กรุงศรี ฟินโนเวต บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ได้จัดงาน Krungsri Uni Startup KMITL 2018 งาน Hackathon สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งนอกจากกิจกรรม Hackathon หลักแล้ว ทางโครงการยังได้เชิญวิทยากรด้านต่างๆ มาแชร์ความรู้ให้กับน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการเป็นพิเศษอีกด้วย ซึ่งผู้ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับ Startup 101 และมาช่วย Conduct workshop ด้วยนั้น ก็คือ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ Co-Founder และ CEO ของ Techsauce Media นั่นเอง และนี่คือ 6 Key Takeaway สำคัญสำหรับคนกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ควรรู้
6 ปัจจัยของการเริ่มต้นที่อาจทำให้ Startup ไปไม่ถึงฝัน
เราลองมาดู Checklist กันว่าธุรกิจ Startup ของคุณกำลังประสบปัญหาเพราะไม่ก้าวผ่านปัจจัยเหล่านี้หรือเปล่า
- แก้ปัญหาได้จริงไหม หรือดีกว่าวิธีที่มีอยู่เดิมในตลาด : โซลูชั่นของเรากำลังเป็นยารักษาโรค “ของมันต้องมี” หรือ เป็นอาหารเสริม ที่มี Product ของเราอยู่หรือไม่ต้องมีอยู่ก็ได้ (Nice to Have) หรือถ้าเป็นปัญหาที่มีคนแก้อยู่แล้ว ก็ต้องสามารถแก้ได้ดีกว่า และดีกว่าเดิม 10เท่า! ของประสบการณ์ที่ผู้ใช้ปัจจุบันเผชิญอยู่ อย่างเช่น ระบบ Taxi ที่เราเห็นคนเข้ามาแก้ปัญหาอยู่อย่างในปัจจุบัน
- ถูกที่ถูกเวลา : เราไม่ได้พูดถึงเรื่องโชคแต่อย่างใด แต่เวลาที่ Startup พัฒนา Product นั้น คุณต้องดูรอบตัวด้วยว่าตลาดมีความพร้อมหรือไม่ Product ของคุณสอดคล้องกับ Technology Adoption ของผู้ใช้ไหม หรือคุณกำลังไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคมากเกินไป ลองนึกภาพว่าถ้า YouTube มาในช่วงเมื่อ 20 ก่อน ตอนที่โครงสร้างอินเทอร์เน็ตยังไม่ค่อยพร้อม อาจจะเป็นหนังคนละม้วนกับวันนี้เลยทีเดียว
- ทีมงานที่เข้าใจธุรกิจนั้นๆ : แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
Expertise : ความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในธุรกิจนั้นๆ หรือเทคโนโลยีนั้นๆ ในเชิงลึกย่อมได้เปรียบ
Team : ทีมงานที่มีประสบการณ์และทักษะในการดำเนินธุรกิจแบบ Startup และ balance ระหว่าง ธุรกิจ เทคโนโลยี ทักษะการออกแบบ และการทำให้ไอเดียดังกล่าวเป็นจริงได้ เป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจเคยได้ยินว่านักลงทุนในช่วงเริ่มต้น Startup ที่เค้าลงทุนนั้นจริงๆ แล้วเค้าเลือกลงทุนในทีมงานไม่ใช่ไอเดียเสมอไป เพราะทีมงานที่ดีจะช่วยผลักดันให้ธุรกิจนั้นเติบโตไปได้ในทึ่สุด
- จับตลาดที่ใหญ่พอไหม : เพราะ Startup คือธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว การแก้ปัญหาเพื่อตลาดขนาดใหญ่ หมายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมรุนแรงกว่า และสร้างโอกาสเติบโตได้รวดเร็วกว่านั่นเอง
- Unfair Advantage : ลองถามคำถามเหล่านี้ในใจดู
นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญแล้ว มีอะไรที่ทำให้ธุรกิจของคุณพิเศษกว่าคนอื่น?
มี Connection ที่จะพาร์ทเนอร์กับองค์กรใหญ่เพื่อขยายฐานลูกค้า หรือรู้จักกับนักลงทุนที่จะกลายมาเป็น Strategic Investment ไหม เป็นต้น ถ้ายังเราจะทำอย่างไรได้บ้าง เราควรหาที่ปรึกษา หรือเข้าร่วมโครงการใดที่จะส่งเราไปยังจุดนั้น
- มีโครงสร้างและองค์ประกอบที่แข็งแกร่ง ลอกเลียนยาก : ลองถามคำถามเหล่านี้ในใจดูอีกเช่นกัน
ทำอย่างไรว่าไอเดียของเรา ถ้าเกิดมี Tech Giant เข้ามาทำบ้าง จะไม่ได้กลายเป็นฟีเจอร์หนึ่งของพวกเขา หรือมีคู่แข่งที่สามารถทำเหมือนกันได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน โอกาสหลีกเลี่ยงการทำเหมือนกันคงเป็นไปไม่ได้ และมันจะย้อนกลับไปที่ว่า คุณจะ move fast ก้าวไปข้างหน้าได้เร็วพอ ครองตลาดจนไม่มีคนตามทันไหมมากกว่า
เมื่อคุณกำลังเริ่มต้นทำ Startup ลองพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ อะไรที่คุณยังขาด ยังต้องปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้ถึงเป้าหมายในแต่ละข้อนั้นๆ ต้องทำอย่างไร หรือต้อง Pivot หันมามองหาไอเดียใหม่หรือไม่