aCommerce เผยข้อมูลน่าสนใจและเทรนด์ E-Commerce ปี 2018 พร้อมปรับตัวเข้าสู่ยุค 'New Retail' | Techsauce

aCommerce เผยข้อมูลน่าสนใจและเทรนด์ E-Commerce ปี 2018 พร้อมปรับตัวเข้าสู่ยุค 'New Retail'

หลังจากที่เมื่อวาน aCommerce เพิ่งประกาศว่าได้รับเงินระดมทุนในระดับ Series B ไปกว่า 2.14 พันล้านบาท เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมค้าปลีกและ E-Commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันนี้ aCommerce ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงแนวโน้มของ E-Commerce ในปี 2018 พร้อมประกาศกลยุทธ์ของบริษัท รวมถึงถกประเด็นวิวัฒนาการอุตสาหกรรมค้าปลีกสำหรับแบรนด์ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับแบรนด์ partner ของ aCommerce ด้วย

วิสัยทัศน์ของ aCommerce โดย พอล ศรีวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท aCommerce 

นายพอล ศรีวรกุล หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท aCommerce และนายทอม ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้เผยถึงเทรนด์ในปีหน้าว่า จะเริ่มเข้าสู่ยุค New Retail เมื่อความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไป และมีสิ่งที่ต้องตอบโจทย์เพิ่มมากขึ้น ผู้เล่นต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทันกับยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

"ดิจิทัลกำลังขับเคลื่อนประพฤติกรรมการใช้จ่ายส่วนใหญ่และโมเดลธุรกิจของเรามีเป้าหมายที่จะสนับสนุนและผลักดันแบรนด์เพื่อให้พวกเขาประสบความสำเร็จ"
"เราจะจัดสรรเงินที่ได้จากการระดมทุนไปสู่การสร้างระบบนิเวศน์ของอุตสาหกรรมการค้าปลีก ทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียและเวียดนามในปีข้างหน้า" พอล ศรีวรกุล เสริม "โลกออนไลน์ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงการค้าปลีกแต่จะเปลี่ยนภูมิทัศน์ (Landscape) ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการรวมเอาโฆษณา สื่อ และความบันเทิงเข้าไว้ด้วยกัน เราต้องการช่วยแบรนด์บริหารคอนเทนท์ ช่องทางจัดจำหน่าย และประสบการณ์ของผู้บริโภค ผ่านทางข้อมูลที่ครบวงจร (Data end-to-end)"

ความสำเร็จของบริษัท aCommerce โดย ทอม ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท aCommerce ประเทศไทย 

รายได้ของบริษัท aCommerce ประเทศไทยโต 250% YoY และเราได้เปิดโกดังเก็บสินค้าในขนาด 21,000 ตรม.ใหม่เพื่อเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพสำหรับลูกค้าทั้ง B2B และ B2C ของเรา

"เราอาจไม่ได้มีโกดังเก็บสินค้าที่ใหญ่ที่สุด แต่เรามีการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพราะเราให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด" คุณเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ประธานเจ้าหน้าที่ร่วมบริหาร บริษัท aCommerce ประเทศไทยกล่าว
บริษัท aCommerce ยังได้สร้างยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นถึง 335% จาก 70,000 รายการสินค้าให้แก่ลูกค้าของเราในเพียง 24 ชั่วโมงของงาน 11.11 Online Shopping Festival ที่ผ่านมา

New Retail

Digital-First

ไม่ว่าผู้บริโภคจะสั่งซื้อสินค้าหรือรับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์หรือไม่ ก็มักจะเริ่มค้นหาสินค้าจากช่องทางดิจิทัลก่อนเสมอ ทั้งเปรียบเทียบราคา ศึกษาข้อมูล หรือแม้กระทั่งซื้อผ่านทางออนไลน์เลย

Omni-Channel

ในอนาคตอันใกล้จะไม่มีการแบ่งแยกธุรกิจออนไลน์หรือออฟไลน์แบบชัดเจนอีกต่อไป แต่จะรวมกันกลายเป็น Omni-Channel คือผู้ให้บริการสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั้งสองช่องทาง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าซื้อของออนไลน์ ก็สามารถไปรับของที่สถานที่ใกล้เคียง หรือสามารถส่งจากร้านที่มีสาขาใกล้บ้านมากที่สุดก็ได้

Direct-to-Customer

การขายสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการและความชอบของลูกค้าแต่ละรายมากที่สุด จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการค้นหาหรือซื้อสินค้า และเข้าถึงลูกค้าได้บนทุกๆ แพลตฟอร์ม

กลุ่มสินค้าที่เป็นที่ต้องการอันดับหนึ่งบน E-Commerce

"ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับแม่และเด็ก DSG ตัดสินใจนำแบรนด์ผ้าอ้อมขายออนไลน์ และเป็นเพียงแบรนด์เดียวที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน นั้นก็คือกลุ่มคุณแม่ที่ไม่มีเวลา" ทอม ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท aCommerce ประเทศไทย กล่าว

แบรนด์ Partner ของ aCommerce อย่าง DSG โดยคุณ Justine Wang, Group COO ก็ได้ออกโรงชูแบรนด์ 'Kira Kira' ที่ตอบสนองความต้องการในตลาดแม่และเด็ก โดยชี้ว่ากลุ่มสินค้านี้ กำลังเป็นที่ต้องการบน E-Commerce เป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากกลุ่มคุณแม่ที่ไม่มีเวลาออกไปซื้อของข้างนอก จะต้องการสินค้าคุณภาพดีและมีความสะดวกสบายในการซื้อของบนออนไลน์  จากรายงานเปิดเผยว่า คุณแม่ในประเทศแถบเอเชียสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ให้ลูกมากกว่าประเทศในยุโรปหรืออเมริกาเสียอีก นอกจากกลุ่มสินค้าแม่และเด็กแล้ว กลุ่มสินค้าเครื่องสำอางค์และ beauty ก็มาแรงเช่นกัน

โมเดลธุรกิจแบบ Unified Commerce

นอกจากนี้บริษัท aCommerce ยังเผยถึงกลยุทธ์ของบริษัทหลังจากได้รับเงินระดมทุนรอบใหม่ว่าจะนำไปพัฒนาเทคโนโลยี และขยายระบบ operation ให้มีสเกลที่ใหญ่มากขึ้น เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าและตอบโจทย์ให้ครอบคลุม โดย business model ของ aCommerce คือการสร้าง Unified Commerce Platform ที่ให้บริการแบบ end-to-end คือครอบคลุมตั้งแต่ ให้คำปรึกษา ทำ marketing พัฒนาด้าน IT บริการลูกค้า ไปจนถึงการจับเก็บสต้อกสินค้าและขนส่งไปถึงปลายทาง โดยยกโมเดลธุรกิจในแบบ “Business-to-All” (B2A) มาใช้ เพื่อให้แบรนด์ต่างๆ ที่กำลังมองหาวิธีการทำธุรกิจแบบหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบออนไลน์ หรือออฟไลน์ สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ ทั้ง กลุ่มธุรกิจ (B2B)  ร้านค้าที่ขายของต่อรัฐบาล (B2G) และลูกจ้างบริษัท (B2E)

“การมีแค่เว็บไซต์ในช่วงเวลาที่ภูมิภาคนี้กำลังก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์นั้น อาจจะเพียงพอ” นายพอล กล่าว “อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน แบรนด์เริ่มตระหนักถึงการให้บริการที่เชื่อมต่อจากหลากหลายช่องทางและความสำคัญของข้อมูล เพื่อที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมการค้าปลีก”

สัดส่วนของ B2B และ B2C ecommerce ในปี 2018 

ในปีนี้ B2B มีสัดส่วนสูงถึง 30% แล้ว โดย aCommerce เขื่อว่าในอีกหนี่งปีข้างหน้า เราจะได้เห็นสัดส่วนอยู่ที่ 50/50

Landscape ของ E-Commerce ในปีหน้า 

มองว่าจะมีผู้เล่นรายใหญ่เข้ามาเยอะขึ้น ได้ยินมาว่า Amazon จะเข้ามาในประเทศไทยและอย่างที่ได้ทราบกันว่า JD.com ได้มาลงทุนกับกลุ่มเซ็นทรัลแล้ว เรายังจะได้เห็นการเติบโตของ Cross-border อีคอมเมิร์ซ และสินค้าก็มีแนวโน้มว่าจะถูกลงอีกด้วย

เนื่องจากมีผู้เล่นรายใหญ่เข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้เล่นรายเล็

ในประเทศไทย 95% ของยอดขายจาก E-Commerce มาจากผู้เล่น 5 อันดับต้น ในขณะที่ที่เหลือจะอยู่ที่รายเล็กอย่าง Weloveshopping แต่พวกเขาจะอยู่รอด ก็ต่อเมื่อสินค้าที่ขายเป็นสินค้าเฉพาะ (niche) และการขายสินค้าทั่วไปจะไม่สามารถทำกำไรให้แก่ผู้เล่นรายเล็กได้อีกแล้ว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...