เจาะลึกความท้าทายและบทบาทของ IoT ในอนาคต และคำแนะนำสำหรับองค์กร หรือผู้ที่ต้องการเริ่มใช้เทคโนโลยี IoT ให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
กับ Speakers มากมายจากบริษัทชั้นนำระดับโลก
คุณยุทธภูมิ เทียมเมืองแพน KA Manager บริษัท Advantech Corporation (Thailand) Co., Ltd.
คุณหัสนัย จักรสูตร IOTG Field Sales & Application Engineer บริษัท Intel Microelectronics (Thailand) Ltd.
คุณวิศรุต ปุตระเศรณี Sales Manager บริษัท Seagate Thailand & Indochina
ในงาน Enabling The Future of IoT in 2022 เปิดโลกอนาคต IoT 2022 ด้วยความร่วมมือระหว่าาง Advantech บริษัทผู้ผลิตและบริการในการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมรวมถึง IoT Solution ชั้นนำของโลกสัญชาติไต้หวัน และ Techsauce
สำหรับคำถามนี้ คุณยุทธภูมิกล่าวในฐานะที่ตนมีประสบการณ์การทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมและการผลิตว่า ตนสนับสนุนให้องค์กรนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้งานจริง ให้เห็นผลในเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่เพียงการทำโครงการนำร่อง หรือการทำ POC (Proof of Concept) เพียงเท่านั้น ซึ่งตนอยากให้มีการนำเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AI, Robotic หรือ IoT มาใช้ เพื่อเปลี่ยนโรงงานเป็น Smart Factory สามารถที่จะติดตามกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำแบบครบวงจร และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต อีกทั้งมองว่าการพัฒนานั้น จะส่งผลต่อการพัฒนาองค์รวมของประเทศด้วย
“อยากให้ทำจริงจัง ถ้าเกิดเราทำ Industry 4.0 ให้พร้อมและพัฒนาไปเป็น 5.0 ได้ในยุคของ 5G ซึ่งสอดคล้องกับ Thailand 5.0 ด้วย แน่นอนว่าประเทศเราก็จะพัฒนาไปเรื่อยๆ”
ในด้านของคุณหัสนัย กล่าวเสริมว่า IoT นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวเรา เพราะปัจจุบันในหลายๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้นั้นก็คืออุปกรณ์ IoT เพียงแต่เราอาจจะไม่รู้
“วันนี้เราพูดเรื่อง IoT มาเยอะมาก ผมจะพูดอะไรที่ย่อยง่ายที่สุด เรามีบางแบรนด์ที่สามารถต่อไฟ ต่อแอร์แล้วคอนโทรลได้ผ่านมือถือ นี่แหละคือ IoT การนำโซลูชันแบบนี้มาใช้กับโรงงาน ต่อเข้าเครื่องจักร เข้ากับสายพานหรือกับระบบจัดเก็บ แล้วมาดูบนมือถือ นี่แหละ IoT”
โดยคุณหัสนัยกล่าวต่อว่าหากผู้ประกอบการอยากรู้ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร จะต้องเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน ด้วยการศึกษาหาข้อมูล ว่ามีอุปกรณ์ IoT แบบใดที่พร้อมใช้ และเหมาะกับธุรกิจของเรา ให้เริ่มต้นจากตรงนั้น
สำหรับคุณวิศรุต มีความเห็นไปในทางเดียวกับคุณหัสนัยว่า ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจอาจจะต้องเริ่มที่การศึกษาก่อน เพราะหากไม่มีการศึกษา การวิเคราะห์ การนำอุปกรณ์ IoT ไปใช้งานจริงจะไม่สามารถให้ประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ นอกจากนั้นจากประสบการณ์และการทำงานของ Seagate คุณวิศรุตมองว่า นอกเหนือจาก IoT นั้น ปัจจุบัน AI รวมถึง Edge Computing ก็จะเข้ามามีบทบาทมาก โดยเฉพาะในปี 2022
คุณยุทธิภูมิกล่าวว่าทุกส่วนของอุปกรณ์ IoT ถือว่ามีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์ ระบบการเชื่อมต่อ หรือ Edge Computing ขาดขั้นตอนหรืออุปกรณ์ใดไปไม่ได้
โดยคุณยุทธิภูมิได้แสดงแผนภาพตัวอย่างในโรงงานอุตสาหกรรม Edge computing สามารถช่วยเราเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน เช่น เครื่องทำความร้อน ปั๊มน้ำ เป็นต้น นอกจากนั้นจะช่วยแปลภาษาของอุปกรณ์ต่างๆ เปลี่ยนเป็นภาษาที่สื่อสารเข้าใจ หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลของแต่ละเครื่องจักรขึ้นไปบน Dashboard หรือ Cloud
คุณหัสนัยเสริมว่า Edge computing เหมือนหุ่นยนต์ผู้ช่วย ที่มีการเชื่อมต่อกับทุกเครื่องจักรในโรงงาน โดย Edge computing จะมีสมองสองส่วน ทั้งในส่วนการประมวลผล และส่วนการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งทั้งหมดจะเป็นผู้ช่วยของเรา ให้เราเข้าถึงได้ทุกข้อมูลในโรงงาน
โดยคุณหัสนัยเน้นย้ำว่า การประมวลผลที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมาก จะต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน หากผู้ประกอบการท่านใดเริ่มนำ IoT ไปใช้ และมีคำถามว่าทำไมอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีราคาสูง คำตอบก็คือ เพราะเป็นการลงทุนที่เราใช้ได้ในระยะยาว ซึ่งคุณยุทธภูมิเสริมว่า หากเรามีการเลือกชิ้นส่วนใดไม่เหมาะสม ก็อาจะทำให้เกิด Total Cost of Ownership ตามมาได้
สำหรับคำถามนี้ คุณวิศรุตได้ยกตัวอย่างวิธีการจัดเก็บข้อมูลสองแบบ ทั้ง Harddisk Drive (HDD) และ Solid State Drive (SSD) ซึ่งทั้งสองวิธีนั้นมีข้อดีและเสียแตกต่างกันออกไป ซึ่งคุณวิศรุตแนะนำว่าการเลือกใช้วิธีการใดนั้น จะต้องวิเคราะห์รูปแบบการเข้าถึงข้อมูลที่เราใช้ และความต้องการหรือความจำเป็นในการเก็บข้อมูล นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน และรูปแบบธุรกิจด้วย เช่น หากเราทำธุรกิจออนไลน์ และต้องการวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพการถ่ายโอนสูง มีการรับส่งข้อมูลแบบ Real time การใช้ SSD ที่มีความเร็วสูง ก็จะเหมาะสมกว่า แต่หากเราจำเป็นต้องเก็บข้อมูลจำนวนมาก และไม่ได้ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูง การใช้ HDD ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงกว่า
คุณหัสนัยกล่าวว่าในต่างประเทศนั้น มีการใช้อุปกรณ์ IoT มากในพื้นที่สาธารณะ ทั้งเพื่อรักษาความปลอดภัยและระบบบริหารจัดการจราจร
สำหรับประเทศไทย คุณหัสนัยได้ยกตัวอย่างโดยอุตสาหกรรมค้าปลีกและวงการแพทย์ ซึ่งเป็นสองภาคส่วนที่มีการนำอุปกรณ์ IoT เข้ามาใช้ สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีก คุณหัสนัยยกตัวอย่างในกระบวนการขนส่ง พนักงานขับรถแต่ละคนจะมีแท็บเล็ต ไว้ใช้สำหรับตรวจสอบจำนวนสินค้า และส่งข้อมูลไปถึงส่วนกลาง ในวงการแพทย์ ปัจจุบันมีการใช้เป็นหุ่นยนต์เล็ก ที่สามารถช่วยวัดความดันเลือดผู้ป่วย หรือการใช้ Telemedicine เป็นต้น ซึ่งในอนาคตคุณหัสนัยมองว่าในประเทศไทยเองก็จะมีการใช้ IoT มาสนับสนุนการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
“เราพบหลายองค์กรที่บอกว่า นำ IoT ไปใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์ ตรงนี้คือปัญหา เพราะฉะนั้นก่อนจะนำเทคโนโลยีไปใช้ เราต้องรู้และวิเคราะห์ pain point ของเราก่อน” คุณหัสนัยกล่าว โดยแนะนำว่าผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจควรจะวิเคราะห์ความต้องการของตัวเอง ก่อนจะเลือกใช้อุปกรณ์ IoT อีกทั้งควรหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยก่อนในช่วงแรก เพื่อจะหาจุดบอดที่เราอาจจะหาเองไม่เจอ สุดท้ายแล้วหากเรามีเทคโนโลยีที่ดี แต่ไม่สามารถเข้าไปตอบโจทย์ปัญหาขององค์กรได้ ประโยชน์ก็จะไม่เกิด
สำหรับประเด็นเรื่องการวิเคราะห์ความต้องการขององค์กร คุณยุทธภูมิเสริมว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากการวิเคราะห์ นอกจากนั้นการทำ Site survey ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน เพราะในทางทฤษฎีกับทางปฏิบัติมีความแตกต่างกัน การศึกษา วิเคราะห์และสำรวจก่อนจะช่วยลดต้นทุน ลดเวลาในการทำงานได้
ในด้านของคุณวิศรุต มีความเห็นว่าการลองใช้เทคโนโลยีเหมือนกับการลองผิดลองถูก โดยยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของ Seagate เอง ที่มีการทดลองใช้อุปกรณ์ Seagate SkyHawk ซึ่งเป็น HDD สำหรับกล้องวงจรปิด แต่เมื่อนำไปใช้งานจริงปรากฎว่ายังไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ จึงมีการพัฒนาไปใช้ Seagate SkyHawk AI ซึ่งเป็นการพัฒนาจาก HDD ตัวเดิม ให้รองรับการทำงานของ AI ได้ และทำให้สามารถตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิตได้ เมื่อใดที่เกิดข้อผิดพลาด ตัวกล้องก็จะส่งสัญญาณไปที่สัญญาณเตือนภัย และหยุดกระบวนการผลิตทันที
นอกจากนั้นคุณวิศรุตได้ยกตัวอย่างลูกค้าของ Seagate ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกใหญ่ในประเทศ ซี่งในแรกเริ่มก็ใช้เพียงเทคโนโลยี SkyHawk เท่านั้น แต่ภายหลังเปลี่ยนไปใช้ HDD ที่สามารถรองรับ AI ได้ ทำให้กล้องวงจรปิดสามารถเก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้งาน ทั้งเพศ อายุ และพฤติกรรมการเลือกจับจ่ายสินค้า ทำให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลมาวางแผนกลยุทธ์ได้
สุดท้ายแล้วคุณวิศรุตได้ฝากคำแนะนำถึงผู้ที่ต้องการเริ่มใช้อุปกรณ์ IoT ว่า ไม่จำเป็นต้องวิ่งตามกระแสเทคโนโลยีมากไป ควรคำนึงถึง Total Cost of Ownership ด้วย และคำนึงถึงความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่เราจะเลือกใช้ ความเหมาะสมกับรูปแบบงานที่เราทำ รูปแบบธุรกิจที่เราใช้ เพราะนอกเหนือจากการไล่ตามเทรนด์ การใช้งานได้จริงก็เป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับท่านที่สนใจโซลูชันของ Advantech สามารถติดต่อผ่าน
Website:www.advantech.co.th
eStore: https://bit.ly/38UAUgr
Facebook: https://www.facebook.com/AdvantechThailand
LinkedIn: https://www.linkedin.com/company/13647937
Line: https://bit.ly/35HraDK
Tel: 02-248-8306-9
Email: [email protected]
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด