เจาะ 5 เทรนด์เทคโนโลยี พลิกการเรียนในโลกอนาคต

เจาะ 5 เทรนด์เทคโนโลยี พลิกการเรียนในโลกอนาคต

เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีที่การสอนและการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนดิจิทัล การเรียนรู้ร่วมกันในโลกออนไลน์ เทคโนโลยี VR และ AI ที่ได้เข้ามามีผลต่อระบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนทั่วโลกและจะมีมากขึ้นไปอีกในอนาคต เราจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อเป็นการรับมือกับสิ่งเหล่านี้ ที่จะมีการแข่งขันอย่างดุเดือดไม่เฉพาะมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป

แน่นอนว่า การพัฒนาระบบการศึกษานั้นจะเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพประชากร และจะนำไปสู่การมีสังคมที่ดีกว่า เมื่อการนั่งในห้องเรียนแลัวท่องจำ อาจไม่ใช่รูปแบบการเรียนที่สามารถใช้ในโลกอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป แล้วเราจะให้ความรู้เหล่าเจเนอเรชั่นในอนาคตได้อย่างไร? ในอีก 30 ปีข้างหน้า คำว่าการศึกษานั้นจะยังมีความหมายเปลี่ยนไปจากปัจจุบันมากแค่ไหน? ในบทความนี้เราได้รวบรวมเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาในอนาคต มาดูกันว่าทิศทางของการศึกษานั้นจะเดินไปในทางไหนเพื่อที่พวกเราจะได้เตรียมรับมือทัน

เปิดโลกทางการศึกษาให้กว้างขึ้นผ่านห้องเรียนดิจิตัล

อินเตอร์เน็ตนั้นได้เปลี่ยนวิธีการรับข้อมูลข่าวสาร ที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้นี่แหละที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการเรียนรู้ในโลกอนาคตอันใกล้ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันได้มีคอร์สออนไลน์เกิดขึ้นจำนวนมาก ห้องเรียนดิจิตัล หรือ MOOCs (Massive Open Online Courses) เป็นระบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าใช้ไม่จำกัด ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกคุณก็สามารถเข้าเรียนในคอร์สของมหาวิทยาลัยชั้นนำได้ในราคาที่เอื้อมถึง

นับว่าเป็นการปฏิรูปการนั่งในห้องเรียนแบบเดิมๆ เลยก็ว่าได้ รูปแบบการเรียนการสอนที่ทำให้คอร์สมีความ interactive มากขึ้นอีกทั้งยังเป็น project-based ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสามารถนับไปปรับใช้ได้จริง เราอาจจะไม่ต้องท่องไปยังโลกอนาคตในตอนนี้ก็ได้ ลองมาตัวอย่างดูห้องเรียนในปัจจุบันที่ได้มีการปรับการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น การรวมการสอนในห้องเรียนกับระบบออนไลน์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น นักเรียนได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับขึ้นตอนการทดลองที่บ้าน ในขณะที่อยู่ในห้องเรียนเด็กก็ได้นำสิ่งที่ได้ดูมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ

ข้อดีของการศึกษาแบบบูรณะสื่อออนไลน์เข้าไว้ด้วยกันนี่แหละที่จะทำให้เด็กสามารถออกแบบสไตล์การเรียนรู้ของตัวเอง สามารถควบคุม รู้จังหวะ และเลือกสถานที่ในการเรียนของพวกเขาได้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีคอร์สออนไลน์จำนวนมาก แต่ในอนาคตจะมีการทำการ mass-customized ปรับให้เข้ากับผู้เรียนแต่ละคน เพราะมนุษย์แต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสไตล์การเรียนรู้และเส้นทางการดำเนินชีวิต การศึกษาที่พวกเขาจะได้รับก็ควรที่จะช่วยตอบสนองถึงความต้องการส่วนบุคคลด้วย

การเรียนการสอนออนไลน์ที่จะช่วยทำให้เกิดความร่วมมือระดับโลก

เป็นครั้งแรก ซึ่งก็จะไปรวมกับกลุ่มของคนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น เทรนด์นี้จะทำให้ทำให้เกิด กระแสการเรียนออนไลน์มากขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้เรียนระดับโลก

การเข้ามาของเว็บนี่เองที่จะทำให้เด็กมีความกล้ามากขึ้นที่จะมีสิทธิ์มีเสียงและออกไอเดียของตัวเองได้ เมื่อพวกเขาได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มเครือข่ายการเรียนออนไลน์ พวกเขาจะมีความรู้สึกเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกับเขาอีกด้วย ตัวอย่างเช่น Belouga ได้มีการเชื่อมต่อห้องเรียนทั่วโลกผ่าน video conference และ online chat การเปิดโอกาสให้เด็กทั่วโลกสามารถเข้ามาคอนเนกต์ แลกเปลี่ยนความรู้กันในเครือข่ายนี้ ช่วยให้เด็กได้มีความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม การทำงานเป็นทีม และเรื่องของความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะเด็กเท่านั้น ผู้สอนเองก็เช่นกัน จะมีการพัฒนาในเรื่องการทำงานร่วมกันและเริ่มมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการสอนมากขึ้น

ทิศทางตลาดของแรงงานในอนาคต

ปัจจุบันเด็กที่เรียนจบมาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในเรื่องของแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ การมี mindset ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะที่จำเป็นในการเอาตัวรอดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อพวกเขาขาดทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้ขาดแรงบันดาลใจที่จะเข้ามาในระบบแรงงาน

จากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่าจะมีงานจำนวน 65 เปอร์เซ็น ที่เด็กวัยกำลังเรียนในวัยมัธยมนั้นยังไม่เป็นที่ปรากฏ อุตสาหกรรมใหม่นั้นจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ถ้าหากใครไม่ปรับตัวจะล้มหายไปเนื่องจากถูก disrupt เสียเอง แรงงานในอนาคตมีความจำเป็นในการเข้าถึงการเรียนออนไลน์ และต้องมีแหล่งทรัพยากรมากพอต่อการพัฒนาทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการ

นอกจากนี้รายงานของ McKinsey พบว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่เข้ามาทำการ automate กิจกรรมต่างๆ กว่า 45 เปอร์เซ็น ที่คนปัจจุบันทำเพื่อค่าจ้าง ในอนาคตจะมีอาชีพใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ อีกทั้งงานในปัจจุบันก็จะถูก automate จำนวนมาก ทักษะที่จำเป็นในช่วง 21st-century skills ที่ต้องอาศัยทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking​) การมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity and imagination) ทักษะการแก้ปัญหา(Problem solving) และการทำงานเป็นทีม ​(Collaboration and teamwork) และงานที่ต้องใช้ human touch ซึ่งหุ่นยนตร์ก็ยังทำแทนไม่ได้และคงไม่ได้ถูก disrupt เร็วๆ นี้แน่นอน คำถามก็คือ ระบบการศึกษาในปัจจุบันนั้น ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตแค่ไหน?

จะเห็นได้ว่า ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การสร้างความรักในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาตนเอง ความอยากรู้อยากเห็นต่อไอเดียและการพัฒนาทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นสิ่งที่จะต้องฝึกฝนตั้งแต่ตอนนี้ ไม่อย่างงั้นล่ะก็ การหาจุดยืนในอนาคตก็ค่อนข้างจะลำบาก

ท่องไปยังสถานที่ใหม่กับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง

เห็นด้วยไหมคะว่าภาพนั้นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการจดจำได้ดีกว่าการอ่านเรื่องราวจาก textbook เพียงอย่างเดียว คงไม่มีใครเถียงว่าเทคโนโลยี Virtual Reality และ Augmented Reality นั้นจะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ทางการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันสามารถพานักเรียนที่นั่งในห้องเรียนเดินทางรอบโลกไปจนถึงจักรวาล ไม่ว่าจะเดินทางย้อนไปยังโลกประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ ท่องไปในกาแล็กซี่อื่น เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของแต่ละประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องออกจากห้องเรียนเลย!

ผลิตภัณฑ์ที่มีออกมาให้ได้เห็นกันบ้างแล้วก็คือ Google Expeditions Pioneer Program เจ้าเครื่องนี้มันสามารถพานักเรียนท่องไปยังสถานที่แห่งไหนก็ได้บนโลก อยากจะไปดำดิ่งชมประการังหรือท่องไปยังพื้นผิวดาวอังคารในตอนบ่าย เรียกได้ว่าจะเป็นประสบการณ์การการทัศนศึกษาแบบใหม่ที่ดูเยี่ยมยอดไปเลยว่าไหม?

ข้อดีของเทคโนโลยีประเภทนี้คือ มันให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้มากขึ้น การให้แรงบันดาลใจ สามารถนำมาปรับใช้ในแต่ละวิชา อีกทั้งนักเรียนยังได้ดื่มด่ำไปกับประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้นี่เอง ที่จะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาทักษะในด้านการตัดสินใจ

BIG DATA และ ​AI ปรับการเรียนการสอนให้เข้ากับแต่ละบุคคลและโปรแกรมช่วยสอนแบบเรียลไทม์

Big Data นั้นจะเข้ามาทำการวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้ประสบการณ์การเรียนที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อนักเรียนแต่ละคนได้จริง มันสามารถทำการประเมินได้เลยว่า รูปแบบการสอนแบบไหนที่เหมาะกับการสอนเด็กจำนวนมากและรูปแบบไหนที่เหมาะสำหรับการสอนเฉพาะบุคคล

โดยกลุ่มข้อมูลนี้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาผลการเรียนของเด็กให้ดีขึ้นได้อีกด้วย ผ่านการทำความเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่นหรือจุดไหนต้องปรับปรุง และทำการสร้างโปรแกรมเฉพาะขึ้นมาเองได้ ระบบอัลกอริธึมสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนและสร้างโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นต่อผู้เรียนโดยมีการให้ฟีดแบ็คแบบเรียลไทม์

ในอนาคตข้างหน้า มันอาจจะทำได้ถึงขนาดที่ว่า AI นั้นจะเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้สอนหรือมาแทนที่เลยก็ได้ ตัวอย่างหนึ่งคือ ได้มีครูท่านหนึ่งในรัฐจอร์เจียประเทศอเมริกาใช้ผู้ช่วยที่เป็น AI ในการสอนและแชทกับนักเรียน ที่น่าประหลาดใจก็คือ เด็กบางคนแทบจะแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่านั่นคือ AI ไม่ใช่ผู้สอนตัวจริง!

ทิศทางการศึกษาในอนาคต การรับมือ การปลูกฝังเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “disrupt or be disrupted” ถ้าไม่เปลี่ยนก็จะมีเปลี่ยนคนอื่นมาเปลี่ยนให้

จากตัวอย่างข้างต้น ก็คงจะได้เห็นตัวอย่างของบางองค์กรที่ได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการแก้ไขปัญหาการศึกษา อีกทั้งยังอยู่ในราคาที่ทุกคนสามารถเอื้อมถึงได้ ทางเลือกของระบบการศึกษาแบบโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัยก็คือ จะทำการปรับเปลี่ยนและ integrate เทคโนโลยีเหล่านี้เอง หรือจะเป็นผู้ตามผู้ที่จะนำเทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามา

ในท้ายที่สุดแล้ว การศึกษาอาจจะถือว่าเป็นภาพสะท้อนของคุณค่าของพวกเราในฐานะมนุษย์ก็เป็นได้ สิ่งที่เราสอนและวิธีการสอนผู้ที่จะอยู่ต่อไปในอนาคตนั้นจะส่งผลกระทบต่อโลกที่เราอยู่อย่างแน่นอน อย่างที่ John Dewey นักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน ได้กล่าวว่า “หากสิ่งที่เราสอนทุกวันนี้ยังคงเหมือนกับสิ่งที่เราสอนไปเมื่อวาน นั่นก็เท่ากับว่าเราได้ทำการช่วงชิงเวลาของคนในอนาคตไปแล้ว”

การศึกษานั้นไม่ควรจะเป็นอะไรที่คุณทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เพื่อใบรับรองอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ควรจะเป็นสิ่งที่ทุกคนได้มีการเรียนรู้และค้นคว้าในสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การค้นหาตัวเองและการดำเนินชีวิตโดยการมีแรงขับเคลื่อนจากภายใน การศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังต้องทำให้มันสนุกอีกด้วย!

นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Education 2030 พบว่า การศึกษาในอนาคตนั้นจะถูกปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล ทุกช่วงอายุวัย จะมีโปรแกรมเตรียมพร้อมให้ตั้งแต่วัยก่อนคลอดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ที่จะให้ทั้งความรู้ ทักษะที่จำเป็นในการทำงาน และกิจกรรที่พวกเขาสามารถสนุกไปกับมันได้ในยามว่าง มากไปกว่านั้นการผสมผสานให้เกิดระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นอาจรวมไปถึงความจำเป็นในเรื่องของการจัดการกับสาเหตุหลักๆ ของคนที่ประสบปัญหาโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาทางสุขภาพจิต ตัวอย่างนึงจากการศึกษาใน Education 2030 พบว่าการออกแบบวิธีการเรียนรู้ในอนาคตเฉพาะบุคคลนั้นสามารถช่วยป้องกันคนจากอาการไม่มีความสุขได้ และโปรแกรมก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความลำเอียง ความเกลียดชัง ซึ่งแน่นอนว่ามันจะทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ

 

แปลและเรียบเรียงจาก:

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...