สตาร์ทอัพแบบไหนที่ ‘AddVentures by SCG’ มุ่งมั่นจะปั้นให้โตไปด้วยกัน | Techsauce

สตาร์ทอัพแบบไหนที่ ‘AddVentures by SCG’ มุ่งมั่นจะปั้นให้โตไปด้วยกัน

เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งสำหรับ เอสซีจี องค์กร 104 ปีที่มีธุรกิจซิเมนต์เป็นธุรกิจแรก และขยับขยายจนมี 3 กลุ่มธุรกิจ ทั้งยังได้เข้าไปลงทุนในเมียนมา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เรียกได้ว่าครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน

มาวันนี้ มีการแข่งขัน มีสตาร์ทอัพ และโมเดลธุรกิจเกิดใหม่มากมาย ซึ่งองค์กรขนาดใหญ่อย่างเอสซีจีได้วางกลยุทธ์ปรับตัวแล้ว โดยมุ่งสู่ Digital Transformation ร่วมกับการทำ Lean Startup ภายในองค์กร ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์เสริมแกร่งของบริษัทก็คือ การจัดตั้ง ‘AddVentures by SCG’ (แอดเวนเจอร์ส บาย เอสซีจี) บริษัทลูกในรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อเสริมศักยภาพสตาร์ทอัพทั่วโลก และยกระดับ Ecosystem ด้วยองค์ความรู้ เครือข่าย ฐานลูกค้าทั่วอาเซียน โดยวางวิสัยทัศน์ไว้ว่า ‘You Innovate, We Scale’

สำหรับการลงทุนของ AddVentures นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ทาง ทางหนึ่งคือ การลงทุนทางตรงกับสตาร์ทอัพ อีกทางหนึ่งคือ ลงทุนในกองทุน และแน่นอนว่าต้องมีความเกี่ยวพันหรือสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหลัก 3 กลุ่มของเอสซีจี ได้แก่ ธุรกิจซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง โดยบริษัทจะมุ่งลงทุนใน 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ Enterprise - Industrial - B2B และในแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดที่จะโฟกัส ดังนี้

Enterprise 

  • E-commerce Enablement
  • Predictive Analytics
  • Omni-channel
  • Construction Efficiency Management
  • SaaS (Software as a Service)
  • AI (Artificial intelligent)
  • AR/VR
  • Blockchain

Industrial

  • Smart Manufacturing
  • Robotics
  • Automation
  • Energy Efficiency Technologies

B2B 

Marketplace Platform for

  • Construction Products
  • Chemicals
  • Packaging
  • Industrial Supply
  • Logistics

ส่วนเกณฑ์ในการพิจารณาให้เงินลงทุนแก่สตาร์ทอัพ AddVentures ตั้ง Criteria ไว้ 3 ประการ

  • Proof of Concept - สตาร์ทอัพที่พิสูจน์ว่ามีแนวคิดน่าสนใจและมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นจริง
  • Customer and Traction - สตาร์ทอัพที่สามารถพัฒนาระบบให้แก้ไขปัญหานั้นๆ ได้และมีคนเข้ามาทดลองใช้หรือมีลูกค้าในระบบมากพอที่จะจูงใจนักลงทุนได้
  • Ready to Scale - สตาร์ทอัพที่พร้อมจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ดุสิต ชัยรัตน์ CVC Fund Manager ของ AddVentures กล่าวว่า AddVentures เป็น Investment Arm ที่ดูเรื่องการลงทุนกับหน่วยงานภายนอก และเป็นช่องทางให้สตาร์ทอัพเข้ามาดีลกับเอสซีจี ซึ่งนอกเหนือจากเรื่อง Criteria บริษัทก็อยากจะโฟกัสเรื่อง Customer Deal ด้วย

“ในการคัดเลือกสตาร์ทอัพที่จะมาร่วมงานกับเรา หากผ่านเกณฑ์แล้วก็จะร่วมลงทุนเเละพร้อมที่จะช่วยสเกลให้ โดยเราจะเน้นลงทุนกับสตาร์ทอัพที่อยู่ใน Serie A, Post Seed และสิ่งที่เราตั้งใจก็คือ จะทำให้ธุรกิจ Win-Win กันทั้งสองฝ่าย ซึ่งเราไม่ได้มองว่าต้องทำให้ Quick Win เห็น Financial Return เท่านี้เท่านั้น แต่เป็น Long Term Game ที่เรามองทิศทางที่จะเติบโตไปด้วยกันมากกว่าดุสิตกล่าว

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ AddVentures

  • 2017 เป็นปีแรกของการก่อตั้ง AddVentures โดยมุ่งหาพาร์ทเนอร์ สร้างคอนเนคชัน และลงทุนในสตาร์ทอัพในไทยและอาเซียน
  • 2018 จะเน้นลงทุนใน Global Innovation Hub เช่น Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา, Tel Aviv ในอิสราเอล, Shenzhen ในจีน
  • 85 ล้านดอลลาร์ หรือ 2,000-3,000 ล้านบาท เป็นงบที่ AddVentures เตรียมไว้ลงทุนภายใน 5 ปี
  • 1-5 ล้านดอลลาร์ คือจำนวนเงินลงทุนที่ AddVentures จะให้ต่อหนึ่งสตาร์ทอัพ ต่อครั้ง
  • 25-30 ราย คือเป้าหมายสตาร์ทอัพที่ AddVentures  จะลงทุน โดยเฉลี่ย 5-7 รายต่อปี
  • 4-5 กองทุน คือเป้าที่ AddVentures จะร่วมลงทุนกับ VC ต่างชาติภายใน 5 ปี

อัปเดตความเคลื่อนไหวในปีแรกและมุมมองที่มีต่อตลาดจีน

ทีมเทคซอสถามถึงเป้าหมายและสิ่งที่เห็นในปีแรก ดร.จาชชัว แพส กรรมการผู้จัดการ AddVentures บอกว่า จะได้เห็นการลงทุนในสตาร์ทอัพไทย 1-3 ราย การลงทุนในกองทุน 2 ราย และจากประสบการณ์ที่ได้ไปโรดโชว์กับทีมเทคซอสในหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน ภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่าสตาร์ทอัพในแต่ละประเทศมีศักยภาพและความโดดเด่นแตกต่างกัน ส่วน VC ก็จะมีทั้งที่เน้นด้านการลงทุน คือดู Financial Return อย่างเดียว กับ VC ที่ดู Strategic Return

“เราพบว่าแต่ละ Ecosystem มีจุดเด่นของตัวเอง  เช่นที่ Silicon Valleyก็จะมีเด็กรุ่นใหม่เยอะมาก ส่วนที่ Tel Aviv อิสราเอล ก็จะมีฮาร์ดคอร์ด้านเทคโนโลยีเยอะ เป็น Deep-tech ที่พัฒนาขึ้นมาดีมาก เเต่ถ้าเป็นภูมิภาคอาเซียน จะมองการเเก้ปัญหาเป็นหลัก และนำวิธีการต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะกับประเทศเรา”

ดุสิตเล่าเสริมเกี่ยวกับตลาดจีนที่ได้ไปเห็นว่า สตาร์ทอัพในตลาดจีนมีการแข่งขันสูงมาก และแบรนด์ใหญ่อย่าง Alibaba, Tencent, Baidu ต่างก็แข็งแรงมาก หากบริษัทเหล่านี้ไปลงทุนกับสตาร์ทอัพรายใดก็สามารถสเกลได้

“เรามองว่าโมเดลธุรกิจของจีนน่าสนใจ แต่ถ้าจะนำมาใช้ในบ้านเราต้องมีการปรับเปลี่ยน ถ้าเทียบกับฝั่งอเมริกา อิสราเอล จีน ประเทศที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมใกล้กับเราก็คือ จีน อะไรที่ใช้ได้ที่จีน มีอิมแพ็คในจีน และมันเวิร์ก ไม่นานก็จะมาบ้านเรา จึงมองว่าจีนเป็น ‘Leading Indicator’ ทุกอย่าง โดยเราพบว่าที่จีนมี 'อีคอมเมิร์ซ' จำนวนมาก และสเกลอยู่ในระดับโลก ตามมาด้วยโลจิสติกส์ อีเพย์เมนต์ ซึ่งก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ

และในตอนท้าย จาชชัวกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดจีนว่า

"เรามองว่าตลาดจีนน่าสนใจในบางแง่มุม เช่น ใช้ศึกษาและวิจัยตลาด และยังน่าสนใจที่จะเป็น VC Partner เพื่อทำตลาดในภูมิภาคอาเซียน"

สำหรับผู้ที่สนใจว่า องค์กรขนาดใหญ่มีกลยุทธ์การปรับตัวอย่างไร เเละองค์กรจะเข้ามาช่วยเสริมความเเข็งเเกร่งให้กับสตาร์ทอัพ เเละเติบโตไปพร้อมกันอย่างก้าวกระโดดได้อย่างไร  ดร.จาชชัว แพส จะมาเป็นหนึ่งใน Speaker บนเวที Techsauce Global Summit 2017 โดยจะมาพูดในหัวข้อ ‘The NEW Industrial Revolution: How Corporate Giants Must Transform With the Industry - And How Startups Can Help’  

ในงานเดียวกันนี้ ดร.จาชชัวจะเข้าร่วมวงเสวนาในหัวข้อ ‘Leading Digital Transformation: Re-engineering organizational culture, mindset and governance for the Exponential Age’ กับ Yong Chern Chet จากอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, Alvin Ng จาก GE Digital, Ben Richardson จาก PwC และ Jeffrey Char จาก J-Seed Ventures ส่วน คุณดุสิต ชัยรัตน์ จะเข้าร่วมวงเสวนาในหัวข้อ 'Corporate Innovation: How Opening Up is a Win-Win Scenario' กับ Oko Davaasuren จาก Techstars, Thakorn Piyapan จาก Krungsri และ Champ Suthipongchai จาก Creative Asia 

นอกจากนี้ AddVentures by SCG ยังเปิดห้อง 'Scaling Platform' เพื่อให้คำแนะนำ แบ่งปันความรู้แก่ผู้สนใจ และยังนำนวัตกรรมที่น่าสนใจจากสตาร์ทอัพต่างชาติในกลุ่ม Industrial มานำเสนอภายในงาน Techsauce Global Summit 2017 ในโซน Tech Showcase Stage โดยหวังให้เป็นกรณีศึกษาและให้สตาร์ทอัพในภูมิภาคอาเซียนตื่นตัวยิ่งขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...