เจาะ 5 เทรนด์เทคโนโลยี พลิกการเรียนในโลกอนาคต

เจาะ 5 เทรนด์เทคโนโลยี พลิกการเรียนในโลกอนาคต

เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีที่การสอนและการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนดิจิทัล การเรียนรู้ร่วมกันในโลกออนไลน์ เทคโนโลยี VR และ AI ที่ได้เข้ามามีผลต่อระบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนทั่วโลกและจะมีมากขึ้นไปอีกในอนาคต เราจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อเป็นการรับมือกับสิ่งเหล่านี้ ที่จะมีการแข่งขันอย่างดุเดือดไม่เฉพาะมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป

แน่นอนว่า การพัฒนาระบบการศึกษานั้นจะเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพประชากร และจะนำไปสู่การมีสังคมที่ดีกว่า เมื่อการนั่งในห้องเรียนแลัวท่องจำ อาจไม่ใช่รูปแบบการเรียนที่สามารถใช้ในโลกอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป แล้วเราจะให้ความรู้เหล่าเจเนอเรชั่นในอนาคตได้อย่างไร? ในอีก 30 ปีข้างหน้า คำว่าการศึกษานั้นจะยังมีความหมายเปลี่ยนไปจากปัจจุบันมากแค่ไหน? ในบทความนี้เราได้รวบรวมเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาในอนาคต มาดูกันว่าทิศทางของการศึกษานั้นจะเดินไปในทางไหนเพื่อที่พวกเราจะได้เตรียมรับมือทัน

เปิดโลกทางการศึกษาให้กว้างขึ้นผ่านห้องเรียนดิจิตัล

อินเตอร์เน็ตนั้นได้เปลี่ยนวิธีการรับข้อมูลข่าวสาร ที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้นี่แหละที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการเรียนรู้ในโลกอนาคตอันใกล้ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันได้มีคอร์สออนไลน์เกิดขึ้นจำนวนมาก ห้องเรียนดิจิตัล หรือ MOOCs (Massive Open Online Courses) เป็นระบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าใช้ไม่จำกัด ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกคุณก็สามารถเข้าเรียนในคอร์สของมหาวิทยาลัยชั้นนำได้ในราคาที่เอื้อมถึง

นับว่าเป็นการปฏิรูปการนั่งในห้องเรียนแบบเดิมๆ เลยก็ว่าได้ รูปแบบการเรียนการสอนที่ทำให้คอร์สมีความ interactive มากขึ้นอีกทั้งยังเป็น project-based ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสามารถนับไปปรับใช้ได้จริง เราอาจจะไม่ต้องท่องไปยังโลกอนาคตในตอนนี้ก็ได้ ลองมาตัวอย่างดูห้องเรียนในปัจจุบันที่ได้มีการปรับการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น การรวมการสอนในห้องเรียนกับระบบออนไลน์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น นักเรียนได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับขึ้นตอนการทดลองที่บ้าน ในขณะที่อยู่ในห้องเรียนเด็กก็ได้นำสิ่งที่ได้ดูมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ

ข้อดีของการศึกษาแบบบูรณะสื่อออนไลน์เข้าไว้ด้วยกันนี่แหละที่จะทำให้เด็กสามารถออกแบบสไตล์การเรียนรู้ของตัวเอง สามารถควบคุม รู้จังหวะ และเลือกสถานที่ในการเรียนของพวกเขาได้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีคอร์สออนไลน์จำนวนมาก แต่ในอนาคตจะมีการทำการ mass-customized ปรับให้เข้ากับผู้เรียนแต่ละคน เพราะมนุษย์แต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสไตล์การเรียนรู้และเส้นทางการดำเนินชีวิต การศึกษาที่พวกเขาจะได้รับก็ควรที่จะช่วยตอบสนองถึงความต้องการส่วนบุคคลด้วย

การเรียนการสอนออนไลน์ที่จะช่วยทำให้เกิดความร่วมมือระดับโลก

เป็นครั้งแรก ซึ่งก็จะไปรวมกับกลุ่มของคนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น เทรนด์นี้จะทำให้ทำให้เกิด กระแสการเรียนออนไลน์มากขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้เรียนระดับโลก

การเข้ามาของเว็บนี่เองที่จะทำให้เด็กมีความกล้ามากขึ้นที่จะมีสิทธิ์มีเสียงและออกไอเดียของตัวเองได้ เมื่อพวกเขาได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มเครือข่ายการเรียนออนไลน์ พวกเขาจะมีความรู้สึกเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกับเขาอีกด้วย ตัวอย่างเช่น Belouga ได้มีการเชื่อมต่อห้องเรียนทั่วโลกผ่าน video conference และ online chat การเปิดโอกาสให้เด็กทั่วโลกสามารถเข้ามาคอนเนกต์ แลกเปลี่ยนความรู้กันในเครือข่ายนี้ ช่วยให้เด็กได้มีความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม การทำงานเป็นทีม และเรื่องของความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะเด็กเท่านั้น ผู้สอนเองก็เช่นกัน จะมีการพัฒนาในเรื่องการทำงานร่วมกันและเริ่มมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการสอนมากขึ้น

ทิศทางตลาดของแรงงานในอนาคต

ปัจจุบันเด็กที่เรียนจบมาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในเรื่องของแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ การมี mindset ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะที่จำเป็นในการเอาตัวรอดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อพวกเขาขาดทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้ขาดแรงบันดาลใจที่จะเข้ามาในระบบแรงงาน

จากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่าจะมีงานจำนวน 65 เปอร์เซ็น ที่เด็กวัยกำลังเรียนในวัยมัธยมนั้นยังไม่เป็นที่ปรากฏ อุตสาหกรรมใหม่นั้นจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ถ้าหากใครไม่ปรับตัวจะล้มหายไปเนื่องจากถูก disrupt เสียเอง แรงงานในอนาคตมีความจำเป็นในการเข้าถึงการเรียนออนไลน์ และต้องมีแหล่งทรัพยากรมากพอต่อการพัฒนาทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการ

นอกจากนี้รายงานของ McKinsey พบว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่เข้ามาทำการ automate กิจกรรมต่างๆ กว่า 45 เปอร์เซ็น ที่คนปัจจุบันทำเพื่อค่าจ้าง ในอนาคตจะมีอาชีพใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ อีกทั้งงานในปัจจุบันก็จะถูก automate จำนวนมาก ทักษะที่จำเป็นในช่วง 21st-century skills ที่ต้องอาศัยทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking​) การมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity and imagination) ทักษะการแก้ปัญหา(Problem solving) และการทำงานเป็นทีม ​(Collaboration and teamwork) และงานที่ต้องใช้ human touch ซึ่งหุ่นยนตร์ก็ยังทำแทนไม่ได้และคงไม่ได้ถูก disrupt เร็วๆ นี้แน่นอน คำถามก็คือ ระบบการศึกษาในปัจจุบันนั้น ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตแค่ไหน?

จะเห็นได้ว่า ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การสร้างความรักในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาตนเอง ความอยากรู้อยากเห็นต่อไอเดียและการพัฒนาทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นสิ่งที่จะต้องฝึกฝนตั้งแต่ตอนนี้ ไม่อย่างงั้นล่ะก็ การหาจุดยืนในอนาคตก็ค่อนข้างจะลำบาก

ท่องไปยังสถานที่ใหม่กับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง

เห็นด้วยไหมคะว่าภาพนั้นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการจดจำได้ดีกว่าการอ่านเรื่องราวจาก textbook เพียงอย่างเดียว คงไม่มีใครเถียงว่าเทคโนโลยี Virtual Reality และ Augmented Reality นั้นจะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ทางการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันสามารถพานักเรียนที่นั่งในห้องเรียนเดินทางรอบโลกไปจนถึงจักรวาล ไม่ว่าจะเดินทางย้อนไปยังโลกประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ ท่องไปในกาแล็กซี่อื่น เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของแต่ละประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องออกจากห้องเรียนเลย!

ผลิตภัณฑ์ที่มีออกมาให้ได้เห็นกันบ้างแล้วก็คือ Google Expeditions Pioneer Program เจ้าเครื่องนี้มันสามารถพานักเรียนท่องไปยังสถานที่แห่งไหนก็ได้บนโลก อยากจะไปดำดิ่งชมประการังหรือท่องไปยังพื้นผิวดาวอังคารในตอนบ่าย เรียกได้ว่าจะเป็นประสบการณ์การการทัศนศึกษาแบบใหม่ที่ดูเยี่ยมยอดไปเลยว่าไหม?

ข้อดีของเทคโนโลยีประเภทนี้คือ มันให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้มากขึ้น การให้แรงบันดาลใจ สามารถนำมาปรับใช้ในแต่ละวิชา อีกทั้งนักเรียนยังได้ดื่มด่ำไปกับประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้นี่เอง ที่จะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาทักษะในด้านการตัดสินใจ

BIG DATA และ ​AI ปรับการเรียนการสอนให้เข้ากับแต่ละบุคคลและโปรแกรมช่วยสอนแบบเรียลไทม์

Big Data นั้นจะเข้ามาทำการวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้ประสบการณ์การเรียนที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อนักเรียนแต่ละคนได้จริง มันสามารถทำการประเมินได้เลยว่า รูปแบบการสอนแบบไหนที่เหมาะกับการสอนเด็กจำนวนมากและรูปแบบไหนที่เหมาะสำหรับการสอนเฉพาะบุคคล

โดยกลุ่มข้อมูลนี้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาผลการเรียนของเด็กให้ดีขึ้นได้อีกด้วย ผ่านการทำความเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่นหรือจุดไหนต้องปรับปรุง และทำการสร้างโปรแกรมเฉพาะขึ้นมาเองได้ ระบบอัลกอริธึมสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนและสร้างโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นต่อผู้เรียนโดยมีการให้ฟีดแบ็คแบบเรียลไทม์

ในอนาคตข้างหน้า มันอาจจะทำได้ถึงขนาดที่ว่า AI นั้นจะเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้สอนหรือมาแทนที่เลยก็ได้ ตัวอย่างหนึ่งคือ ได้มีครูท่านหนึ่งในรัฐจอร์เจียประเทศอเมริกาใช้ผู้ช่วยที่เป็น AI ในการสอนและแชทกับนักเรียน ที่น่าประหลาดใจก็คือ เด็กบางคนแทบจะแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่านั่นคือ AI ไม่ใช่ผู้สอนตัวจริง!

ทิศทางการศึกษาในอนาคต การรับมือ การปลูกฝังเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “disrupt or be disrupted” ถ้าไม่เปลี่ยนก็จะมีเปลี่ยนคนอื่นมาเปลี่ยนให้

จากตัวอย่างข้างต้น ก็คงจะได้เห็นตัวอย่างของบางองค์กรที่ได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการแก้ไขปัญหาการศึกษา อีกทั้งยังอยู่ในราคาที่ทุกคนสามารถเอื้อมถึงได้ ทางเลือกของระบบการศึกษาแบบโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัยก็คือ จะทำการปรับเปลี่ยนและ integrate เทคโนโลยีเหล่านี้เอง หรือจะเป็นผู้ตามผู้ที่จะนำเทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามา

ในท้ายที่สุดแล้ว การศึกษาอาจจะถือว่าเป็นภาพสะท้อนของคุณค่าของพวกเราในฐานะมนุษย์ก็เป็นได้ สิ่งที่เราสอนและวิธีการสอนผู้ที่จะอยู่ต่อไปในอนาคตนั้นจะส่งผลกระทบต่อโลกที่เราอยู่อย่างแน่นอน อย่างที่ John Dewey นักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน ได้กล่าวว่า “หากสิ่งที่เราสอนทุกวันนี้ยังคงเหมือนกับสิ่งที่เราสอนไปเมื่อวาน นั่นก็เท่ากับว่าเราได้ทำการช่วงชิงเวลาของคนในอนาคตไปแล้ว”

การศึกษานั้นไม่ควรจะเป็นอะไรที่คุณทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เพื่อใบรับรองอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ควรจะเป็นสิ่งที่ทุกคนได้มีการเรียนรู้และค้นคว้าในสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การค้นหาตัวเองและการดำเนินชีวิตโดยการมีแรงขับเคลื่อนจากภายใน การศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังต้องทำให้มันสนุกอีกด้วย!

นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Education 2030 พบว่า การศึกษาในอนาคตนั้นจะถูกปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล ทุกช่วงอายุวัย จะมีโปรแกรมเตรียมพร้อมให้ตั้งแต่วัยก่อนคลอดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ที่จะให้ทั้งความรู้ ทักษะที่จำเป็นในการทำงาน และกิจกรรที่พวกเขาสามารถสนุกไปกับมันได้ในยามว่าง มากไปกว่านั้นการผสมผสานให้เกิดระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นอาจรวมไปถึงความจำเป็นในเรื่องของการจัดการกับสาเหตุหลักๆ ของคนที่ประสบปัญหาโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาทางสุขภาพจิต ตัวอย่างนึงจากการศึกษาใน Education 2030 พบว่าการออกแบบวิธีการเรียนรู้ในอนาคตเฉพาะบุคคลนั้นสามารถช่วยป้องกันคนจากอาการไม่มีความสุขได้ และโปรแกรมก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความลำเอียง ความเกลียดชัง ซึ่งแน่นอนว่ามันจะทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ

 

แปลและเรียบเรียงจาก:

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...