รวม 5 เว็บ-แอปฯ ต้องมี เกาะติด รับมือ COVID-19

หลังจากมีการกลับมาระบาดใหม่ของ COVID-19 ทำให้ใครหลายคนเริ่มกังวลใจอีกครั้ง เพราะการเดินทางไปไหน มาไหนที่ลำบาก และต้องคอยระวังตัวตลอดเวลา ทำให้การดำเนินชีวิตรู้สึกยุ่งยากมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เทคโนโลยีจึงเป็นตัวเลือกสำคัญของทุกคนในโลกของการระบาดของเชื้อไวรัส เพราะเมื่อเราทราบสถานะของผู้ติดเชื้อ พื้นที่เสี่ยง หรือช่องทางการติดต่อแพทย์ จะทำให้ทุกคนรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการใช้ชีวิต จึงมีการรวบรวม 5 เว็บ-แอปพลิเคชันที่คนไทยทุกคนควรมี สำหรับเกาะติดสถานการณ์ และเตรียมรับมือกับ COVID-19 ได้ทัน

1. COVID-19 Tracker

‘COVID-19 Tracker’ เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามสถานะผู้ติดเชื้อที่พัฒนาโดย 5Lab บริษัทของคนไทย โดยจะมีการแสดงผลสถานะของผู้ติดเชื้อบนแผนที่ รายงานพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าสู่พื้นที่นั้นๆ มีการแสดงจำนวนผู้ที่ติดเชื้อในพื้นที่ต่างๆ แบบ Real-time รวมไปถึงพื้นที่ที่ผ่านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อแล้วอีกด้วย สำหรับเว็บแอปฯ นี้ ยังมีช่องทางแจ้งข่าวสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในประเทศ จำนวนผู้ที่รักษาหายแล้ว สถานะข่าวปลอม และยังมีการเปิดให้ร้านอาหาร และร้านค้าไปฝากร้านกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในช่วงวิกฤตแบบนี้อีกด้วย

โดยสามารถเข้าใช้งาน COVID-19 Tracker ได้ที่ https://covidtracker.5lab.co/

2. Away COVID-19

อีกหนึ่งมินิแอปฯ ที่เป็นตัวช่วยในช่วงของการระบาด คือ ‘Away COVID-19’ ซึ่งสามารถใช้งานง่ายๆ ได้ผ่าน LINE แอปพลิเคชัน พัฒนาโดยบริษัท MAPEDIA โดยในแอปฯ จะมีแผนที่แสดงสถานะของผู้ติดเชื้อในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถทราบได้ทันที่ว่าบริเวณนั้นๆ มีผู้ติดเชื้อจำนวนกี่คน พวกเขาเข้ารับการรักษา หรือกักตัวแล้วหรือยัง นอกจากนี้ยังสามารถใช้แอปฯ นี้ช่วยค้นหาเส้นทางไปสถานพยาบาลที่มีบริการตรวจเชื้อ COVID-19 มีข่าวสารสถิติของผู้ติดเชื้อในประเทศไทย และยังมีข้อมูลของสถานที่บริจาคสิ่งของ และตำแหน่งร้านเวชภัณฑ์ต่างๆ

โดยสามารถแอดไลน์เพื่อเข้าใช้งาน Away COVID-19 ได้ที่ https://lin.ee/aiQ8lsq

3. หมอชนะ

สำหรับแอปพลิเคชันฝีมือคนไทยอย่าง ‘หมอชนะ’ เป็นอีกหนึ่งแอปฯ ที่ช่วยให้คนไทยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการไปลงทะเบียน ตอบคำถามเพื่อประเมินความเสี่ยง ซึ่งแอปฯ จะทำการประมวลผลข้อมูลสุขภาพ และติดตามการเดินทางของผู้ใช้ตามการเช็คอินในสถานที่ต่างๆ โดยจะมีการแสดงระดับความเสี่ยงของผู้ใช้แต่ละคนตามระดับสี ตั้งแต่สีเขียวที่มีความเสี่ยงต่ำมาก ไปจนถึงสีแดงที่มีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะมีประโยชน์สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถช่วยจัดลำดับความเร่งด่วนในการรักษา และเป็นช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของทั้งกลุ่มแพทย์ และประชาชนทั่วไปอีกด้วย

โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หมอชนะ คลิก iOS และ Android 

4. ใกล้มือหมอ

‘ใกล้มือหมอ’ แอปพลิเคชันที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ หรือ สสส. เป็นแอปฯ สำหรับใช้ตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยจะมีทั้งคลิปวิดีโอสั้นๆ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล ซึ่งผู้ใช้สามารถบันทึกลักษณะอาการลงไป และสามารถคอยติดตามผลย้อนหลังได้ และสำหรับบุคคลที่มีข้อสงสัยด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 สามารถไปพิมพ์คำถามทิ้งไว้ และหลังจากนั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญมาตอบของท่าน นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเช็คตำแหน่งสถานพยาบาลใกล้ตัวท่านที่สามารถไปตรวจหาเชื้อ COVID-19 ได้อีกเช่นกัน

โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ใกล้มือหมอ คลิก iOS และ Android

5. Card2U

และอีกหนึ่งแอปพลิเคชันฝีมือคนไทยที่ผลิตมาเพื่อคนไทย และเป็นตัวช่วยในการสอดส่องเรื่องการระบาดของ COVID-19 ก็คือ ‘Card2U’ ที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากเว็บไซต์ ThaiFightCOVID ซึ่งแอปฯ นี้จะมีการนำเสนอข่าวสาร ทั้งข่าวด่วนและข่าวประจำวันเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาด สถิติจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ พื้นที่เสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง มีช่องทางตรวจสอบข่าวปลอม และยังสามารถดูประกาศต่างๆ จากภาครัฐได้ รวมไปถึงเมนูสำหรับบันทึกอาการ และลำดับการเดินทางของผู้ใช้งานตามการเช็คอินในสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบสถานพยาบาลที่มีบริการตรวจเชื้อไวรัส และมีการแจกโปรโมชั่นจากร้านอาหาร ร้านค้า และบริการต่างๆ ในช่วงของการระบาดอีกด้วย

โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Card2U คลิก iOS และ Android 


No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...