ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมา AIS ผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำของไทยประกาศเดินหน้าทดสอบประสิทธิภาพของ “5G” เทคโนโลยีเครือข่ายแห่งอนาคต การทดสอบดำเนินมาจนถึงช่วงสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน ปี 2019 ที่ AIS ได้ทดสอบบังคับ Drone ซึ่งบินอยู่ที่กรุงเทพฯจากศูนย์ควบคุมซึ่งตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ได้สำเร็จ ยังไม่นับการควบคุมรถที่อยู่ในกรุงเทพฯจากพื้นที่หาดใหญ่ และอื่นๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นทั่วประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา
ซึ่งหากสังเกตดีๆ จะพบว่าการทดสอบ 5G ของ AIS มีเรื่องการใช้ Smartphone ประกอบด้วยในสัดส่วนน้อยกว่าที่คิดกัน แถมตัวอย่างส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องที่เจาะลงไปหาภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจเสียมากด้วย จึงเป็นที่น่าสนใจว่า “ทำไม” AIS จึงเสนอภาพการทดสอบ 5G ในลักษณะนี้ Techsauce จึงขอพูดคุยกับ คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและสนับสนุนเทคนิคทั่วประเทศ AIS ซึ่งเป็นผู้ดูแลการทดสอบตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ให้ทุกท่านได้ติดตามกัน
เมื่อพูดถึง 5G หลายคนมักจะนึกถึงแค่ความเร็วของการ Download เป็นหลัก ซึ่งจริงๆ แล้ว ค่าดังกล่าวเป็นเพียงแค่ปลายทางของสิ่งที่เกิดขึ้นใน 5G เท่านั้น และยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่ 5G เข้ามาปลดล็อกการเข้าถึงและใช้งาน Deep Technology ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งคุณวสิษฐ์ อธิบายว่าคุณสมบัติหลักของ 5G ที่น่าสนใจมีอยู่ 3 ข้อ
คุณวสิษฐ์ ยังแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบของ 5G ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในอนาคตด้วย โดยระบุว่าจากการประกาศของ กสทช. คลื่นความถี่ 5G ที่จะประมูลกันในบ้านเราตอนนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 คลื่น ได้แก่ คลื่น 2.6 GHz ซึ่งเป็นคลื่นที่กระจายในพื้นที่กว้างกว่า และคลื่นความถี่ 26 GHz ซึ่งเป็นคลื่นที่กระจายในพื้นที่เล็ก แต่รองรับอุปกรณ์จำนวนมากกว่า
ทั้งนี้ เมื่อ 5G เปิดใช้อย่างเป็นทางการ คุณวสิษฐ์ ชี้แจงในเบื้องต้นว่า จะต้องเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือและซิมการ์ดของผู้ใช้เพื่อรองรับเครือข่ายชนิดใหม่นี้อย่างแน่นอน
คุณวสิษฐ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 AIS ได้เริ่มทดสอบประสิทธิภาพของ 5G ที่กรุงเทพฯ แล้วจึงขยับขยายมาทดลองในพื้นที่จริงทั้ง 5 ภาคของประเทศไทย ทั้งในพื้นที่ภาคกลาง, ภาคตะวันอก, ภาคใต้, ภาคอีสาน, และภาคเหนือ ซึ่งหากสังเกตดีๆ รูปแบบการทดสอบ 5G จะไม่มีเรื่องการใช้งาน Smartphone เลย แต่เป็นการแสดงศักยภาพของ 5G ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ
ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่ AIS ดำเนินการทดสอบ 5G Use Case ในลักษณะนี้ เนื่องจากให้ผู้เกี่ยวข้องใน 5G Ecosystem เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G ในทุกมิติ ที่ไปไกลกว่าแค่การใช้งานในระดับผู้บริโภค แต่สามารถสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดย 5G จะกลายเป็นตัวปลดล็อกที่ทำให้การดำเนินธุรกิจแบบเดิมโดน Disrupt อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายกำลังตื่นตัว
คุณวสิษฐ์ กล่าวว่า อันที่จริง 5G เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ผ่านมา การเข้ามาของ 5G ในบ้านเราจึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยด้วย เพราะปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเริ่มพัฒนา Solution เพื่อมาใช้กับ 5G เหมือนกัน จึงคาดหวังว่าหากผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจมากพอ ก็อาจช่วยให้อุตสาหกรรมของเรามีโอกาสมากขึ้นได้
ถ้าเราทำช้า คนอื่นทำก่อนเรา เราจะตามเขาไม่ทัน
สุดท้ายนี้ คุณวสิษฐ์ กล่าวว่า AIS พร้อมจะเป็น Partner ให้กับทุกคนที่อยากพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงส่วนที่สำคัญในระดับรากฐานอย่างการศึกษา จึงเห็นว่าปีที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการแบ่งปันความรู้และวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G อย่างจริงจัง รวมถึงการเปิด AIS Playground แหล่งรวมครีเอเตอร์รุ่นใหม่ด้านเทคโนโลยี ที่จะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรม สำหรับเหล่านักศึกษา,สตาร์ทอัพ, ครีเอเตอร์รุ่นใหม่ และประชาชน ที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G และนวัตกรรมแห่งอนาคตได้เข้ามาทดลองสร้างสรรค์นวัตกรรมบนสภาพวาดล้อมจริง เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของคนในยุคดิจิทัล
จากความตื่นตัวและการลงมือศึกษา ทลอง ทดสอบ 5G อย่างจริงจังของผู้ให้บริการเครือข่ายอย่าง AIS หลายคนก็คงอุ่นใจว่าประเทศไทยคงได้ใช้ 5G แบบไม่ตกขบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างแน่นอน ขณะเดียวกันเมื่อเทคโนโลยีนี้เข้ามาแล้ว ก็กลายเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เราคงได้เห็นนวัตกรรมที่น่าตื่นเต้นจาก 5G ผ่านการสนับสนุนโดย AIS อย่างแน่นอน
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด