เรือขนส่งปลอดมลพิษ IMO ผลักดันเรือขนส่งรักษ์โลก ตั้งเป้า Net Zero ปี 2050 บริษัทเดินเรือญี่ปุ่นเริ่มลงทุนใช้พลังงานสะอาด

องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ภายใต้สหประชาชาติ (UN) วางมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสําหรับขนส่งระหว่างประเทศ ตั้งเป้าปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

IMO คือใคร ?

IMO เป็นองค์การที่มีสมาชิกกว่า 170 ประเทศ ทำหน้าที่แก้ไขจัดการปัญหาต่างๆ เช่น ความปลอดภัยทางทะเลและมลพิษ 

เมื่อปี 2018 IMO ได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่งระหว่างประเทศลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 และมีเป้าหมายจะลดการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในศตวรรษนี้

อุตสาหกรรมการเดินเรือสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2% ทั่วโลก เทียบเท่ากับเยอรมนีทั้งประเทศ ซึ่งนโยบายการลดคาร์บอนนี้จำเป็นต้องใช้เรือที่มีเชื้อเพลิงสะอาดและเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ เช่น ไฮโดรเจนและแอมโมเนีย

คณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจาก IMO จะประชุมกันสัปดาห์นี้ในลอนดอน คาดว่าเสียงจะเป็นเอกฉันท์ภายในวันศุกร์ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม

นานาชาติผลักดันรักษ์โลก

การประชุมของคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้พูดถึงกฎเกณฑ์ที่จําเป็นในการผลักดันมาตรการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ ในส่วนของข้อเสนอจากนอร์เวย์และสหภาพยุโรปสําหรับเรือที่ขนาดใหญ่กว่ากําหนด จะต้องลดการปล่อยมลพิษประจําปีลงทีละน้อยโดยยังไม่ต้องคํานึงถึงเชื้อเพลิงที่ใช้

ญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศได้เรียกร้องให้มีการเก็บภาษีคาร์บอนสําหรับเรือที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และมอบเงินสนับสนุนให้เรือที่เลือกวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เรือที่ใช้ไฮโดรเจน โดยวิธีนี้จะช่วยกำจัดช่องว่างระหว่างต้นทุนทั้งสอง

กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่นเองก็กำลังร่างมาตรการความปลอดภัยเพื่อสนับสนุนการใช้ไฮโดรเจนและแอมโมเนีย เนื่องจากอุตสาหกรรมการเดินเรือในปัจจุบันยังขาดมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้พลังงานเชื้อเพลิงรูปแบบนี้อยู่

บริษัทญี่ปุ่นทุ่มเงินหนัก เตรียมใช้พลังงานสะอาด 

บริษัทขนส่งทางทะเลสัญชาติญี่ปุ่นต่างเดินหน้ากันลงทุนเพื่อสนับสนุนมาตรการเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • บริษัท Mitsui O.S.K. Lines เตรียมลงทุน 350 พันล้านเยน เป็นเวลาสามปีจนถึงเดือนมีนาคมปี 2569 เปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น เมทานอลและแอมโมเนีย 
  • บริษัท Nippon Yusen ผู้ให้บริการเดินเรือขนส่งสินค้ารายใหญ่ระดับโลก เตรียมทุ่มเงิน 430 พันล้านเยน จนถึงเดือนมีนาคมปี 2574 เพื่อเพิ่มจำนวนเรือที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และแอมโมเนีย
  • บริษัท Kawasaki Kisen ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจขนส่ง นำ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเดินเรือและลดการปล่อยมลพิษ

อ้างอิง: asia.nikkei 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สิงคโปร์ดูแลคนทั้งประเทศ ด้วยงบสาธารณสุขแค่ 4% ของ GDP ได้อย่างไร ?

สิงคโปร์ดูแลสุขภาพคนทั้งประเทศ ด้วยงบแค่ 4% ของ GDP ได้อย่างไร ? เบื้องหลังคือระบบสาธารณสุขที่ออกแบบใหม่ทั้งโครงสร้างและความคิด...

Responsive image

NASA เผย “วันสิ้นโลก” อาจมีจริง และเรารู้แล้วว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?

NASA เผยข้อมูลชวนสะพรึง โลกอาจถึงจุดจบในอีกพันล้านปีจากความร้อนของดวงอาทิตย์ พร้อมเตือนพายุสุริยะในปี 2024 อาจเร่งวิกฤตให้มาเร็วขึ้น...

Responsive image

ควรเปลี่ยนมือถือทุกกี่ปี สำรวจชี้ การเปลี่ยนทุก 5 ปี ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้เกือบครึ่ง

ควรเปลี่ยนมือถือทุกกี่ปี ? สำรวจพฤติกรรมการเปลี่ยนมือถือของคนทั่วไป พร้อมแนวทางใหม่จาก Back Market และ iFixit ที่ชวนคุณใช้งานให้นานขึ้นถึง 5-10 ปี เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์และช่วยโล...