5 อันดับเทรนด์ไอทีมาแรงที่จะมาเปลี่ยนโฉมการทำงานในอนาคต | Techsauce

5 อันดับเทรนด์ไอทีมาแรงที่จะมาเปลี่ยนโฉมการทำงานในอนาคต

อย่างที่ทราบกันว่าการแพร่ระบาดได้เปลี่ยนโลกธุรกิจไปอย่างมาก แผนกไอทีก็ไม่มีข้อยกเว้น The Great Reshuffle (การโยกย้ายข้ามสายงานหลังการลาออกครั้งใหญ่) ทำให้มีผู้คนออกจากงานมากมาย เมื่อลำดับความสำคัญส่วนตัวและความเชี่ยวชาญของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป จึงส่งผลต่อ employee landscape และวิธีการบริหารงานของธุรกิจในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า The Great Reshuffle นี้ก็กำลังเปลี่ยนลำดับความสำคัญของเหล่าซีเนียในแผนกไอทีเช่นกัน

องค์กรเริ่มเล็งเห็นว่าประสบการณ์ไม่เพียงสำคัญต่อลูกค้าเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อพนักงานของพวกเขาด้วย ผู้นำทางธุรกิจจึงหันมาหาไอทีเพื่อให้พวกเขาช่วยมอบประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงนี้ ดังนั้นตอนนี้ไอทีจึงมีบทบาทสำคัญในการวางกลยุทธ์ธุรกิจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

เทรนด์ไอทีที่จะมาเปลี่ยนโฉมการทำงานในอนาคตหลังโลกการแพร่ระบาด

จากรายงานล่าสุดของ MuleSoft ที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแผนกไอที มีข้อมูลเชิงลึกจากผู้นำด้านไอทีกว่า 1,000 คน เกี่ยวกับการโยกย้ายบุคลลากร กระบวนการ และ การดำเนินงานทางเทคโนโลยีภายในองค์กรของพวกเขา ผลลัพท์แสดงให้เห็นว่าจุดโฟกัสได้เปลี่ยนไปเป็นการเน้นสร้างความสามารถที่ตัวบุคคลและประสบการณ์ เพื่อตอบรับกับความต้องการล่าสุดของธุรกิจ พนักงาน และลูกค้า

ต่อไปนี้คือ 5 เทรนด์เปลี่ยนโฉมไอทีโดยการใช้ข้อมูลจากรายงาน IT Leaders Pulse Report 2022

1. ไอทีลงทุนในเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการ

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้กลายมาเป็นส่วนประกอบหลักของกลยุทธ์ทางธุรกิจ ไอทีได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้ดำเนินการด้านเทคโนโลยี ไปเป็นผู้นำทีมธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญทางเทคนิคอย่างลึกซึ้ง ทีมงานทั่วทั้งองค์กรพึ่งพาพวกเขาในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ปลดล็อกระบบที่เหมาะสม และเปิดใช้งานระบบอัตโนมัติ แปลได้ว่าไอทีได้กลายมาเป็นประตูสู่หลากหลายฟังก์ชันหลักทางธุรกิจไปแล้ว

จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ผู้นำไอทีอาวุโสจึงทำการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนของพวกเขาใหม่ ตลอดทั้งอุตสาหกรรมต่อไปนี้อีกเป็นเวลา 12 เดือน ลำดับความสำคัญของการลงทุนทางไอทีจะถูกแบ่งเป็น 50% เข้าสู่เทคโนโลยี และที่เหลือคือ บุคลากร 24% และกระบวนการต่างๆ อีก 26%

2. ประสบการณ์ของตัวบุคคลจะกลายเป็นจุดโฟกัสสำคัญ

ปริมาณคร่าว ๆ ของผู้นำไอทีจำนวณ 4 ใน 5 คนมีความเห็นตรงกันว่า การพัฒนาวิธีการเผชิญหน้ากับลูกค้า และเทคโนโลยีแก่พนักงานนั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการดำเนินการให้สำเร็จในองค์กร เราทราบกันอยู่แล้วว่าประสบการณ์ของลูกค้านั้นเป็นองค์ประกอบหลักของความสำเร็จ แต่ตอนนี้องค์กรได้ตระหนักว่าพนักงานของพวกเขาก็ควรได้รับประสบการณ์การทำงานที่ดีด้วยเช่นกัน

81% ของผู้นำด้านไอทีเห็นด้วยว่า การลงทุนในตัวบุคคลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก พวกเขาจึงปรับส่วนการลงทุนตามความสำคัญนี้ โดย 82% ลงทุนในคุณภาพความเป็นอยู่ของพนักงานด้วยงบประมาณสร้างสรรค์ที่ใช้เกี่ยวกับการทำงานอย่างยืดหยุ่นและการทำงานระยะไกลนั่นเอง

3. ระบบอัตโนมัติถูกนำมาใช้จัดการกับช่องว่างทักษะ

ช่องว่างทักษะที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ไปใช้ และจัดการนั้นเป็นปัญหาที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่หลังสถานการณ์การลาออกครั้งใหญ่ ปัญหาเหล่านี้ก็ยิ่งแย่ลงไปอีก จุดที่น่าสังเกตก็คือ 60% ของผู้นำด้านไอทีกล่าวว่า พวกเขาเจอช่องว่างทักษะในการวางฟังก์ชันสถาปัตยกรรมโซลูชัน ในขณะที่อีก 45% เจอช่องว่างในการจัดการระบบคลาวด์และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน

หลายต่อหลายคนหันมาใช้ระบบอัตโนมัติ และระบบประเมินตนเองในการจัดการช่องว่างเหล่านี้ ตลอดทั่วทั้งอุตสาหกรรม กว่า 58% ขององค์กรกำลังแก้ไขปัญหานี้โดยทำให้งาน และกระบวนการต่าง ๆ กลายเป็นระบบอัตโนมัติ และอีก 53% ก็มอบอำนาจให้แก่พนักงานที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา

4. ทีมแบบผสมผสานช่วยลดความท้าทายของกระบวนการทำงาน

เมื่อไอทีเข้ามามีส่วนร่วมในกลยุทธ์ทางธุรกิจมากขึ้น ทีมไอทีกับทีมธุรกิจจึงจำเป็นต้องร่วมงานกันบ่อยขึ้น อย่างไรก็ตาม 98% ของผู้นำด้านไอทีกล่าวว่าการทำงานระหว่างทีมนั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพมให้มากขึ้นไปอีกได้ โดย 91% กล่าวว่า อุปสรรคในกระบวนการทำงานส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงาน

เพื่อจะกำจัดอุปสรรคเหล่านี้ ผู้นำไอทีมีความคิดที่จะสร้างทีมแบบผสมผสานขึ้นมา ทีมเหล่านี้ คือ ทีมจากสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งผสมผสานพนักงานเข้ากับเทคโนโลยี การวิเคราะห์ หรือ ความเชี่ยวชาญด้านโดเมน และผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อผลลัพท์ทางธุรกิจ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่ง 69% ขององค์กรเริ่มมีการสร้าง หรือบ้างก็อยู่ในกระบวนการคัดสรรทีมงานเหล่านี้แล้ว เมื่อมีทีมแบบผสมผสานอยู่ในองค์กร 63% ของผู้นำไอทีกล่าวว่าทีมเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจเดินทางสู่เป้าหมายได้อย่างแน่นอน

5. เครื่องมือที่ช่วยสร้างประสบการณ์การเชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องใช้รหัสในการเข้าถึง

เมื่อต้องเจอกับผู้คนที่ขาดทักษะในการเขียนโค้ด เหล่าผู้นำอาวุโสด้านไอทีจึงหันมาใช้เครื่องมือที่ต้องการการเข้ารหัสเพียงเล็กน้อยหรือไม่ใช้เลย เพื่อให้ผู้ใช้งานธุรกิจสร้าง และตรวจสอบประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ถึง 96% ใช้เครื่องมือที่มีการเข้ารหัสน้อยถึงไม่มีเลย และ 36% มีแผนที่ใช้เครื่องมือนั้นมากขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า

เมื่อเราพูดถึงการติดตั้งเครื่องมือที่มีการเข้ารหัสน้อยหรือไม่เลยในองค์กรนั้น มีแนวทางบางอย่างที่ผู้นำทางไอทีเลือกใช้ ในองค์กร 32% ใช้กลยุทธ์แบบตรงไปตรงมากับบางส่วนของธุรกิจ, 31% ใช้แนวทางแบบเริ่มจากฐานขึ้นไป ซึ่งขับเคลื่อนโดยนักพัฒนาหรือผู้วางระบบ, อีก 26% ปรับใช้งานกลยุทธ์ล่วงหน้าตลอดทั่วทั้งธุรกิจส่วนใหญ่

ไม่มีอุตสาหกรรมใดเป็นข้อยกเว้นจากความต้องการการเปลี่ยนแปลงของไอทีครั้งนี้ ที่จริงแล้ว องค์กรทั่วทุกอุตสาหกรรมอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นในการสร้างความสามารถที่ตัวบุคคล และประสบการณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้ใช้บริการปลายทาง และเหล่าพนักงานของพวกเขา

การค้นพบด้านไอทีในแต่ละภาคส่วน

เราได้แจกแจงรายละเอียดว่าแต่ละภาคส่วนรวบรวมข้อมูลเชิงลึกได้อย่างไรจากรายงาน  IT Leaders Pulse Report ซึ่งมีการค้นพบหลักๆดังต่อไปนี้

  • ITDMs ที่ให้บริการด้านการเงินมีเปอร์เซ็นมากถึง 93% กล่าวว่า กระบวนการไอทีที่มีอยู่นั้นขัดขวางประสบการณ์ของพนักงาน
  • ในภาคการดูแลสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 100% ของ ITDMs ยืนยันว่าการลาออกครั้งใหญ่ส่งผลให้เกิดช่องว่างทักษะเพิ่มขึ้น ซึ่งช่องว่างที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในทักษะด้านไอที และสถาปัตยกรรมโซลูชั่น (71%)
  • ในอุตสาหกรรมค้าปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภค 95% ของ ITDMs กล่าวว่า กระบวนการทางไอทีกำลังขัดขวางประสบการณ์ของพนักงาน
  • ความซับซ้อนยังคงเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิต และ 75% ของ ITDMs กล่าวว่า แนวทางที่ดีที่สุดนั้นนำไปสู่ความซับซ้อนด้านไอที
  • เทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญที่ต้องลงทุนสำหรับการคมนาคม, สื่อ และการจัดการเทคโนโลยี ITDMs ส่วนใหญ่ 68% มีแผนที่จะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างทักษะ
  • ในส่วนของภาครัฐ 74% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที (ITDMs) กำลังสร้างทีมแบบผสมผสานขึ้น

อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นจาก MuleSoft ที่จะลดภาระให้กับทีมไอทีของคุณ ติดต่อได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Translucia เผยแผนพัฒนา Metaverse โลกเสมือนที่ใช้ Gen AI ขยายตลาดและการเติบโต

บทสัมภาษณ์ คุณพิมสาย ชี้เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Translucia (ทรานส์ลูเซีย) ทั้งในด้านมุมมอง โอกาส ความท้าทาย ไปจนถึงแผนพัฒนาแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส (Metaverse) ในยุค Generative AI...

Responsive image

เชื่อมทุกช่องทางสื่อสารกับลูกค้า ต่อยอดข้อมูลธุรกิจด้วย MarTech

ทำความรู้จัก True CPaaS แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อทุกแอปพลิเคชันการสื่อสารไว้ในที่เดียว เพื่อรองรับการตลาดแบบ Omni-channel และสามารถเก็บข้อมูล (Data) ลูกค้า เพิ่มยอดขายได้ในแบบ MarTech...

Responsive image

รู้จัก “AI ผู้ช่วยด้านการเงิน” งานที่ AI agents จะเข้ามาช่วยทำในอนาคต

พบกับอนาคตของ AI Agents ที่ช่วยจัดการชีวิตการเงิน ตั้งแต่การชำระเงิน จองตั๋ว ไปจนถึงการค้าอัตโนมัติ พร้อมความเชื่อมั่นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น Blockchain และ Authentication Too...