Blockchain เทคโนโลยีที่หลายคนอาจคิดว่าเกี่ยวกับ FinTech และคุ้นหูที่สุดคือ Cryptocurrencies แบบ Bitcoin แต่จริงๆ แล้ว Blockchain เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังของการใช้งานหลายๆ อย่างที่ไม่เพียงแค่ธุรกิจการเงิน ทำให้ transaction ข้อมูล ต่างๆ ปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางได้ ดังนั้นบทความนี้จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักการนำ Blockchain ไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบของ Internet of Things ที่นอกเหนือจากวงการการเงินบ้าง
เท้าความกลับไปเล็กน้อย Blockchain ตั้งอยู่บน “บัญชีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์” หรือที่เรียกกันว่า Ledger และถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ที่เรียกว่า "โหนด" Node อีกที และแต่ละ Node จะมีสำเนาบัญชีธุรกรรมของตัวเอง และบัญชีนี้จะถูก "กระจายศูนย์" ภาษาอังกฤษคือ Distributed คือถูกก๊อปปี้ไปอยู่ในทุกๆ Node ในเครือข่าย ข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการยอมรับ ปลอดภัยเชื่อถือได้ โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง
ภาพจาก Postscapes
ด้วยคุณสมบัติของ Blockchain จึงเข้ามาตอบโจทย์ Internet of Things (IoT) ได้ เพราะเมื่อวันที่มีอุปกรณ์ devices เพิ่มขึ้นมากมาย การจัดการผ่านส่วนกลางจะยุ่งยากน่าดู แต่ Blockchain สามารถเข้ามาช่วยกลุ่ม IoT devices ที่กำลังมีจำนวนมากได้ง่ายขึ้น ดังนั้น Internet of Things ในยุคของ Blockchain จะกลายเป็น Ledger of Things คือมี “บัญชีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์”เพื่อจะ track อุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทีนี้เมื่อหลังบ้านเป็นดังนี้ ก็จะมีนักพัฒนาต่อยอดเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสาร เชื่อมต่อกันและเชื่อถือกันได้ง่ายขึ้น
1. การขนส่ง - พาหนะต่างๆ ที่เรานั่งไปนั้นจะช่วยเลือกเส้นทางที่เร็วที่สุดให้ หลีกเลี่ยงจุดก่อสร้าง จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายทางด่วน ที่จอดรถ และสื่อสารกับสัญญาณจราจรได้ การขนส่งสินค้าต่างๆ จะจัดการเรื่องการตรวจสอบภาษีได้ไวขึ้น
2. มอนิเตอร์โครงสร้างต่างๆ ในเมือง - สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ และใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการมอนิเตอร์ดูปัจจัยความเสี่ยง บนท้องถนน รางรถไฟ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า สะพาน ท่าเรือ runways เพื่อตรวจสอบดูปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และลดต้นทุนไปได้
3. สายพลังงาน -การบริหารจัดการด้านพลังงานเป็นอุตสหกรรมที่ผูกอยู่กับศูนย์กลางมาอย่างยาวนาน ด้ครเลยจะคิดว่าในอนาคตอันใกล้ เราสามารถที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้เองได้ แต่ด้วย Blockchain จะทำให้การดำเนินการด้านพลังงานจะถูกกระจายศูนย์ ตัวอย่างบริษัท Transaction Grid สามารถให้ผู้ใช้ผลิตพลังงานมาขาย หรือซื้อจากเพื่อนบ้านได้แล้ว
4. การเกษตร - ดูสภาพอากาศ ดิน พืชที่ปลูก สามารถติดเซนเซอร์ได้ วิเคราะห์และแนะนำว่าควรต้องดูแลอย่างไร จากประวัติที่ผ่านมา ต่อไปจะดูได้ว่าวัวของเรากินอะไรกันลงไปบ้าง ดูประวัติสุขภาพที่ผ่านมาเหมือนคนเลยทีเดียว
5. มอนิเตอร์สิ่งแวดล้อม - อุปกรณ์เซนเซอร์จะช่วยเราหาเงินได้ โดยการขายข้อมูลต่างๆ เช่น มอนิเตอร์คุณภาพอากาศ น้ำ และทำการแจ้งเตือนเมื่อมีมลภาวะ หรือภัยอย่างสึนามิ เมื่อเก้าไปอีกขึ้นคือการวิเคราะห์ Pattern และทำการคาดการณ์อนาคตว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
6. สายธุรกิจสุขภาพ - ด้วย Blockchain ข้อมูลต่างๆ สามารถแชร์ได้โดยปราศจากความกังวลทางด้านความปลอดภัยดังเช่นในอดีต มีแพลตฟอร์มอย่าง Gem ที่เปิดตัวมาเป็น Blockchain Network เพื่อให้นักพัฒนาด้านสุขภาพสามารถพัฒนาต่อยอดจากเครือข่ายนี้ได้ อุปกรณ์ IoT ต่างๆ อย่างอวัยวะเทียมเช่น เข่า สะโพก แจ้งเตือนได้ว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว...
ภาพจาก Gem
7. สายประกัน - สามารถใช้อุปกรณ์ IoT ในการติดตามสิ่งของต่างๆ ทั้งของมีค่า ของที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ รถไร้คนขับที่ทุกวันนี้กำลังได้รับการจับตา สามารถติดเซนเซอร์และให้ข้อมูลตอน Claim ประกันได้ละเอียดขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์โดยตรง
8. งานเอกสาร - เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ (Physical asset) กลายเป็น Digital asset เอกสารก็เช่นเดียวกัน ทั้งลิขสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของ การรับรอง ค้ำประกัน จะถูกนำขึ้นไปไว้บน Blockchain ตัวอย่างเช่น คุณจะ Start รถไม่ได้ ถ้าตรวจสอบแล้วว่าประกันหมด เจ้าของไม่จ่ายค่าที่จอดรถ หรือใบขับขี่ของคนขับที่พยายามจะขับรถนั้นดูเป็นที่ต้องสงสัย เรียกว่าทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกันได้แบบ Distributed
9. อสังหาริมทรัพย์ - สามารถเปลี่ยนสถานที่ว่างที่ติดเซนเซอร์นำตัวเองขึ้นไปลิสต์ใน Market place แจ้งว่า Assst ไหนว่างเพื่อเปิดให้คนนอกมาใช้ได้ อารมณ์แบบ Sharing Economy เช่นกัน
10. ภาคโรงงานอุตสหกรรม - ผู้จัดการโรงงานสามารถใช้อุปกรณ์และซอฟแวร์ในการมอนิเตอร์ดูความต้องการของลูกค้า การผลิต คลังสินค้า การแจกจ่าย คุณภาพ การดูแลรักษา เพื่อควบคุมคุณภาพ ตัวเซนเซอร์สามารถออก RFP และจัดให้มีการ bid แข่งขัน ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนขององค์กรขนาดใหญ่ได้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด