เป็นที่ทราบกันดีใน Startup Ecosystem ว่า Accelerator เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดัน Startup ให้เติบโตไปเป็นธุรกิจที่แข็งแรง พร้อมพัฒนานวัตกรรมและสร้าง Product และ Service ที่ดีได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา Accelerator รูปแบบหนึ่งที่เติบโตมากขึ้นคือ Accelerator เฉพาะทาง ที่นอกจากจะมุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมอันหนึ่งอันใดแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง Impact ให้เกิดขึ้นกับสังคมด้วย แล้ว Accelerator เฉพาะทางมีลักษณะอย่างไร เรามีคำตอบให้ได้ติดตามกัน
เรามักคุ้นเคยกับ Accelerator แนวกว้างที่เน้นบ่มเพาะความรู้ด้านธุรกิจและสนับสนุนการลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 500 Startup หรือ Techstar แน่นอนว่า Accelerator เหล่านี้มีคุณค่าหลายประการ ทั้งช่วยทั้งขับเคลื่อน Ecosystem ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้ทุกคนได้ใช้ รวมถึงผลักดันมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการจ้างงานอันเกิดจากการเติบโตของบรรดา Startup
อย่างไรก็ตาม Accelerator แนวกว้างอาจไม่ได้เหมาะกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมบางประเภทที่มีรายละเอียดอันซับซ้อนและต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน รวมถึงลำพังความสามารถขององค์กรใหญ่ก็ไม่อาจรวดเร็วพอให้เกิดผลลัพธ์ที่จำเป็นในเวลานี้ได้ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจึงนำรูปแบบและชุดความรู้ของการทำ Accelerator มาทำ Accelerator เฉพาะทาง เพื่อบ่มเพาะ Startup ในอุตสาหกรรมนั้นๆ ให้เกิดขึ้นจริง
Accelerator เฉพาะทางไม่เพียงแต่ช่วยให้ Startup เหล่านี้ได้รับเครื่องมือที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังได้โอกาสบ่มเพาะทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ตรงในอุตสาหกรรมที่ตน Focus โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องมีความรู้เฉพาะทางอันก่อ Impact กับคนจำนวนมาก เช่น Healthcare, Education รวมถึง Clean Energy ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเป็นเรื่องเร่งด่วนในปัจจุบันนี้
เมื่อพูดถึงสาขาของ Accelerator ที่น่าสนใจในเวลานี้ คงหนีไม่พ้นการบ่มเพาะ Startup เพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นปัญหาที่เราต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วน ซึ่ง Accelerator ด้านนี้มีอยู่หลายราย แต่รายที่เป็นเครือข่ายชั้นนำระดับโลกและมีความน่าสนใจที่สุดคือ Elemental Excelerator
Elemental Excelerator หรือ EEx เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งเมื่อปี 2013 มีจุดประสงค์สนับสนุน Startup ที่มุ่งมั่นปรับปรุง “ระบบ” ที่ก่อให้เกิด Impact ในชีวิตผู้คน โดยเน้นที่ 4 Track ได้แก่
ทั้ง 4 Track นี้หากผสานเข้ากับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ จะก่อ Impact กับสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนหรือ Sustainability นี้เป็นสิ่งที่ EEx มุ่งเน้นเป็นเป้าหมายสำคัญ
จุดแข็งของ EEx อยู่ที่แนวคิดการทำงานแบบ Place-Base Innovation โดยเริ่มจากการเชื่อมโยงนวัตกรรม พื้นที่ และผู้คนในพื้นที่นั้น ก่อนที่จะช่วย Startup เหล่านั้นบ่มเพาะ Solution ที่เหมาะสมในพื้นที่ โดยแต่ละปี EEx จะเลือกลงทุนใน Startup 15-20 ราย พร้อมกับให้เงินลงทุนสูงสุดรายละมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ปัจจุบัน EEx ได้รับการสนับสนุนจาก Emerson Collective องค์กรที่ก่อตั้งโดย Laurene Powll Jobs ภรรยาของ Steve Jobs นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานสำคัญเป็นผู้สนับสนุนด้วย เช่น กองทัพเรือสหรัฐฯ กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ และที่สำคัญ มีบริษัทไทยเป็นหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุน EEx ด้วย ซึ่งก็คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผ่านการดำเนินงานภายใต้ ExpresSo
นับเป็นความร่วมมือหนึ่งเดียวของไทยที่มีกับ Accelerator ด้าน Sustainability ระดับโลก เมื่อปตท. เป็นบริษัทพลังงานของไทยผู้ถืออันดับที่ 95 จาก Fortune 500 และเป็นสมาชิกของ World DJSI องค์กรด้านธุรกิจยั่งยืน ได้เข้าร่วมเป็น Global Partner กับ EEx เพื่อดำเนินการตามกลยุทธ “Design Now” อันเป็นการยกระดับการดำเนินธุรกิจขององค์กร
การเป็น Global Partner ของ ปตท. กับ EEx จะดำเนินการผ่าน PTT ExpresSo ช่วยให้องค์กรเข้าถึง Startup ด้าน CleanTech ทั้งในส่วนของการต่อยอดธุรกิจ S-Curve ของ ปตท. และเพิ่มโอกาสการลงทุนใน Startup นำมาซึ่งทั้งผลตอบแทนและความร่วมมือเชิงลึกในอนาคต
ความร่วมมือระหว่าง PTT ExpresSo กับ EEx เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาพลังงานสะอาดและด้านนวัตกรรมที่ยั่งยืนอื่นๆ ในประเทศไทยเท่านั้น ยังต้องติดตามกันต่อไปว่า PTT ExpresSo จะผลักดัน Sustainability Solution จาก EEx มาใช้ในประเทศไทยอย่างไรกันบ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก elementalexcelerator.com
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด