rPET นวัตกรรมเปลี่ยนโลก สร้างโอกาสใหม่ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน | Techsauce

rPET นวัตกรรมเปลี่ยนโลก สร้างโอกาสใหม่ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

สรุปสาระสำคัญจากงาน ปลุกพลังความร่วมมือสู่เป้าหมายความยั่งยืน (Collaborative Partnership for Sustainability) ในหัวข้อ "rPET นวัตกรรมเปลี่ยนโลก  สร้างโอกาสใหม่ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน" บรรยายโดย คุณยาช โลเฮีย ประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล 

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ  ไอวีแอล  เป็นผู้ผลิตพลาสติก PET และรีไซเคิลรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยดำเนินงานใน 35 ประเทศทั้งในแอฟริกา อเมริกา เอเชีย และยุโรป โดยมีพนักงาน 26,000 คนและโรงงาน 145 แห่ง กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ไอวีแอลยังเริ่มสร้างธุรกิจรีไซเคิล PET ด้วยตนเองและกำลังสร้างระบบนิเวศหมุนเวียนสำหรับ Polyethylene Terephthalate (PET) ที่โลกต้องการ แม้จะมีการขยายกิจการและครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจปิโตรเคมีและเส้นใยที่ใช้ในหลายอุตสาหกรรม แต่ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทยังคงเป็นเม็ดพลาสติก PET ซึ่งนิยมใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงบรรจุภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ ของใช้ ในครัวเรือน และใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ 

จากรายงานของ UN Environment Programmeระบุว่า PET เป็นชนิดพลาสติกที่รีไซเคิลมากที่สุดในโลก และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่โลกมีความรับผิดชอบร่วมกันในการยุติขยะพลาสติก การรีไซเคิลจึงมีความสำคัญต่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างมาก เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงและของเสียน้อยลง 

ในทุกปี ไอวีแอล เปลี่ยนขวดหลายพันล้านขวดให้เป็นขวดใหม่ผ่านกระบวนการเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก ไอวีแอลเชื่อว่าคุณสมบัติรีไซเคิลได้ของ PET จะผลักดันการเติบโตในภาคธุรกิจและภาคสิ่งแวดล้อม

โดยไอวีแอล ได้วางแผนที่จะรีไซเคิลขวดหลังการบริโภค 750,000 ตันหรือ 50 พันล้านขวดต่อปี ภายในปี 2025 ปัจจุบันกำลังลงทุนสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการด้านความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความสามารถในการรีไซเคิล

สำหรับการรีไซเคิลพลาสติก PET นั้นสามารถทำได้สองรูปแบบใหญ่ ๆ นั่นก็คือ ด้วยเครื่องจักร และด้วยการใช้สารเคมี ซึ่งการรีไซเคิลด้วยเครื่องจักรสำหรับ PET เป็นเรื่องปกติ แพร่หลายและใช้งานได้จริงในขณะนี้ แต่ด้วยกระบวนการทางเคมีสามารถทำให้พลาสติกย้อนกลับไปสู่วัตถุดิบตั้งต้นและสามารถนำมาสร้างใหม่ได้ ซึ่งอาศัยกระบวนการที่ซับซ้อนกว่าเดิมมาก และยังอยู่ในช่วงตั้งต้น ซึ่งต้องอาศัยเวลา เงินลงทุน และการขยายตัว

ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งการรีไซเคิลด้วยเครื่องจักรและทางเคมี ทำให้สามารถนำขยะ PET ออกจากการกลบฝังหรือการเผาทำลายและนำกลับเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกครั้ง สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการรีไซเคิลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต นั่นก็คือ ข้อกำหนดของภาครัฐบาล พฤติกรรมผู้บริโภค และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลสามารถผ่านกฎหมายที่กำหนดให้มีการจัดการของเสียที่ดีขึ้นได้รวมทั้งสามารถจำกัดขอบเขตของเสียได้ผ่านการรวบรวมข้อมูลของภาครัฐ แต่ถ้าหากโครงสร้างพื้นฐานไม่พร้อมวัสดุที่รีไซเคิลกลับมาได้ก็จะไม่มีคุณภาพที่ใช้ได้ดีพอหรืออาจสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงสร้างให้ผู้บริโภคสร้างการตระหนักถึงการใช้วัสดุรีไซเคิล

สำหรับ ไอวีแอล ได้เปิดตัวโครงการส่งเสริมความรู้ด้านการรีไซเคิล PET ตั้งแต่ปี 2017 เป้าหมายหลักคือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการแยกขยะและวิธี 3Rs – Reduce, Reuse and Recycle และกำลังเข้าถึงเด็กไทยหลายหมื่นคนทุกปี ซึ่งจากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบพบว่าการลงทุนในโครงการนี้สามารถให้ผลตอบแทนทางสังคมกว่า 5 เท่า และตอนนี้ได้วางแผนที่จะขยายโครงการไปสู่ระดับโลกโดยตั้งเป้าจะให้ความรู้แก่เด็กทั่วโลกจำนวนกว่า 1 ล้านคนในปี 2030

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนกำลังเป็นเป็นที่พูดถึงในทุก ๆ ภาคส่วนรวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการการลงทุนระยะยาวเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 ตอนนี้ทั้งโลกกำลังสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน และทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนได้เพียงตระหนักถึงการใช้วัสดุรีไซเคิลและแบ่งปันองค์ความรู้เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนต่อไป




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...