1,000,000 Device ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร คุณสมบัติของ 5G ที่จะเปลี่ยนชีวิตทุกคน | Techsauce

1,000,000 Device ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร คุณสมบัติของ 5G ที่จะเปลี่ยนชีวิตทุกคน

หากพูดถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีระดับโครงสร้างพื้นฐานที่ใกล้ตัวที่สุดคงหนีไม่พ้น 5G ซึ่งหลายๆ เสียงพูดตรงกันว่าคือจุดเปลี่ยนของธุรกิจในปัจจุบัน แต่หากถามถึงคุณสมบัติที่ 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงธุรกิจนั้นประกอบด้วยอะไรบ้างนั้น มาติดตามบทสรุป Session จาก Techsauce Global Summit 2019 ในหัวข้อ “Will 5G Technology Be the Gateway to a New Era?” โดย Marios Nicolaus, 5G Specialist ของ Impleo UK

5G ไม่ใช่แค่ Another G

คุณ Marios เริ่มต้นด้วยชี้ว่า 5G ไม่ใช่อีก G ที่เพิ่มเข้ามาใน 4G เนื่องจากการพัฒนาของโทรคมนาคมที่ผ่านมาอย่าง 2G, 3G และ 4G ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพเครือข่ายของ Smartphone เป็นหลัก แต่ 5G จะก้าวออกจากขอบเขตของ Smartphone ไปยังการเชื่อมต่อระหว่าง Smart Device ตั้งแต่แว่น VR, โดรนบิน, แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

ประสิทธิภาพที่น่าสนใจที่สุดของ 5G อยู่ที่รูปแบบการเชื่อมต่อย่อยของ 5G ที่เรียกว่า mIoT ซึ่งรองรับ Smart Device ได้สูงถึง 1,000,000 Device ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเหนือกว่า LTE ที่รองรับได้สูงสุดเพียง 200,000 Device ต่อ 1 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น แน่นอนว่านอกจากผู้ใช้ Smartphone ทั่วไปแล้ว อุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต ภาคคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงภาคบริการต่างๆ ทั้งสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จะได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่รองรับการเชื่อมต่อมหาศาล

5G ที่มีการทดลองใช้ตอนนี้นั้นเน้นที่การเพิ่มความเร็วของการเชื่อมต่อ Data ซึ่งไม่ใช่ศักยภาพสูงสุดของ 5G โดยในปี 2020 เราจะได้เห็นรูปแบบการใช้ 5G สำหรับการสื่อสารระหว่าง Smart Device ที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงต่อไป

5G คือ Business Model ของ AI, Cloud Computing, Big Data, AR/VR และ Robotics

คุณ Marios กล่าวว่า มี 2 คุณสมบัติที่ช่วยให้ 5G แตกต่างจากเทคโนโลยีเครือข่ายรุ่นก่อน อย่างแรกคือเทคโนโลยี Network Slicing ซึ่งมีคุณสมบัติแบ่งคลื่น 5G เป็นหลาย Function ในคลื่นเดียว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสำหรับ Mobile Broadband ที่เน้นความเร็ว, Internet of Things ที่ต้องกินพลังงานต่ำ, เครือข่ายสำหรับ Healthcare ที่ต้องไม่รบกวนเครื่องมือ ไปจนถึงเครือข่ายในระบบ Infrastructure ของเมืองซึ่งต้องทะลุทะลวงไปยังจุดต่างๆ ส่วนอีกอันคือ 5G รองรับการสร้าง Service Platform ใหม่ที่ช่วยให้อุตสาหกรรมเคลื่อนไปข้างหน้า ซึ่งก็คือ Factory as a Service และ Industry as a Service

สิ่งที่ตามมาจากทั้ง 2 อย่างนี้คือการทำให้แนวคิดนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในยุค Industrial 4.0 เกิดเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น Sensor ที่ติดในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งให้ข้อมูลอุณหภูมิ ความเข้มของอากาศ และตรวจจับการสั่นสะเทือน ช่วยให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมด้วยอุปกรณ์ที่น้อยลงอย่างมาก แน่นอนว่าการค้นคว้าต้องใช้เวลา แต่เมื่อการค้นคว้าดำเนินไป เราก็จะไม่ถอยกลับไปสู่จุดเดิมได้อีก

คุณ Marios กล่าวว่า 5G เป็นการลงทุนที่จำเป็น แม้จะมีราคามหาศาล สิ่งที่ตามมาจากการใช้ 5G คือลดต้นทุน ได้ความเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพ คุณ Marios ยกตัวอย่างว่าหากบริษัทหนึ่งนำ 5G มาใช้ใน Operation ของตน ข้อมูลที่ผ่านระบบดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทคาดการณ์ช่วงเวลาที่ต้องซ่อมบำรุงได้แม่นยำ ซึ่งลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงช่วยให้หุ่นยนต์มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น สามารถใช้ทำงานในที่เสี่ยงภัยแทนคนได้ ซึ่งลดค่าแรงได้ราว 30 เปอร์เซ็นต์

5G ยังทำให้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในปัจจุบันกลายเป็น Service Platform ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับการทำงานระยะไกลที่รวดเร็ว จนเกิดความเป็นไปได้ที่จะมี Business Model แบบใหม่อย่าง Machine as a Service ด้วยเทคโนโลยี AI หรือ Robot as a Service จากเทคโนโลยี Robotic รวมถึงการตัดขั้นตอนของ Supply Chain ด้วยการส่งสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภคโดยตรง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...