12 เทรนด์โลกที่ต้องรู้ เพื่อรับมือ ‘Polycrisis’ วิกฤตรอบด้านที่ไม่ใช่แค่ภาวะโลกรวน | Techsauce

12 เทรนด์โลกที่ต้องรู้ เพื่อรับมือ ‘Polycrisis’ วิกฤตรอบด้านที่ไม่ใช่แค่ภาวะโลกรวน

ความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยหลายปัจจัย ผลักดันให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมถูกดิสรัปต์และต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับ Digital Era ทับซ้อนกับการที่ประชากรโลกต้องเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศ วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง หายนภัย สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งถ้านำมาสร้าง Map ก็จะเห็นชัดว่าเราอยู่ท่ามกลาง Polycrisis หรือ วิกฤตหลากหลายมิติ อย่างไร

Polycrisisท่ามกลาง Polycrisis เคยเช็กไหมว่า คุณเจอวิกฤตอะไรบ้าง?

เดือนมกราคมที่ผ่านมา ทีมเทคซอสนำเสนอคอนเทนต์ เปิด 'Global Risks Report 2023' ให้รู้กันไปว่า โลกกับไทยแบก 'ความเสี่ยง' ด้านไหนอยู่ โดยแปลและคัดบางส่วนมาจาก รายงานความเสี่ยงโลก ประจำปี 2023 (Global Risks Report 2023) ของ World Economic Forum มานำเสนอ โดยในรายงานประจำปีนี้ มีการแบ่งความเสี่ยงบนโลกออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจ (Economic) มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) มิติด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) มิติด้านสังคม (Societal) และมิติด้านเทคโนโลยี (Technological) และในแต่ละมิติก็มีวิกฤตที่เกิดขึ้นหลากหลายด้าน เช่น มิติด้านสังคม ก็จะมี วิกฤตการจ้างงาน, ฟองสบู่สินทรัพย์แตก, การอพยพจากถิ่นที่อยู่โดยไม่สมัครใจ (อ่านรายละเอียดที่ลิงก์ techsauce.co/sustainable-focus/global-risks-report-2023)

polycrisis Global risk

จากภาพ Interconnection Map ด้านบนนี้ จะเห็นว่า ในมิติต่างๆ นั้นมีประเด็นปัญหาและวิกฤตที่เชื่อมโยงถึงกันหรือส่งผลกระทบไปยังด้านอื่นต่อ อย่างมีนัยสำคัญ นี่จึงเป็น Polycrisis ที่กระทบชาวโลกจำนวนมากและไม่สามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆ ได้ เช่น โอกาสในการทำงาน โอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล โอกาสที่จะได้เรียนออนไลน์ ทั้งยังเพิ่มความท้าทายในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ การเมือง ตลอดจนเรื่องใกล้ตัว อย่างข้าวของแพงขึ้นจากปัญหาสงคราม เงินเฟ้อ เศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาด้านโรคระบาด ปัญหาด้านสังคม สุขภาพ และภาวะโลกร้อน ซึ่งส่อแววว่าจะเลวร้ายลงไปทุกปี

Key Messages น่ารู้ จาก Ipsos Global Trends 2023

Polycrisisรายงานการศึกษาชุดใหญ่ อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2023: โลกแห่งวิกฤตและภัยพิบัติ (Ipsos Global Trends 2023) โดย บริษัท อิปซอสส์  จำกัด  (Ipsos Ltd.) ผู้นำระดับโลกในด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ชี้ชัดว่า เรากำลังก้าวเข้าสู่ ยุคโลกแห่งความไร้ระเบียบ (A New World Disorder) และต้องเตรียมเผชิญ วิกฤตหลากหลายมิติ (Polycrisis) ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงยิ่งกว่า

เพื่อให้เห็นความคิดของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี อิปซอสส์จึงเก็บข้อมูลเพื่อทำ อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2023 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 ผ่านแบบสำรวจที่ได้จากประชากรในประเทศต่างๆ รวม 48,000 คน ใน 50 ตลาดสำคัญ ครอบคลุมสัดส่วน 87% ของ GDP  โดยในจำนวน 50 ตลาดสำคัญ มีประชากรที่อยู่ในเอเชีย 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้  ไทย และเวียดนาม ทั้งนี้ มี Key Message หลักที่ควรรู้ 

  • 3 ใน 4 ของประชากรโลก หรือกว่า 74% ของประชากรที่แสดงความคิดเห็น เห็นพ้องกันว่ารัฐบาลและการบริการสาธารณะของประเทศให้ความช่วยเหลือประชาชนน้อยเกินไป  
  • คนอินโดนีเซีย กังวลสูงสุดเรื่องความช่วยเหลือจากภาครัฐและการบริการสาธารณะ ขณะที่ คนไทย 80% กังวลว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะจะไม่ดูแลประชาชนในอนาคต โดยไทยอยู่ในอันดับต้นๆ จากประชากรใน 50 ประเทศที่ตอบแบบสำรวจ
  • ตลาดในภูมิภาคเอเชีย มีความกังวลใจสูงในเรื่องการเผชิญกับหายนะด้านสิ่งแวดล้อม นำโดย อินโดนีเซีย ในอัตรา 92% ตามมาด้วย เวียดนาม 91% ฟิลิปปินส์ 88% ไทย 86% เกาหลี 85% และอินเดีย 85%
  • การไม่ได้รับความไว้วางใจจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญ โดย คนไทย 80% กังวลว่ารัฐบาลและบริการสาธารณะจะไม่ดูแลประชาชนในอนาคต และ 50% บอกว่า ไม่ไว้วางใจผู้นำทางธุรกิจ ว่าจะพูดความจริง

กลไกการสร้างทฤษฎี 3 ด้าน สู่ 12 เทรนด์โลก

เป้าหมายของการจัดทำ Ipsos Global Trends 2023 คือ ช่วยให้องค์กรต่างๆ เห็นวิกฤตการณ์ที่กำลังเผชิญและอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งด้านดีและด้านร้าย ตลอดจนนำไปวางแผนยุทธศาสตร์และทำให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและอยู่รอดได้ ซึ่งต่อมา อิปซอสส์นำข้อมูลจากการจัดทำรายงานมาพัฒนาเป็น ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของอิปซอสส์ (Ipsos’s Theory of Change) โดยใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงและมุมมองจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านแนวโน้มและการวิเคราะห์ แล้วเผยกลไกการสร้างทฤษฎี 3 ด้าน ที่นำไปสู่ 12 เทรนด์โลก ดังนี้

Ipsos’s Theory of Change 

  1. Macro Forcesจากการทำวิจัยขั้นทุติยภูมิ ประกอบด้วย 6 กรอบแนวคิดที่เน้นด้านสังคม แรงกระตุ้นทางเทคโนโลยี โอกาสและความไม่เสมอภาค ภาวะฉุกเฉินของวิกฤตสิ่งแวดล้อม ความแตกแยกทางการเมือง และสุขภาพดีถ้วนหน้า
  2. Shifts - ความเปลี่ยนแปลงที่ได้จากการทำแบบสอบถาม 
  3. Signals - สัญญาณที่บ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลง โดยอิงจากการสังเกตในท้องถิ่น 

รับมือ Polycrisis ด้วย 12 เทรนด์โลก ในเวอร์ชันที่อัปเดตสุดๆ

หลังจากเก็บข้อมูลต่อเนื่องแล้วผู้จัดทำรายงานพบว่า เทรนด์โลกเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาและปัจจัยต่างๆ และนี่คือ 12 เทรนด์ล่าสุดที่อิปซอสส์ถือว่า เป็นชุดเครื่องมือช่วยภาครัฐและภาคธุรกิจในการรับมือ Polycrisis ได้ ดังนี้

Source : Ipsos Global Trends 2023

  1. ความเป็นปรปักษ์ต่อสภาพภูมิอากาศ 
    (Climate Antagonism)
  2. การคำนึงถึงด้านสุขภาพ 
    (Conscientious Health) 
  3. ความจริงแท้จะสำคัญดั่งราชา
    (Authenticity is King)
  4. ภาวะวิกฤตด้านข้อมูล
    (Data Dilemma)
  5. มิติด้านเทคโนโลยี
    (The TECH Dimension)
  6. จุดสูงสุดของโลกาภิวัตน์
    (Peak Globalization)
  7. โลกที่ถูกแบ่งแยก? 
    (A Divided World)
  8. จุดเปลี่ยนของทุนนิยม 
    (Capitalism’s Turning Point)  
  9. การโหยหาและยึดเหนี่ยวกับสิ่งเดิมๆ
    (The Enduring Appeal for Nostalgia)
  10. ปฏิกิริยาต่อความไม่แน่นอนและความไม่เท่าเทียม
    (Reactions to Uncertainty and Inequality)    
  11. การค้นหาความเรียบง่าย
    (Search for Simplicity)
  12. ตัวเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพ
    (Choices to Healthcare)  

สังคมโลก vs สังคมไทย กับการเผชิญวิกฤตในยุคโลกแห่งความไร้ระเบียบ 

ยุคโลกแห่งความไร้ระเบียบ เป็นยุคที่เต็มไปด้วยวิกฤตการณ์หลายมิติและภัยพิบัติหลากรูปแบบ สถานการณ์เช่นนี้จะก่อให้เกิดอันตรายยิ่งกว่ายุคไหนๆ ทั้งนี้ มีข้อมูลที่ทางอิปซอสส์ประเมินออกมาทำให้เห็นวิกฤตที่จะเกิดขึ้นกับสังคมโลกและสังคมไทย ดังนี้

  • วิกฤตเศรษฐกิจกระทบกระเป๋าเงินและจิตใจ
    (An economic crisis hitting our wallets and hearts)

คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกว่า ตนยังคงต้องดิ้นรนต่อสู้ โดยมีสถิติความยากลำบากด้านการหารายได้ เฉลี่ยแล้ว ในระดับโลกอยู่ที่ 34% ขณะที่ไทยอยู่ในอัตรา 27% ส่วนประเด็นที่ผู้คนยังคงมีความกดดันกับรายได้ที่ใช้จ่ายได้ (Disposable Income) 53% กังวลปัญหาเงินเฟ้อ และอีก 48% กังวลว่า รายได้ตนจะไม่พอใช้  

  • วิกฤตความตึงเครียดระหว่างโลกกับท้องถิ่น
    (A crisis of Tension with Global vs Local) 

แม้ว่าหลายคนจะพูดถึง de-globalization แต่สถิติอย่างน้อย 6 ใน 10 คนทั่วโลกยังเชื่อว่า โลกาภิวัตน์ยังเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเขาและประเทศของพวกเขา โดยอัตราเฉลี่ย 66% เห็นว่าดีสำหรับประเทศของตน ส่วนภาพรวมของประเทศไทยอยู่ที่ 72% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก ขณะที่ 62% รู้สึกดีในส่วนของตัวเอง

สำหรับประเทศไทย คนส่วนใหญ่ยังคงยินดีที่จะซื้อของในไทยมากกว่าสินค้านอกในอัตรา 73% และเป็นที่น่าสังเกตว่า 75% พอใจในการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ที่เสนอเงื่อนไขให้ดีกว่าช่องทางปกติ  

  • ต้องการให้มีใครมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตของดินฟ้าอากาศ
    (A climate crisis we want someone to solve)

80% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีความเห็นตรงกันว่า เรากำลังมุ่งหน้าสู่ ภัยพิบัติด้านสภาพแวดล้อม เว้นแต่ว่า ผู้คนเปลี่ยนนิสัยอย่างเร่งด่วนได้ ขณะที่ไทยเห็นตรงกัน 86% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยโลกที่ 86% นอกจากนี้ ภาพรวมของอัตราเฉลี่ยโลก 75% ยังเชื่อว่า เหล่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่เห็นทางที่จะแก้ไขอะไรในจุดนี้ได้ 

  • บทบาทของแบรนด์ในการสร้างความต่าง 
    (The role for Brands to make a difference?)  

ประชาชนคนไทยเห็นว่าวิธีการต่างๆ ในปัจจุบันของผู้นำธุรกิจ ไม่ได้ทำเพื่อคนไทย โดย 80% ของคนไทยที่ให้สัมภาษณ์กังวลว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะจะไม่ดูแลอนาคตของพวกเขา ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของ APAC ถึง 9% ส่วนการวางแผนระยะยาว มี 36% ของคนไทยคิดว่า รัฐบาลแห่งชาติ ดีและค่อนข้างดี และถึงแม้การแบ่งแยกจะมีอยู่ทั่วโลก แต่จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้คนคาดหวังที่จะเห็นความชัดเจนของแบรนด์และองค์กรธุรกิจ โดย

  • 81% รู้สึกว่า มีความเป็นไปได้ที่แบรนด์จะให้ความสนับสนุนที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้สามารถทำเงินได้ในเวลาเดียวกัน 
  • 71%  ยินดีซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ ถึงแม้จะต้องจ่ายมากกว่า
  • 57% ยอมจ่ายแพงขึ้น ให้แก่แบรนด์ที่มีภาพลักษณ์โดนใจ           
  • 53% ไม่เชื่อว่า ผู้นำธุรกิจจะพูดความจริง
  • 50% ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยที่ไม่เชื่อใจ และ 74% ของประชากรโลกรู้สึกว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะ ยังทำให้อะไรให้ผู้คนเพื่ออนาคตอันใกล้นี้ในระดับน้อยมาก

นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขที่ผู้ตอบแบบสำรวจต้องการให้ธุรกิจแสดงความจริงใจในแต่ละประเทศ ตามลำดับดังนี้ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม  ฟิลิปปินส์ และไทย ในสัดส่วน 78%,  71%,  64%,  60%,  56% และ 50%

  • ภาวะวิกฤตด้านข้อมูลและข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี 
    (Data Dilemmas & The Tech Dimension) 

ในตลาด APAC มีความกลัวในจุดนี้ ในระดับใกล้เคียงกันคือ เฉลี่ยแล้ว 60% ของผู้ให้สัมภาษณ์ มีความกลัวว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาทำลายคุณภาพชีวิต ขณะที่อัตราส่วนของคนไทยอยู่ที่ 61% ขณะเดียวกัน มี 81% รู้สึกว่า เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสูญเสียความเป็นส่วนตัวในอนาคต

ท่ามกลางความต้องการ 'ควบคุมเทคโนโลยีขนาดใหญ่' ที่มีมากขึ้น 6 ใน 10 ของผู้ให้สัมภาษณ์กลัวว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังเข้ามาทำลายคุณภาพชีวิตของเรา นอกจากนี้ ชาวเอเชียพูดเหมือนกันหมดว่า 'จินตนาการไม่ได้เลย หากต้องอยู่โดยปราศจากอินเทอร์เน็ต' เพราะชาวเอเชียเองก็ติดแก็ดเจ็ต โดยอัตราส่วนของผู้คนทั่วโลก 71% บอกว่า อยู่ไม่ได้ถ้าขาดอินเทอร์เน็ต ส่วนคนไทยอยู่ที่อันดับ 10 ในอัตรา 73% 

ปิดท้ายด้วย 'ความท้าทาย 4 ด้านหลัก ใน Polycrisis' ที่ประชากร องค์กร ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ กำลังเผชิญ

  1. วิกฤตเศรษฐกิจกระทบกระเทือนกระเป๋าสตางค์ของผู้คน องค์กรต่างๆ จึงมีโอกาสที่จะคิดใหม่เกี่ยวกับโครงสร้าง วัตถุประสงค์ของธุรกิจ และระบบการดำเนินงาน=บริหารจัดการ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม 
  2. ผู้บริโภคต้องการให้มีใครมาช่วยแก้ปัญหาสภาวะวิกฤตของดินฟ้าอากาศแบบลงมือทำ ไม่ใช่แค่เพียงการออกหรือกำหนดนโยบาย
  3. หน้าที่ของธุรกิจและองค์กรที่มีบทบาทในการเชื่อมช่องว่างระหว่างความคาดหวังของผู้บริโภคและการตอบสนองของรัฐบาล
  4. ความตึงเครียดระหว่างโลกกับท้องถิ่นจะลดลงด้วยพลังอำนาจของแบรนด์ระดับโลกที่มีจุดยืนเฉพาะ และสามารถเชื่อมโยงช่องว่างที่กว้างให้ลดลงได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...