สรุปทุกเรื่อง AI โดย 'กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล' จากงาน World Economic Forum | Techsauce

สรุปทุกเรื่อง AI โดย 'กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล' จากงาน World Economic Forum

คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ได้เข้าร่วมงาน World Economic Forum 2024 ที่เมือง Davos ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในฐานะตัวแทนของธนาคารกสิกรไทย โดยคุณกระทิงได้เปิดเผยว่า ในมุมของเทคโนโลยี เป็นที่สังเกตว่า AI เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นหัวข้อหลักในการพูดคุยในเวทีหลัก แทบทั้งหมด ในบทความนี้จะ "สรุปข้อสังเกตเรื่อง AI” ที่คุณกระทิง ได้จาก World Economic Forum ที่ Davos

1. AI is Everything, Everywhere, All At Once, and was dominating Davos 

"ทุกๆ ที่ เต็มไปด้วย AI" โดยคุณกระทิงได้เปิดเผยว่า แทบทุกๆ sessions ใน Davos มีการพูดถึง AI อีกทั้งในทุกๆ บริษัทชั้น ก็มีการใช้ธีมของ AI จนเรียกได้ว่าถนนทุกสายใน Davos เต็มไปด้วย AI จนมีการแซวกันว่า ถ้าเราได้เงิน 1 dollar ทุกๆ ครั้งที่ได้ยินคำว่า AI หรือ เข้า session ที่มีคำว่า AI ทุกคนอาจเป็น Billionaire ไปแล้ว 

อีกทั้งในหลายบทสนทนา ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ Healthcare, Financial Service, Aviation, Transporation, Creative ก็ได้มีการพูดถึง concrete AI use cases ที่ในปีนี้น่าจะมีให้เห็นแน่นอน และแม้กระทั่งเวทีระดับประเทศ เช่น Vietnam Country Dialogue หรือ ผู้นำประเทศหลายๆ ประเทศก็ผลักดัน AI เป็นเรื่องใหญ่ เพราะ AI กำลังจะเป็น General Purpose Technology เหมือน คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และจะสร้าง Impact ในวงกว้างมหาศาล และทุกคนเห็นตรงกันว่าพัฒนาการนี้จะมีแต่เร็วขึ้นแน่นอน

2. Common Use Case 

ในปี 2024-2025 ทุกอุตสาหกรรมที่จะนำ Gen AI ไปใช้แล้วสร้าง Quick win / Low hanging fruit คือ Sales & Marketing, Customer Service, Employee Productivity Improvement, Data Analysis และ KMs 

3. M.A.D (ML, AI, Data) คือ key สำคัญ 

แทบทุกคนเห็นตรงกันว่า ไม่ใช่แค่ GenAI (ที่คาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า $4 Trillion ) แต่ ML + Predictive AI + Automation Tech (ที่คาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมากกว่า $11 Trillion USD) รวมทั้ง Solid Data Platform คือกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้การนำ AI ไปใช้ประสบความสำเร็จ แต่เรื่องที่ยังดูไม่มีข้อสรุป คือ เรื่อง open data sharing และ economic model ของการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่าง content owner กับ AI company โดยตัวอย่างกรณรีของ The New York Time และ OpenAI ก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี และมีอีกหลายๆ เรื่องที่ยังไม่มีข้อสรุปหรือกระทั่งแนวทาง

4. ไม่มีความเห็นตรงกลาง

ในการพูดคุยส่วนใหญ่ ไม่มีความเห็นตรงกลาง มีแต่ความคิดสุดโต่ง 2 ด้าน คือ AI จะทำให้คนตกงานมหาศาล หรือ AI จะทำให้เกิด Productivity Boost มหาศาล และเป็นยุคทองของโลกเรา แต่ทุกคนค่อนข้างเห็นตรงกันว่าประโยชน์ ของ GenAI นั้นไม่ได้ให้ประโยชน์อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน แต่จะให้ประโยชน์บางกลุ่มหรือบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะคนที่เป็น low skilled workers สามารถยกระดับความสามารถขึ้นมาใกล้เคียง white collar workers ได้ทันที

ทำให้ white collar workers ที่ไม่สามารถยกระดับทักษะตัวเองขึ้นได้ มีความเสี่ยงที่จะถูกทดแทน จึงเกิดกระแสต่อต้าน AI ที่รุนแรง และทักษะที่ AI สามารถ augment low skilled workers ขึ้นมาให้ทำ high level jobs ได้อย่างรวดเร็วคือ language, content analysis, research, content generation, data analysis & visualization, storytelling เป็นต้น และอุตสาหกรรมที่เป็น digital-centric  เช่น eCommerce, media, finance จะได้ประโยชน์จาก GenAI ก่อน Physical-centric industry และเมื่อมีการนำ AI มาใช้มากๆ ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็จะมีการ layoff เกิดขึ้น และ tech layoff ก็น่าจะยังไม่จบแค่นี้แน่นอน

5. ศึกของ text-based GenAI นั้นใกล้จะจบแล้ว 

fundamental LLMs นั้นน่าจะอยู่ในมือของบริษัทใหญ่ๆ ทั้งหมด ถึงจะมีความพยายามที่จะสร้าง language specific ขึ้นมา ก็อาจจะ work แค่ภาษารองๆ ที่มีคนพูดน้อยกว่า 100 ล้านคน โดยเรื่องสำคัญต่อไปเป็นเรื่องการ scale ทั้งการลดต้นทุน การคำนวน + computing power และแหล่งพลังงานที่มา feed ให้มีประสิทธิภาพ และ next frontier หลังจาก text จะเป็น image, video, voice, sensory perception, reasoning + casuality และโอกาสยังมีมหาศาลใน long tail industry specific use case ระดับ $ 500 M problems โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีแหล่งข้อมูลหลากหลายและไม่ได้อยู่รวมกัน และขาดแคลนแรงงาน มีการใช้แรงงานมนุษย์ทำงานซ้ำซ้อนเยอะๆ และมีกระบวนการเฉพาะเจาะจงที่ซับซ้อน ในส่วนของ Artificial General Intelligence น่าจะใช้เวลาอีกนานกว่าที่เราคิดพอสมควร เพราะมีอีกหลายๆ เรื่องที่ต้องบุกเบิก และเรายังไม่มีองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ เหล่านั้นค่ะ

6. AI จะนำมาซึ่งความเสี่ยงมหาศาล

โดยความเสี่ยงอันดับหนึ่งของปี 2025 คือ misinformation ที่จะถูกเร่งด้วย AI ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ชนะกระทั่ง Climate hange และเชื่อว่าต้องมีการตั้ง Alliance ระดับโลกเพื่อกำหนด framework ในการกำกับดูแล AI และ ถ่ายทอดลงมาเป็น industry specific alliance for AI governance และรัฐบาลบางประเทศและ world leaders หลายๆ คนเห็นตรงกันว่า ไม่ควรไปหยุดพัฒนาการของ AI เพราะเป็นไปไม่ได้ ถึงแม้ว่ากว่า 77% จะกังวลมากๆในเรื่องนี้ แต่การจะไป control ก็แทบเป็นไปไม่ได้เช่นกัน แต่ควรค่อยๆ ปล่อยมันออกมาและ co-evolve ร่วมกัน แล้วเรียนรู้วิธีการ "contain the risks" และสร้าง Adaptive, Complex, Collaborative Private <> Public Partnership ที่สำคัญมากๆ และ เรื่อง AI Safety + AI Governance ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้กัน และเรื่องสำคัญคือการสร้าง policy ที่ทำให้ AI มา augment human และ เป็น human-centric AI ก็เป็นเรื่องใหญ่มาก 

7. Leading in turbulent world

เพราะในขณะที่ผู้นำ ~ 50% บอกว่าปีนี้จะเป็นปีที่มีความไม่แน่นอนสูงมากๆ (unstable) ปีหน้า 2025 เราน่าจะเข้าสู่โซนของความปั่นป่วน (turbulent ) แน่นอน และ การ rethink new way of work ที่ CEOs หลายๆ คนอยากให้กลับมาทำงานที่ office มากขึ้น หรือเรื่องการ redesign & rewire องค์กรให้เป็น AI-driven organization ที่หลายๆ คนคาดว่าจะเป็นการสร้างองค์กรที่ประกอบไปด้วย many small agile teams ที่ถูก orschetrated ด้วย AI ที่ทำงานร่วมกับ middle management ที่คอยดูแล many agile team และ มี top management ที่คอย make decision ที่ถูกช่วย guided ด้วย AI และ set OKRs, Policy, วาง Strategy และ ดูแลเรื่อง Governance และคนพูดเหมือนกันหมดว่า tech layoff จะ continue และไม่หยุดแค่นี้แน่นอน เพราะจะมีการ shift ไปลงทุนด้าน AI และนำ AI มาใช้ในงานมหาศาล ดังนั้น leaders ต้อง lead with humility และต้องกล้าที่จะลุกมาเรียนรู้และยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ และต้องมี empathy เพิ่มขึ้นมหาศาล เพราะยิ่งวิวัฒนาการด้าน AI เข้าไกล้ Artificial General Intelligence มากเท่าไหร่โลกเราจะยิ่งตึงเครียด กดดัน และปั่นป่วนมากขึ้นแน่นอน

นี่เป็นบางส่วนจากการสรุปเรื่องราวของ AI ที่คุยกระทิงได้เรียบเรียงมาจากงาน World Economic Forum โดยคุณกระทิง ยังได้พบกับผู้นำด้าน AI หลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น Kai Fu Lee , Sam Altman , Andrew Ng เป็นต้น

โดยในปีนี้รัฐบาลไทยได้กลับมาเข้าร่วมงาน World Economic Forum อย่างเป็นทางการอีกครั้งในรอบ 12 ปี และยังมีการจัดเวที Thailand Country Dialogue ต้อนรับนักลงทุนและนักธุรกิจที่สนใจในประเทศไทยอีกด้วย

บทความนี้ได้รับการสนับสนุนเนื้อหาโดย Facebook : Jantanarak Yui Tuekaew

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Food Biotechnology “เนื้อจากแล็บ” ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ

Blood Free Group บริษัท Biotechnology จากซีรีส์เรื่อง Blood Free เปิดตัว ‘เนื้อจากแล็บ’ ตอบรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค...

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...

Responsive image

เจาะรากความสำเร็จ Samsung แชโบลตระกูลสำคัญ จากพ่อค้าปลาแห้ง สู่ผู้คุมเศรษฐกิจเกาหลีใต้

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะว่าทำไมร้านของชำ Samsung ในเมืองเล็ก ๆ ถึงสามารถเติบโตจนกลายมาเป็นผู้คุมเศรษฐกิจของประเทศได้ แท้จริงแล้วมันมาจากความของเก่งของ Lee Byung-chul อย่างเ...