Bioplastic จากเปลือกล็อบสเตอร์ ย่อยสลายเร็ว รีไซเคิลง่าย ไอเดียนักศึกษา ป.โท UK

พลาสติกแบบ Single-Use เป็นพลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วก็โยนทิ้งไป แต่กลับใช้เวลาถึง 200 ปีในการย่อยสลาย ยิ่งใช้ก็ยิ่งสร้างขยะ แต่หากจะเลิกใช้เลยคงเป็นไปได้ยาก Shellworks บริษัท Startup จากลอนดอนจึงคิดค้นนวัตกรรมทดแทนอย่าง ไบโอพลาสติกจากเปลือกล็อบสเตอร์ 

Shellworks เริ่มต้นในปี 2019 จากการรวมกลุ่มของนักศึกษาปริญญาโทจาก Royal Collage of Art และ Imperial Collage London ที่สนใจในเรื่องการลดขยะจากอาหารเหลือทิ้ง พวกเขาร่วมกันพัฒนาไบโอพลาสติก จนปัจจุบัน Shellwork ได้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไบโอพลาสติกให้กับอุตสาหกรรมความงามแล้ว จุดเริ่มต้นไอเดียดี ๆ นี้มาจากไหน เราไปดูกันเลย !

กำเนิดพลาสติกจากเปลือกล็อบสเตอร์

Shellworks มุ่งเป้าไปที่การลดขยะจากเปลือกของสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง ปู และล็อบสเตอร์ เพราะเศษอาหารเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่ร้านอาหารโยนทิ้งไป และจะจบลงด้วยการฝังกลบ ทำให้เศษอาหารเหล่านี้ปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่อากาศได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น

หลังจากการศึกษา Shellworks พบว่าในเปลือกของสัตว์น้ำมีสิ่งที่เรียกว่า ไคทิน (Chitin) ซึ่งเป็นสารที่สามารถนำไปต่อยอดทำเป็นไบโอพลาสติกได้

Startup กลุ่มนี้จึงเลือกนำเปลือกล็อบสเตอร์มาสกัด เพราะเปลือกล็อบสเตอร์เป็นสิ่งสุดท้ายที่ร้านอาหารจะต้องนำมาทิ้งอยู่ดี ต่างกับเปลือกหอยหรือกุ้งที่ร้านอาหารมักเลือกใช้แบบที่แกะเปลือกเอาไว้แล้ว

หลังจากที่ Shellworks ทำไบโอพลาสติกจากเปลือกล็อบสเตอร์สำเร็จ พวกเขาก็นำมันไปผลิตเป็นสิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้แทนพลาสติกแบบ Single-Use เช่น ถุงพลาสติก หรือกระถางต้นไม้เล็ก ๆ ที่ใช้ใส่ต้นกล้า (Plant pot)

เครื่องจักรที่ใช้ทำไบโอพลาสติก

Shellworks คิดค้นเครื่องจักรออกมาทั้งหมด 5 ตัวเพื่อใช้ในการผลิตไบโอพลาสติก โดยแต่ละชิ้นจะมีชื่อของตัวเอง ได้แก่ Shelly, Sheety, Vaccy, Dippy และ Drippy เป็นต้น

หน้าที่ของเครื่องจักร

Shelly: ใช้สกัดสารไคทินจากเปลือกล็อบสเตอร์ เพื่อนำมาทำไบโอพลาสติกเหลว

Sheety: ขึ้นรูปไบโอพลาสติกจากเหลว ๆ ให้เป็นแผ่นเรียบ โดยใช้ลมและความร้อนเป่า

Vaccy: ขึ้นรูปแผ่นไบโอพลาสติกเป็นทรงต่าง ๆ ด้วยการใช้ไอน้ำและความร้อนเป่าให้แผ่นไบโอพลาสนิ่ม และใช้เครื่องดูดสุญญากาศดูดแผ่นไบโอพลาสติกให้เกิดรูปทรงตามแม่พิมพ์

Dippy: ใช้สร้างภาชนะ 3 มิติ เช่น ถ้วยและภาชนะต่าง ๆ โดยการนำชิ้นส่วนโลหะของเครื่องจักรซึ่งเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานความร้อนไปจุ่มลงในไบโอพลาสติกที่เป็นของเหลว 

Drippy: ใช้รีไซเคิลไบโอพลาสติกในรูปแบบต่าง ๆ ให้กลับไปเป็นของเหลว เพื่อขึ้นรูปใหม่

ข้อดีของไบโอพลาสติกจากล็อบสเตอร์

  • ย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ ภายในเวลาแค่ 1 ปี
  • นำมารีไซเคิลใหม่ได้เรื่อย ๆ
  • ทิ้งลงดินแล้วกลายเป็นปุ๋ย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  • แข็งแรงทนทานเหมือนพลาสติกทั่วไป

นอกจาก Shellworks แล้ว ยังมี Startup สาย Green อย่าง Biofase ที่ต้องการจะลดขยะจากอาหารเหลือทิ้ง ด้วยการนำขยะเหล่านั้นมาผลิตเป็นสิ่งของที่ใช้แทนพลาสติกแบบ Single-Use เหมือนกัน และแม้ว่าปัญหาขยะในโลกจะยังไม่หมดไป แต่ Start up เหล่านี้ก็ได้เริ่มใส่ใจถึงความยังยืนและร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของโลกและคนรุ่นหลัง

อ้างอิง: dezeen, twitter

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...

Responsive image

Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006 กล่าวอะไรบ้างบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum

Pro.Muhammad Yunus เดินทางมาร่วมงาน BIMSTEC Young Gen Forum: Where the Future Meets งานสัมมนาคู่ขนานกับการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สาระสำคัญมีอะไรบ้า...

Responsive image

"Fungal Battery" แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา พิมพ์ 3D ได้ ผลิตไฟฟ้าเองได้ ย่อยสลายได้จริง

แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา นวัตกรรมใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ผสมเชื้อราสร้างแบตเตอรี่ที่ผลิตไฟฟ้าได้จริง ย่อยสลายตัวเองได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมพลิกวงการ...