต่ละหัวข้อนั้นสัมพันธ์กันและเชื่อมโยงข้ามกลุ่ม | Source : The Global Risks Report 2023

ความเสี่ยงระดับโลก ในรายงานฉบับนี้ ถือเป็น 'ความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์หรือสภาวการณ์ต่างๆ' ซึ่งถ้าความเสี่ยงนั้นๆ เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสัดส่วนจีดีพีโลก ประชากร หรือทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังนำ แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร (EOS: Executive Opinion Survey) จาก World Economic Forum ซึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจกว่า 12,000 ราย ที่ร่วมระบุความเสี่ยงซึ่งเป็นภัยคุกคามรุนแรงที่สุดของแต่ละประเทศภายใน 2 ปีข้างหน้า

มองในบริบทของ GRPS สิ่งที่ได้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับข้อกังวลและลำดับความสำคัญที่ต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเป็น 'Hotspot' ที่อาจเกิดขึ้น และจาก 5 กลุ่มข้างต้น สามารถระบุความเสี่ยงออกมาเป็น 32 ข้อ ดังนี้

Source : The Global Risks Report 2023, WEFจากการประเมิน 'ประสิทธิภาพการบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านต่างๆ' การรับรู้ความล้มเหลวในการบรรเทาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อยู่ในระดับที่ต่ำมาก

  1. การเข้าโจมตีของผู้ก่อการร้าย
    (Terrorist attacks)
  2. โรคติดเชื้อ 
    (Infectious diseases)
  3. การทำลายโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่สำคัญ 
    (Breakdown of critical information infrastructure)
  4. ฟองสบู่สินทรัพย์แตก 
    (Asset bubble bursts)
  5. โรคเรื้อรังและสภาวะสุขภาพ
    (Chronic diseases and health conditions)
  6. การใช้อาวุธทำลายล้างที่มีอานุภาพสูง 
    (Use of weapons of mass destruction)
  7. ความล่มสลายหรือการขาดโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ 
    (Collapse or lack of public infrastructure and services)
  8. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเป็นเวลานาน 
    (Prolonged economic downturn)
  9. ผลที่เกิดขึ้นโดยไม่พึงประสงค์จากการใช้เทคโนโลยีแถวหน้า 
    (Adverse outcomes of frontier technologies)
  10. กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายขยายตัวมากขึ้น
    (Proliferation of illicit economic activity)
  11. อาชญากรรมไซเบอร์และความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แพร่หลายยิ่งขึ้น
    (Widespread cybercrime and cyber insecurity)
  12. วิกฤตการจ้างงาน 
    (Employment crises)
  13. ความล่มสลายของรัฐหรือการไร้เสถียรภาพอย่างรุนแรง
    (State collapse or severe instability)
  14. ความไม่เท่าเทียมทางดิจิทัลและการขาดโอกาสเข้าถึงบริการดิจิทัล
    (Digital inequality and lack of access to digital services)
  15. ความล่มสลายของระบบอุตสาหกรรมสำคัญหรือห่วงโซ่อุปทาน 
    (Collapse of a systemically important industry or supply chain)
  16. ความล้มเหลวในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา
    (Failure to stabilize price trajectories)
  17. วิกฤตหนี้ 
    (Debt crises)
  18. ความขัดแย้งระหว่างรัฐ 
    (Interstate conflict)
  19. ความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันพหุภาคีและความร่วมมือในระดับประเทศ
    (Ineffectiveness of multilateral institutions and international cooperation)
  20. การเผชิญหน้าทางภูมิเศรษฐศาสตร์ 
    (Geoeconomic confrontation)
  21. ความเข้มข้นจริงจังในการใช้พลังดิจิทัล 
    (Digital power concentration)
  22. สุขภาพจิตย่ำแย่ขั้นรุนแรง
    (Severe mental health deterioration)
  23. เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้สภาพแวดล้อมเป็นวงกว้าง 
    (Large-scale environmental damage incidents)
  24. วิกฤตค่าครองชีพ 
    (Cost-of-living crisis)
  25. การย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจของผู้คนจำนวนมาก
    (Large-scale involuntary migration)
  26. การแตกความสามัคคีในสังคมและการแบ่งขั้วทางสังคม 
    (Erosion of social cohesion and societal polarization)
  27. หายนะจากภัยธรรมชาติและเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงแบบสุดขั้ว
    (Natural disasters and extreme weather events)
  28. วิกฤตทรัพยากรธรรมชาติ 
    (Natural resource crisis)
  29. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการล่มสลายของระบบนิเวศ 
    (Biodiversity loss and ecosystem collapse)
  30. การรับรู้ข้อมูลผิดๆ และการบิดเบือนข้อมูล
    (Misinformation and disinformation)
  31. ความล้มเหลวในการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 
    (Failure of climate-change adaption)
  32. ความล้มเหลวในบรรเทาความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ 
    (Failure to mitigate climate change)

'สิ่งแวดล้อม' ตกอยู่ในความเสี่ยงทั้งระยะสั้นและระยะยาว

Global Risk Report 2023Source : The Global Risks Report 2023

ความเสี่ยงระยะสั้น 5 อันดับแรก 

จากการให้ผู้ตอบแบบสำรวจประเมินผลกระทบเชิงลบ (รุนแรงที่สุด) ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 ปี หรือ 'ความเสี่ยงระยะสั้น' พบว่ากระจายอยู่แทบทุกด้าน ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี โดย 5 อันดับแรก ได้แก่

  • อันดับ 1 วิกฤตค่าครองชีพ 
  • อันดับ 2 หายนะจากภัยธรรมชาติและเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงแบบสุดขั้ว 
  • อันดับ 3 การเผชิญหน้าทางภูมิเศรษฐศาสตร์ 
  • อันดับ 4 ความล้มเหลวในบรรเทาความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ
  • อันดับ 5 การแตกความสามัคคีในสังคมและการแบ่งขั้วทางสังคม 

ความเสี่ยงระยะยาว 5 อันดับแรก

ด้านความเสี่ยงในอีก 10 ปีข้างหน้า (2033) ซึ่งถือเป็น 'ความเสี่ยงระยะยาว' คาดว่า ผลกระทบเชิงลบจะเทไปที่ สิ่งแวดล้อม ถึง 4 อันดับแรก เราจึงต้องตระหนักและใส่ใจสภาพแวดล้อมให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนี้

  • อันดับ 1 ความล้มเหลวในบรรเทาความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ
  • อันดับ 2 ความล้มเหลวในการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • อันดับ 3 หายนะจากภัยธรรมชาติและเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงแบบสุดขั้ว
  • อันดับ 4 การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการล่มสลายของระบบนิเวศ 
  • อันดับ 5 การย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจของผู้คนจำนวนมาก

Top 5 ความเสี่ยงของประเทศไทย บอกเลย...ใกล้ตัวกว่าที่คิด

สำหรับประเทศไทย ทีมเทคซอสหยิบคอนเทนต์จากรายงานฯ มาอธิบายเพิ่มเติมทั้ง 5 ข้อ ดังนี้

Global Risks Report 2023, WEFSource : The Global Risks Report 2023

  • อันดับ 1 วิกฤตหนี้

สภาพทางการเงินขององค์กรเอกชนหรือการเงินในระดับสาธารณะอาจประสบปัญหา ‘หนี้สะสม’ ส่งผลให้เกิดการล้มละลาย สิ้นเนื้อประดาตัว นำมาสู่วิกฤตสภาพคล่องหรือการผิดนัดชำระหนี้ รวมไปถึงวิกฤตหนี้สาธารณะ

  • อันดับ 2 วิกฤตค่าครองชีพ

ประชากรส่วนใหญ่ขาดความสามารถในการคงวิถีชีวิตปัจจุบันเอาไว้ เนื่องจากต้นทุนสินค้าจำเป็นนั้นมีราคาเพิ่มสูงขึ้น และไม่สอดคล้องกับการเติบโตด้านรายได้ของครัวเรือนตามจริง

  • อันดับ 3 ความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์

จัดอยู่ในหัวข้อ เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมเป็นวงกว้าง (Large-scale environmental damage incidents) ซึ่งส่งผลต่อความสูญเสียชีวิตมนุษย์, ความสูญเสียทางการเงิน และ/หรือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศอันเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และ/หรือ ความล้มเหลวในการอยู่ร่วมกับระบบนิเวศของสัตว์ รวมถึงการยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับอุบัติเหตุในภาคอุตสาหกรรม การรั่วไหลของน้ำมัน และการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี

  • อันดับ 4 ความไม่เท่าเทียมทางดิจิทัลและการไม่สามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลได้

ข้อนี้รวมประเด็น การเข้าถึงเครือข่ายและเทคโนโลยีดิจิทัลที่แยกเป็นส่วนๆ หรือไม่เท่าเทียมกันซึ่งเกิดจากการลงทุนที่ต่ำกว่า ทักษะด้านดิจิทัลต่ำ กำลังซื้อไม่เพียงพอ หรือข้อจำกัดของรัฐบาลที่มีต่อเรื่องเทคโนโลยี

  • อันดับ 5 การเผชิญหน้าทางภูมิเศรษฐศาสตร์

เป็นการใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือโดยมหาอำนาจระดับโลกหรือระดับภูมิภาค เพื่อแยกปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำกัดสินค้า ความรู้ บริการ หรือเทคโนโลยี โดยมีเจตนาที่จะสร้างความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์และรวมขอบเขตที่ตนมีอิทธิพล ซึ่งไม่จำกัดเพียง มาตรการด้านสกุลเงิน การควบคุมการลงทุน การคว่ำบาตร ความช่วยเหลือและเงินอุดหนุนจากรัฐ และการควบคุมการค้าด้านพลังงาน แร่ธาตุ และเทคโนโลยี

................................................................................

อ้างอิง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บางจาก ได้สินเชื่อรายแรกในไทย 6,500 ล้านบาทเพื่อพัฒนา SAF จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี มอบสินเชื่อ 6,500 ล้านบาท สนับสนุนบางจากฯ พัฒนาโครงการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) แห่งแรกในไทย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด 80% เพื่อเป้าหมาย Net Zero 20...

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...