จับตาเทรนด์ IoT ปี 2022 | Techsauce

จับตาเทรนด์ IoT ปี 2022

ในปัจจุบันเทคโนโลยี Internet of things หรือที่รู้จักโดยย่อว่า IoT เข้ามาบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนของธุรกิจและชีวิตประจำวันของเรา บทความนี้จะพาทุกท่านไปสำรวจเทรนด์ IoT ในอนาคต ในแง่มุมของธุรกิจทั้งระดับโลกและประเทศไทย ซึ่งเป็นสรุปสาระสำคัญจากงาน  Enabling The Future of IoT in 2022 เปิดโลกอนาคต IoT 2022 โดย Advantech บริษัทผู้ผลิตและบริการในการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมรวมถึง IoT Solution ชั้นนำของโลกสัญชาติไต้หวัน ร่วมกับ Techsauce 

กับ Speakers จากบริษัทชั้นนำของโลก 

  • คุณยุทธภูมิ เทียมเมืองแพน KA Manager บริษัท Advantech Corporation (Thailand) Co., Ltd.

  • คุณหัสนัย จักรสูตร IOTG Field Sales & Application Engineer บริษัท  Intel Microelectronics (Thailand) Ltd.

  • คุณวิศรุต ปุตระเศรณี  Sales Manager บริษัท Seagate Thailand & Indochina

Global IoT Trends In 2022 

คุณหัสนัย จักรสูตร IOTG Field Sales & Application Engineer บริษัท  Intel Microelectronics (Thailand) Ltd. เริ่มต้นพูดถึงการเติบโตของตลาด IoT ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ว่ามีการเติบโตค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต, เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการจัดเก็บ ที่ทำให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมากได้ โดยคุณหัสนัยได้ยก 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้ปัจจุบัน IoT ยังเติบโตในตลาดได้ คือ 

  • วิกฤต : เมื่อมีปัญหา IoT สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการนำอุปกรณ์ IoT มาใช้  เช่นหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ (UVC Robot), Face or Mask detection ในการตรวจจับอุณหภูมิ การตรวจจับการใส่หน้ากาก เป็นต้น 

  • บริการ : ด้วยเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น จึงจำเป็นต้องนำ IoT มาใช้ ยกตัวอย่างเช่นหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงพยาบาล หรือ ร้านอาหาร เพื่อลดการสัมผัสและลดการกระจายของเชื้อ 

  • อนาคต : IoT เป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะรองรับเทคโนโลยีมากมายในอนาคต เช่น AI, Big Data, Quantum Computer หรือใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของยานยนต์ไร้คนขับ และการใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม 

IoTจากนั้นคุณหัสนัยได้แสดงตัวอย่างภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตของเทคโนโลยี IoT มากที่สุด ซึ่งอันดับหนึ่งคือ ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม เพราะมีอัตราการผลิตสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นตาม ซึ่งการใช้ IoT ช่วยลดปริมาณความต้องการแรงงานมนุษย์ได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมพลังงานและคุณภาพได้ โดยคุณหัสนัยกล่าวว่าเป็นจุดแข่งขันในตลาดเทคโนโลยีปัจจุบัน 

“ในสมัยก่อนเราอาจจะแข่งขันกันว่า ที่ไหนแรงงานถูกโรงงานจะไปตั้งที่นั่น แต่ปัจจุบันถ้าที่ไหนมีเทคโนโลยีการผลิตดีกว่า บริษัทรายใหญ่ๆ ก็จะไปเปิดที่นั่น” 

ส่วนภาคส่วนที่สอง นั่นก็คือส่วนของ การบริการด้านสุขภาพ ด้วยสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่แตกต่างออกไป เกิดการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจหาเชื้อ หรือ Telemedicine ที่มีการใช้งานมากขึ้น ในภาคส่วนที่สามนั้นคือ อุตสาหกรรมค้าปลีก มีการเติบโตเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ และการทำเดลิเวอรี่ เช่น การสั่งอาหาร การสั่งสินค้า ก็มีการใช้อุปกรณ์ IoT ค่อนข้างมาก 

ภาคส่วนต่อไปคือ ด้านความปลอดภัย เช่น การใช้อุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าอาคาร และส่วนสุดท้ายคือ ภาคส่วนคมนาคมและการขนส่ง มีการตรวจจับความเร็วแบบ Real-time ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโต 

ส่วนการเติบโตของอุปกรณ์ IoT ในอนาคต คุณหัสนัยกล่าวว่าในอนาคตอุปกรณ์ IoT ที่เราใช้กันจะถูกทำให้มีขนาดเล็กลง ด้วยเทคโนโลยีนาโนและไมโคร รวมถึงเทคโนโลยีการใช้มนุษย์ควบคุม (mind control)  อีกทั้งการเติบโตของการใช้หุ่นยนต์จะสูงขึ้น รวมไปถึง Smart Building หรืออาคารอัจฉริยะ 

สุดท้าย คุณหัสนัยได้กล่าวถึงเทรนด์ของ IoT ภายในปี 2022  ซึ่งคาดการณ์ว่าอุปกรณ์ IoT จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเหมือนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป และจะมีการใช้อุปกรณ์ IoT ในที่สาธารณะมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ตรวจจับความเร็ว ตรวจจับรถที่ทำผิดกฎจราจร

ในส่วนของโรงงานและภาคการผลิต ก็จะมีการใช้หุ่นยนต์ และใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, การใช้ IoT ทำ Smart Farm ซึ่งปัจจุบันยังจำกัดอยู่ในเฉพาะกลุ่มพืชผักมูลค่าสูง ในวงการแพทย์ หุ่นยนต์ผ่าตัด ที่ปัจจุบันมีการนำมาใช้จริงมากขึ้น ซึ่งคุณหัสนัยมองว่าผู้ประกอบการที่ต้องการจะนำมาใช้ ก็เป็นโอกาสที่ดี 

และภายในปี 2025 ที่หลายประเทศมีนโยบายการผลักดันให้ใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น อุปกรณ์ IoT ก็จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต รวมถึง จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องวิกฤตด้านพลังงาน และส่วนสุดท้ายคือเรื่องการผลิตอาหาร ซึ่งคุณหัสนัยมองว่า ผู้ประกอบการท่านใด้เริ่มทำ Smart Farm แล้ว สิ่งเหล่านี้จะถูกต่อยอดและพัฒนาอย่างรวดเร็วในอนาคต 

IoT Trends in Thailand in 2022

คุณยุทธภูมิ เทียมเมืองแพน KA Manager บริษัท Advantech Corporation (Thailand) Co., Ltd. ได้มาแบ่งปันประสบการณ์การทำงานร่วมกับลูกค้า ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการทำงานในโรงงาน ซึ่งมีโจทย์สำคัญเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา  และการใช้ IoT solutions สามารถช่วยลดต้นทุนและลดค่าเสียโอกาสในการผลิตได้ 

เพราะนอกจากอุปกรณ์ IoT จะช่วยเก็บข้อมูลการทำงานของเครื่องจักรได้แล้ว ยังมีความสามารถในการตรวจจับความผิดปกติในการทำงาน ทำให้เราสามารถส่งวิศวกรไปดูแลได้ทันเวลา และทำให้เราไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาหลายๆ ครั้งต่อปี 

ส่วนในด้านการบริหารจัดการการผลิต IoT solutions ทำให้เราสามารถติดตามการผลิตได้ตั้งแต่ต้นถึงปลายน้ำ นอกจากนั้นยังสามารถติดตามความสามารถในการผลิตของเครื่องจักรแต่ละตัว ซึ่งหากเครื่องจักรไหนมีความสามารถในการผลิตต่ำลงไป ก็จะสามารถติดตามและซ่อมบำรุงได้ทันที

ต่อมา คุณยุทธภูมิได้กล่าวถึง ePaper Solution ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้เพื่อลดวัสดุสิ้นเปลือง จากเดิมที่เราใช้กระดาษทำรายงาน ในการนำเสนอข้อมูลส่วนต่างๆ นอกจากนั้นยังมีการใช้ใน Smart Factory, Smart Hospital, Smart Building และ Smart City อีกด้วย 

โดยในปี 2022 คุณยุทธภูมิกล่าวว่า IoT มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้อุปกรณ์ IoT เป็นที่ต้องการมากขึ้นนั้น เกิดจาก 

  1. ราคาจับต้องได้ 

  2. การเชื่อมต่อ (connectivity) ยิ่งปัจจุบันมีการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ทำให้รองรับอุปกรณ์ IoT ได้มากขึ้น 

  3. พัฒนาง่าย เพราะมีแพลตฟอร์มสำเร็จรูปที่ใช้งานง่ายให้เลือกใช้ 

  4. ประโยชน์ที่เห็นได้จริง

ส่วนเทรนด์ IoT ที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไปนั้น 

  1. จะยังคงมีการใช้ IoT Solutions ในการบริการสุขภาพและค้าปลีก และมีการพัฒนาให้ดีมากขึ้น 

  2. จะมีการขยายตัวของเทคโนโลยี IoT มากขึ้น เพราะต้นทุนอุปกรณ์ IoT มีราคาถูกลง และสามารถพัฒนาได้ง่าย 

  3. จะช่วยให้เกิด Edge Computing หรือ การประมวลผลที่อยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลมากที่สุด ซึ่งจะลดภาระการทำงานของ Big Data ได้ 

2022 Storage Technology and Trends 

คุณวิศรุต ปุตระเศรณี  Sales Manager บริษัท Seagate Thailand & Indochina เริ่มจากการเล่าถึงบทบาทสำคัญของ IoT ที่ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว โดยได้เผยข้อมูลที่จัดเก็บโดย Seagate ระบุว่าในปี 2025 การจัดเก็บข้อมูลทั่วโลกจะมีมากกว่า 163 เซตตะไบต์ 

คุณวิศรุตได้เล่าถึงวิวัฒนาการในการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ในอดีต หากย้อนกลับไปในช่วงปี 1960-1970 ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในลักษณะ Mainframe เป็นลักษณะการเก็บไว้ในส่วนกลาง(Centralized) ต่อมาในช่วง 1980-2000 การจัดเก็บข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของ Client-Server มีการใช้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คส่วนตัว ทำให้การจัดเก็บข้อมูลในยุคนี้ก็จะกระจายไปที่ต่างๆ (Distributed) 

ในยุคปี 2005-2020 ซึ่งเป็นยุคของ Mobile-Cloud ทำให้การจัดเก็บข้อมูลในยุคนี้เป็นแบบ centralized หรือจัดเก็บที่ส่วนกลางอีกครั้ง และตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นยุค Rise of the Edge กล่าวคือปัจจุบันเมื่อมีปริมาณข้อมูลมหาศาล ทำให้การจัดเก็บข้อมูลที่ส่วนกลางไม่เพียงพออีกต่อไป จึงจำเป็นต้องมีการใช้จุดแยกต่างๆ เพื่อลดภาระของการจัดส่งข้อมูล ให้ข้อมูลจัดส่งได้เร็วมากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นว่าวิวัฒนาการการจัดเก็บข้อมูลนั้นหมุนเวียนกลับมาในแต่ละยุคสมัย 

จากนั้นคุณวิศรุตได้แสดงกราฟการเพิ่มขึ้นของ Data ในปัจจุบัน และบทบาทของ Storage หรือ การจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจากกราฟนั้นเราจะเห็นว่า Data เติบโตขึ้นต่อเนื่องทุกปี ในขณะที่การจัดเก็บข้อมูลยังอยู่ในรูปแบบ Mass Capacity Storage ซึ่งก็คือ Harddisk Drive ที่เราใช้กันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ในคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ้ค หรือกล้องวงจรปิด เป็นต้น

ซึ่งเทรนด์ปัจจุบัน และในอนาคตหลังจากนี้ หากถามว่า Mass Capacity Storage จะเข้าไปมีบทบาทใน Mega trend ต่างๆ ได้อย่างไร คุณวิศรุตได้แสดงแผนภาพลักษณะการเก็บข้อมูล ที่มี Core เป็นจุดศูนย์กลาง และมีการเก็บข้อมูลในลักษณะกระจายเก็บ

โดยคาดว่าการจัดเก็บข้อมูลของ Human Genomics หรือการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูป ดูหนัง ฟังเพลง ประมาณการว่าจะมีข้อมูล 100GB ต่อหนึ่งผู้ใช้งาน  การจัดเก็บข้อมูลของ Smart City ซึ่งปัจจุบันเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะมีการใช้และเก็บข้อมูลมากถึง 2.5 PB  ต่อหนึ่งวัน ส่วนการทำ Smart factory จะมีการเก็บข้อมูล 1 PB  ต่อวัน และส่วนสุดท้าย ยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่จะเกิดในอนาคต คาดว่าจะมีการเก็บข้อมูลได้มากกว่า 32 TB ต่อวัน 

จากนั้น คุณวิศรุตได้ยกตัวอย่างการใช้งานกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในสามภาคส่วนหลัก 

  • Smart City  เช่น การจัดการจราจร การจัดการระบบสาธารณะ 

  • Education กล้องอัจฉริยะจะมีหน้าที่เก็บข้อมูล การมีส่วนร่วมของผู้เรียน อีกทั้งช่วยดูแลความปลอดภัย 

  • Manufacturing การใช้กล้องอัจฉริยะในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิต ซึ่งคุณวิศรุตกล่าวว่า Seagate เองก็มีการใช้เทคโนโลยีนี้ในโรงงานผลิตเช่นกัน 

โดยสำหรับ Seagate เอง  ก็มีการพัฒนา SKyHawk AI  ซึ่งเป็น Harddisk สำหรับกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ที่รองรับ AI  ด้วย 

ในส่วนสุดท้าย คุณวิศรุตกล่าวถึง Total Cost of Ownership (TCO) หรือ ต้นทุนในการเป็นเจ้าของ ปัจจุบันหลายองค์กร พยายามคิดหาวิธีที่ทำให้ต้นทุนของระบบมีความคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งต้องมานั่งประเมินปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของอุปกรณ์, ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์, โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงประเด็นเรื่องพลังงาน ซึ่ง Seagate ก็มีการวิจัยและวิเคราะห์ มาว่า ปัจจุบัน Harddisk drive ยังเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมต้นทุนได้ดีที่สุด

สำหรับท่านที่สนใจโซลูชันของ Advantech สามารถติดต่อผ่าน 

Website:www.advantech.co.th
eStore: https://bit.ly/38UAUgr
Facebook: https://www.facebook.com/AdvantechThailand
LinkedIn: https://www.linkedin.com/company/13647937
Line: https://bit.ly/35HraDK
Tel: 02-248-8306-9
Email: [email protected]


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...