กำจัดยุงด้วย AI กับ ZZapp Malaria สตาร์ทอัพจากอิสราเอลที่มุ่งแก้ปัญหายุงชุม | Techsauce

กำจัดยุงด้วย AI กับ ZZapp Malaria สตาร์ทอัพจากอิสราเอลที่มุ่งแก้ปัญหายุงชุม

ปัญหาไข้เลือดออกและมาลาเรียคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค Techsauce จะพามารู้จักกับ ZZapp Malaria สตาร์ทอัพผู้ใช้ AI ระบุตำแหน่งแหล่งกำเนิดยุงเพื่อกำจัดก่อนเป็นพาหะนำโรค

AI

รู้จัก ZZapp Malaria

ZZapp Malaria เป็นสตาร์ทอัพจากอิสราเอลก่อตั้งในปี 2016 โดยมี Arnon Houri-Yafin เป็นผู้ก่อตั้งและปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัท รูปแบบธุรกิจของบริษัทจะเป็นแบบ B2G หรือ Business-to-government นั่นคือการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทและรัฐบาล

โรคไข้เลือดออกรวมไปถึงไข้มาลาเรียเป็นโรคที่มักจะระบาดในกลุ่มประเทศแบบร้อนชื้น เช่นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบ้านเรา หรือในแอฟริกา ที่เมื่อเข้าหน้าฝนเมื่อไหร่ ยุงก็จะเพาะพันธ์ุและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว 

ZZapp Malaria มองเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงคิดหาวิธีการแก้ปัญาที่มีอยู่โดยสร้างแพลตฟอร์ม ที่มีซอฟต์แวร์ AI เชื่อมต่อกับดาวเทียมสำหรับหาตำแหน่งและวิเคราะห์แหล่งเกิดยุงลาย พร้อมกับใช้ข้อมูลการสุ่มตัวอย่างน้ำและการวางตำแหน่งสำหรับดักยุงลายโดย AI จะประเมินขนาด ประเภท และการแพร่กระจายของประชากรยุงเมื่อเวลาผ่านไป

ยังมีข้อมูลที่ได้จากโดรน และ อุปกรณ์อื่นๆสำหรับการบันทึกข้อมูล ที่อยู่บนพื้นฐาน GIS หรือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลทั้งหมดจะถูกอัพโหลดขึ้นไปหน้า Dashboard เป็นภาพลักษณะแผนที่ทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งฉีดยุง และแหล่งที่ก่อให้เกิดยุงเช่น แหล่งน้ำ เป็นต้น

AI ที่ ZZapp Malaria นำมาพัฒนาคือ AI XPRIZE เป็นความร่วมมือของ Zapp Malaria และทีม AI กับ Data Science Elite ของ IBM Watson ซึ่ง IBM Watson ยังมีโครงการที่ต้องการให้ Startup หรือบริษัทเทคโนโลยีนำเสนอ AI ที่ช่วยเปลี่ยนโลกได้ 

เริ่มทดลองในประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น

การที่จะรู้ว่าโปรดักส์ของเราสามารถตอบโจทย์ได้มากแค่ไหนสิ่งที่จะต้องทำคือการนำไปทดลองจริงๆ ZZapp Malaria จึงเริ่มทำการทดลองในประเทศ กานา, โมซัมบิก, เกาะแซนซิบาร์ ในประเทศแทนซาเนีย, เอธิโอเปีย และเกาะเซาตูเมและปรินซีปี

การทดลองนำ AI มาใช้นั้นเห็นผลที่สุดคือการทดลองในประเทศกานา ปี 2017 ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่าง AGAMal บริษัทที่มุ่งเน้นในการควบคุมและกำจัดโรคมาลาเรียในประเทศกานา 

โดยปัญหาที่พบคือการที่บริษัทไม่สามารถระบุแหล่งกำเนิดยุงว่าแหล่งไหนบ้างอย่างชัดเจน ทำให้การเข้าไปกำจัดยุงไม่ทั่วถึง แอปพลิเคชั่นที่ ZZapp Malaria จึงตอบโจทย์อย่างมาก เพราะหากสำเร็จจะสามารถลดเวลาในการกำจัดยุงได้ถึง 20% 

ในปี 2018 AGAMal ได้ทำการทดลองใช้แอปของ Zzapp ในการระบุแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยทำการแบ่งเป็นกลุ่มคนสองกลุ่มซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำในพื้นที่เดียวกัน กลุ่มแรกจะใช้แอปของ ZZapp และอีกกลุ่มหนึ่งใช้วิธีการเดิม ซึ่งกลุ่มที่ใช้แอปของ ZZapp นั้นสามารถตรวจพบแหล่งน้ำ ที่ก่อให้เกิดยุงเพิ่มขึ้นถึง 28% โดยครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 90% โดยประมาณ

จนปี 2020 AGAMal ได้เปิดตัวปฏิบัติการกำจัดยุงทั่วเมือง Obuasi ในประเทศกานา ที่มีประชากรทั้งหมด 200,000 คน ระบบ Zzapp ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยลดประชากรยุง ได้มากกว่า 60% ในเวลาเพียงสามเดือนครึ่ง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำหรับการใช้งาน เฉลี่ยต่อคนเพียง 0.2 เหรียญต่อคน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการฉีดพ่นยุงในบ้านต้องมีค่าใช้จ่าย อย่างน้อย 5 เหรียญ

ZZapp Malaria ยังคงต้องพัฒนาโปรแกรม ฟีเจอร์ต่างๆพร้อมกับนำผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ไปใช้ทดลองในประเทศอื่นๆมากขึ้น ในอนาคตจะมีการปรับปรุงการใช้โดรนสำหรับทำแผนที่แหล่งน้ำ และเพิ่มแอปสำหรับเจ้าหน้าที่ภาคสนามอิสระ และพัฒนาระบบการจัดการและควบคุม(Vector Management) แบบดิจิทัล 

ที่มา : ZZapp Malaria, Slove MIT

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...