รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถ EV ต้องรายงานข้อมูล Carbon Footprint เริ่มต้นปี 2024 | Techsauce

รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถ EV ต้องรายงานข้อมูล Carbon Footprint เริ่มต้นปี 2024

รัฐบาลญี่ปุ่นเล็งให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศต้องคำนวณและรายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ โดยจะใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อพิจารณาคุณสมบัติในการรับเงินสนับสนุนจากรัฐ

กฎดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรการของสหภาพยุโรป ที่จะเริ่มบังคับให้เปิดเผยข้อมูลการปล่อยมลพิษตั้งแต่ปี 2024 โดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นวางแผนที่จะนำข้อกำหนดดังกล่าวมาบังคับใช้กับทั้งรถยนต์ไฟฟ้าและปลั๊กอินไฮบริด

ในเบื้องต้นผู้ผลิตจะต้องรายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กระทรวงฯ อย่างเดียว แต่ข้อมูลนี้จะเปิดเผยให้กับผู้บริโภคได้ทราบเช่นกัน และจะมีตั้งหน่วยงานซึ่งเป็นบุคคลที่สามมาร่วมตรวจสอบข้อมูลด้วย และรัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้ตัวเลขนี้เป็นตัวกำหนดว่ายานพาหนะใดจะได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐบ้าง ซึ่งถ้าเกินจะไม่ได้รับเงินสนับสนุน และเงินอุดหนุนผู้บริโภคนี้เองก็เป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ Carbon Footprint ของรถยนต์ไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จัดส่ง ใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดและรีไซเคิล ซึ่งกำลังได้รับการยอมรับจากรัฐบาลทั่วโลก

“หากมีการเลื่อนออกร่างกฎหมาย Carbon Footprint  ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นอาจตามกระแสตลาดไม่ทัน” Chiharu Tokoro อาจารย์จากมหาลัย Waseda กล่าว

แม้ว่าพาหนะแบบ EV จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็ตาม แต่ในกระบวนการผลิตจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการผลิตยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงแบบฟอสซิล และกว่า 60% ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาทั้งหมด มาจากขั้นตอนการผลิตแบตเตอรี่

การผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะ EV เป็นอุปสรรคสำหรับการคำนวณและเปิดเผยค่า Carbon Footprint อีกทั้งยังต้องเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นเรื่องยุ่งยากในการหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ให้ได้ไม่เกินค่ามาตราฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งในปัจจุบันการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะแบบ EV นั้นจะต้องใช้ ลิเธียมและโคบอลต์ 

อ้างอิง : Nikkei Asia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...