ทั่ว Southeast Asia ตอนนี้ “ผู้ใช้บริการทางการเงิน” หรือ “Financial Services” ต่างๆ เริ่มปรับตัวตามกระแส โดยพากันเข็นแอป Mobile Banking ที่สามารถให้บริการทางการเงินได้แบบ Real-time การออกแอปใหม่ คือคำตอบจริงหรือไม่? พาไปดู 3 ปัจจัยที่ช่วยให้ “ผู้ใช้บริการทางการเงิน” ชนะได้สงครามนี้ได้
ในยุดดิจิทัล ณ เวลานี้ การทำธุรกรรมทางการเงินของบุคคลทั่วไปเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก และช่องทางก็มีหลากหลายขึ้น ธุรกรรมการเงินแบบเดิมๆ เช่น การชำระเงิน โอนเงิน โอนเงินต่างประเทศ หรือแม้แต่เงินกู้บุคคลปัจจุบันสามารถทำได้ผ่านบริการ Mobile Application บนแอปพลิเคชันแบบ P2P, QR Code หรือผ่านนวัตกรรมด้าน FinTech อื่นๆ เป็นต้น
ซึ่งทั่ว Southeast Asia ตอนนี้ ผู้ใช้บริการทางการเงิน (Financial Services) และธนาคาร (Bank) ต่างเริ่มปรับตัวตามกระแส โดยพากันเข็นแอป Mobile Banking ที่สามารถให้บริการทางการเงินได้แบบ Real-time ซึ่งในขณะนี้ผู้ใช้บริการทางการเงินหลายรายอนุญาตให้ลูกค้าเข้าถึงบัญชีธนาคารและทำธุรกรรมทางการเงินพื้นฐานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแอปบนมือถือ ซึ่งแอปบางตัวได้รวมเอาฟีเจอร์พิเศษที่ให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งบัญชีของตนเองได้ด้วย
ในขณะที่ไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ให้บริการทางการเงินจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องไปตามพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และขั้นตอนต่างๆ และเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้บริการที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า สถาบันการเงินจึงหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อสร้างความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า พร้อมนำเสนอแอปใหม่ๆ ออกมา
ในการสร้างความคล่องตัวนั้น สถาบันการเงินสามารถศึกษา DevOps, Microservice และ Cloud แล้วนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่มีข้อปฏิบัติเคร่งครัดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยทั้งสามสิ่งมีจุดร่วมเดียวกันคือการเปิดระบบเป็น Open Source
แต่ปัจจัยอะไรที่จะสร้างความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนแปลงของผู้ให้บริการทางการเงินได้บ้าง? คำตอบคือปัจจัย 3 ข้อ ดังนี้
การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือนั้นมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาและสามารถนำไปใช้จริงได้อย่างรวดเร็ว เพราะจะมีแอปที่สร้างขึ้นใหม่ได้รับการอัพเดทและหมดอายุการใช้งาน เป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยความคล่องตัวและความยืดหยุ่นเท่าที่จะเป็นไปได้ ตั้งแต่การพัฒนาแอปไปจนถึงการผสานรวม การตรวจสอบ และการนำไปใช้งาน สถาปัตยกรรม Microservice และ DevOps เชิงรุก สามารถเข้ามาช่วยสนับสนุน ‘รูปแบบในการสร้างให้เร็ว เรียนรู้ให้ไว’ นี้ได้อย่างดี
สถาปัตยกรรม Microservice นับเป็นอีกวิธีในการสร้างแอปสำหรับองค์กร โดยแอปที่มีความซับซ้อนจะได้รับการรวบรวมเป็นโมดูลาร์ เป็นบริการอิสระ ในขณะที่การสื่อสารแบบ Microservice ที่ใช้ RESTful Application Programming Interface (APIs) และ Lightweight Messaging จะยังคงช่วยปรับปรุงระบบปิดภายในองค์กรให้ทันสมัยขึ้น
การใช้สถาปัตยกรรม Microservice ทำให้การพัฒนาแอปมีความคล่องตัวมากขึ้น ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในธุรกิจประเภทดิจิทัลได้ รวมไปถึง Culture ของการพัฒนาบน DevOps สามารถทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างทีมนักพัฒนาและทีมปฏิบัติการได้ ทำให้เกิดการตระหนักถึงโครงสร้างพื้นฐานเป็นลำดับแรกๆ
ทำให้ทีมนักพัฒนาได้ร่วมกันสร้างบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันทีมปฏิบัติการก็จะรับมือในเรื่องของความปลอดภัย ข้อกำหนด การแก้ไขปัญหาของแอป และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน DevOps สามารถช่วยให้ทีม IT รวมเอาการสร้างแอปบนโทรศัพท์มือถือและประยุกต์ระบบหลังบ้านขององค์กรเพื่อนำมาสนับสนุนองค์กรได้อีกด้วย
หากเปรียบเทียบ “เทคโนโลยี” ก็คงเหมือนจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม และถ้าให้เปรียบเทียบ “เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ” (Automation) ก็คงเปรียบได้กับเชื้อเพลิงพลังสูงที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงให้กับสถาบันทางการเงิน
เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติจึงเป็นมากกว่าการบริหารจัดการการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ และแต่ละทีมไปเขียนคู่มือกันเอง
ซึ่งเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติจะเป็นประโยชน์ต่อระบบ IT ทั้งหมด การบริหารจัดการแอปให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือที่สามารถจัดหาทรัพยากร ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ และออกคำสั่งไปยั Enviroment ต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทุกสิ่งและทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น Grab นั้นประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีมาช่วยธุรกิจเปลี่ยนผ่าน ด้วยการปรับปรุงแอปให้รองรับการใช้งานซ้ำๆ หลายร้อยครั้งในแต่ละสัปดาห์ ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นและมีความเสถียรที่ดียิ่งขึ้น และสามารถช่วยทีมวิศวกรรมให้สามารถบริหารจัดการได้ง่าย
Grab ระบุว่าจะเพิ่ม Uptime (ระยะเวลาที่ระบบตอบสนองภายใน 24 ชั่วโมง) ของการใช้งานแอปในภาพรวมให้มากเป็น 99.99% พร้อมทั้งลดเวลาในการพัฒนาและปรับปรุงแอปลง จึงเป็นผลให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปได้เมื่อต้องการ และทีม IT ก็ยังสามารถนำฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เสถียรและมีประสิทธิภาพที่รองรับการเติบโตของฐานลูกค้าได้อีกด้วย
อุตสาหกรรมการให้บริการทางการเงินได้เริ่มเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้มีหน้าที่กำกับดูแลใน Southeast Asia สนับสนุนให้ธนาคารนำเอา APIs ไปใช้เป็นในการพัฒนาระบบและนวัตกรรมต่างๆ ได้
ด้วยตระหนักถึงกระแสดังกล่าว ธนาคารใน Southeast Asia บางแห่งได้เปิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลด้วย APIs เพื่อที่จะให้พันธมิตรของตนผสานรวมผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ มุ่งหวังพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการที่ดีขึ้นของลูกค้าผ่านแอปใหม่ๆ การทำงานร่วมกันครั้งนี้ทำให้องค์กรได้ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกันในการผลักดันนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ของลูกค้านั่นเอง
จิม ไวท์เฮิร์ทส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Red Hat กล่าวในงาน 2017 Red Hat Summit ว่าในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่ผันแปรตลอดเวลา การวางแผนคือสิ่งที่ใช้ไม่ได้อีกต่อไป รูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ ที่ประกอบไปด้วย “การวางแผน การกำหนดทิศทาง และลงมือการปฏิบัติ” นั้นอาจไม่เหมาะสมอีกต่อไป เพราะความสามารถของมนุษย์ในการคาดเดาอนาคตนั้นอาจลดความน่าเชื่อถือลง เนื่องด้วยโลกที่หมุนเร็วขึ้น คาดเดายากขึ้น และซับซ้อนมากขึ้น”
“สิ่งที่ผมเชื่อมั่นว่าสำคัญ คือ การติดอาวุธให้กับองค์กร สร้างกองทัพที่มีการบริหารจัดการได้อย่างดี และมีการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรที่ดี Ecosystem ที่ดีได้ องค์กรที่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีก็จะผงาดขึ้นเป็นผู้ชนะในสงครามที่ผันแปรอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการเงินนี้ได้อย่างแน่นอน”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด