โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์น้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน หรือคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมลง รายงานจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่าแหล่งน้ำทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะแห้งแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ
ขณะเดียวกัน ธารน้ำแข็งก็กำลังละลายอย่างรวดเร็วในอัตราที่น่าตกใจ สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ไม่เพียงแค่ต่อระบบนิเวศ แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และภาคธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยหลักในการผลิต
ในหัวข้อ Water Resilience: Guiding Thailand’s Businesses Through the Climate Crisis Era คู่มือบริหารทรัพยากรน้ำ พาธุรกิจไทยฝ่าวิกฤตโลกร้อน โดยคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ที่จะมาพูดถึงวิกฤตการณ์น้ำ และความพยายามของ TCP ในการสร้างความยั่งยืนด้านนี้
คุณสราวุฒิ กล่าวว่าปัจจุบันโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะวิกฤตน้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี จากอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 ที่สร้างความเสียหายกว่า 1.4 ล้านล้านบาท จนถึงเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันที่เชียงรายในปี 2567 สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนและความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพายุที่เข้ามาถี่ขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักในพื้นที่จำกัด หรือแม้แต่ปัญหาดินเสื่อมโทรมที่ต้นน้ำ
จากรายงานของ WMO ในปี 2566 ชี้ให้เห็นว่าแหล่งน้ำทั่วโลกเผชิญภาวะแห้งแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี และการสูญเสียธารน้ำแข็งในปริมาณมหาศาล วิกฤตน้ำนี้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ โดยธนาคารโลกประเมินว่าหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา ภายในปี 2593 GDP โลกอาจตกต่ำอย่างรุนแรง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ภาคธุรกิจเองอาจสูญเสียเงินกว่า 2.25 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และต้นทุนการแก้ไขปัญหาในอนาคตจะสูงขึ้นถึง 5 เท่า
ทำไมถึงมองว่าเรากำลังเจอวิกฤตน้ำ ทั้งที่โลกของเราจะประกอบด้วยน้ำถึง 3 ใน 4 ?
ด้านคุณสราวุฒิ อธิบายว่า แม้โลกจะถูกปกคลุมด้วยน้ำถึง 3 ใน 4 แต่มีเพียงน้ำจืดส่วนน้อยเท่านั้นที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ได้ การตัดไม้ทำลายป่า การขยายตัวของพื้นที่แห้งแล้ง และระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมวิกฤตน้ำให้รุนแรงยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการแก้ไขปัญหานี้ และมีหนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจคือ Nature-based Solutions (NBS) หรือการใช้วิธีธรรมชาติในการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น การฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับสู่สภาพคดเคี้ยวตามธรรมชาติ
Nature-based Solutions (NBS) คือ การใช้ธรรมชาติหรือกระบวนการทางธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น การปลูกป่าเพื่อลดการกัดเซาะชายฝั่ง หรือการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อกรองน้ำ
ปัจจุบันเป็นแนวทางที่ได้รับความสนใจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น โครงการฟื้นฟูแม่น้ำ Sweeden Dale Beck ในสหราชอาณาจักร โดยการปรับสภาพแม่น้ำที่ถูกทำให้ตรงกลับสู่สภาพคดเคี้ยวตามธรรมชาติ ส่งผลให้ระบบนิเวศฟื้นตัว ปลาแซลมอนกลับมาวางไข่ และคุณภาพน้ำดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
คุณสราวุฒิ เผยว่า ด้านกลุ่มธุรกิจ TCP เองก็ได้นำแนวทาง NBS มาใช้ในโครงการฟื้นฟูแหล่งน้ำที่จังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับ WWF และชุมชนในพื้นที่ นอกจากนี้ คุณสราวุธยังได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ
จากการจัด Sustainability and Beauty Forum กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ค้นพบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในประเทศไทย ได้แก่ ประเทศไทยมีการใช้น้ำต่อหัวสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก อุณหภูมิของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปริมาณน้ำฝนโดยรวมลดลงในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
กลุ่มธุรกิจ TCP ได้กำหนดเป้าหมาย Net Water Positive ภายในปี 2573 โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ คืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติมากกว่าปริมาณน้ำที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
กลยุทธ์หลักของ TCP ในการบรรลุเป้าหมายนี้ แบ่งออกเป็นสองแนวทาง คือการจัดการภายใน (In-Process) และการสร้างผลกระทบเชิงบวกภายนอก (Out-Process)
TCP ให้ความสำคัญกับการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดภายในโรงงาน โดยใช้มาตรการต่างๆ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำฝน การบำบัดน้ำเสีย 100% เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการควบคุมและตรวจสอบการใช้น้ำ มาตรการเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดการใช้น้ำ แต่ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
นอกเหนือจากการจัดการภายในโรงงาน TCP ยังให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูระบบนิเวศและคืนน้ำสู่ธรรมชาติ ผ่านโครงการโคกหนองนาโมเดล ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับชุมชน ภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านน้ำในระยะยาว
ปัจจุบันโครงการนี้ครอบคลุม 20 จังหวัด มีโครงการย่อยกว่า 513 โครงการ และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชนกว่า 40,000 ครัวเรือน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ TCP ในการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคม
สุดท้ายแล้วคุณสราวุฒิสรุปว่า ความยั่งยืนด้านน้ำต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ด้วยการเริ่มต้นจาก 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
และหวังว่าความมุ่งมั่นของ TCP ในการสร้างความยั่งยืนด้านน้ำ ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ภาคธุรกิจอื่นๆ เห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด