โลกยิ่งร้อน คนจะยิ่งจน วิจัยเผยรายได้จะหาย 60% หากไม่รีบแก้ | Techsauce

โลกยิ่งร้อน คนจะยิ่งจน วิจัยเผยรายได้จะหาย 60% หากไม่รีบแก้

โลกยิ่งร้อน คนยิ่งจน การศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์บนนิตยสาร Nature ชี้ผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกจะเลวร้ายขึ้นจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้รายได้เฉลี่ยทั่วโลกลดลงถึง 19% ในปี 2049 และจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจกว่า 38 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 1,401 ล้านล้านบาทภายในปี 2050

โลกยิ่งร้อน คนยิ่งจน 

นักวิจัยจากสถาบันพอทสดัมเพื่อการวิจัยผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ (PIK) ของเยอรมนีพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจถึง 38 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 1,401 ล้านล้านบาทภายในปี 2050

“การวิเคราะห์ของเราแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ภายใน 25 ปีข้างหน้าในเกือบทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศที่มีการพัฒนาอย่างสูง เช่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าจะมีรายได้เฉลี่ยลดลงประเทศละ 11% และ ฝรั่งเศส 13%” Leonie Wenz นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและนักเศรษฐศาสตร์กล่าว 

ในส่วนของค่าเฉลี่ยโลก รายได้จะลดลงเฉลี่ย 19% ในขณะที่ในแอฟริกาและเอเชียใต้จะอยู่ที่ 22% รายงานชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคที่ยากจนกว่าและมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุดจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดโดยมีโอกาสสูญเสียรายได้มากกว่าประเทศที่ร่ำรวยถึง 61% 

ในปี 2023 อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกอุ่นกว่ายุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมกว่า 1.35 องศาเซลเซียส และตามรายงานของสำนักงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาโลกไม่เคยมีเดือนใดที่เย็นกว่าค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 เลยนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1979

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์และผู้เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นไปที่สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อน น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และพายุ ว่ามีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศมากที่สุด แต่ภายหลังการศึกษาพบว่าภาวะโลกร้อนมีผลกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นและทวีความรุนแรงของผลกระทบของภัยธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงพืชผลทางการเกษตร ประสิทธิภาพของแรงงานและโครงสร้างพื้นฐาน

ลดปล่อยคาร์บอน ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ

การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจในอีก 25 ปีข้างหน้าขึ้นอยู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และศึกษาช่วงปลายศตวรรษนี้ด้วยการจำลองผลที่จะเป็นไปได้ออกเป็นสองแบบ

  1. ไม่มีการควบคุมและยังคงปล่อยคาร์บอนมากขึ้น: รายได้เฉลี่ยโลกจะลดลงถึง 60% ภายในปี 2100
  2. ลดการปล่อยคาร์บอนและควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส: รายได้เฉลี่ยโลกจะยังคงลดลงแต่จะทรงตัวอยู่ที่ 20% ภายในกลางศตวรรษนี้

ผลการศึกษาทั้งสองชี้ให้เห็นว่าการลดการปล่อยคาร์บอนลดผลกระทบทางเศรษฐกิจได้มากกว่า นอกจากนี้การศึกษายังวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลดการปล่อยคาร์บอนอยู่ที่ 6 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 221 ล้านล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจที่ 38 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 1,401 ล้านล้านบาท ภายในปี 2050

ดังนั้นรัฐบาลในแต่ละประเทศจึงควรปรับตัวอย่างเร่งด่วนสำหรับรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อลดอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นและป้องกันผลกระทบเศรษฐกิจที่จะตามมาในอนาคต

อ้างอิง: theguardian, euronews

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia จับมือ Airbus ผนึกกำลังลดคาร์บอน พัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน 'SAF' ในอาเซียน

AirAsia ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำจากยุโรป เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ...

Responsive image

Deloitte ชี้ 85% ของผู้นำ ลงทุนด้านความยั่งยืน สะท้อนความตื่นตัวของภาคธุรกิจ

รายงาน Deloitte’s 2024 CxO Sustainability Report: Signs of a shift in business climate action ฉบับล่าสุดเผยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการรับรู้ของผู้นำธุรกิจระดับ C-suite ...

Responsive image

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืน

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืนได้...