เปิดภารกิจใหญ่ "AIS Academy" ปรับองค์กร ปลุกพนักงานรับยุค Digital Disruption | Techsauce

เปิดภารกิจใหญ่ "AIS Academy" ปรับองค์กร ปลุกพนักงานรับยุค Digital Disruption

หากเอ่ยถึงการที่โลกและมนุษย์จะเข้าสู่ยุคแห่งการถูก Disruption โดยเทคโนโลยีดิจิทัลเมื่อ 10 ปีก่อน แน่นอนว่าคนที่ตระหนักถึงประเด็นนี้อาจมีน้อยถึงน้อยมาก เนื่องจากเราแทบไม่มีตัวอย่างของการ Disruption ให้สัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน

ในทางกลับกัน วันนี้..โลกเราก้าวมาถึงยุคที่หุ่นยนต์มีความเก่งกาจ และทำอะไรบางอย่างเหมือนอย่างที่มนุษย์ทำได้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เมื่อไม่นานนี้ คนไทยได้รู้จักกับ "Sophia" หุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่ได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองของประเทศซาอุดิอาระเบียแล้วอย่างเป็นทางการ และเป็นวันที่โลกมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI และบิ๊กดาต้า (Big Data) เข้ามาเสริมทัพให้หุ่นยนต์เสมือนมนุษย์เหล่านั้น สามารถคิดวิเคราะห์ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ การสร้างความตระหนักในประเด็น Digital Disruption อย่างจริงจัง อาจเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรในประเทศไทยต้องเริ่มใส่ใจอย่างจริงจัง

การได้เห็น ‘เอไอเอส’ เปิดโอกาสให้พนักงานในองค์กรได้สัมผัสกับหุ่นยนต์ Sophia ตัวจริงเสียงจริง รวมถึง ได้ฟัง ดร. เดวิด ฮันซัน ผู้ก่อตั้งบริษัท Hanson Robotics และเป็นผู้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ดังกล่าว มาแสดงวิสัยทัศน์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงเป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจ และต้องบอกว่ามีองค์กรไม่มากนักที่ "จัดใหญ่" ขนาดนี้ เพื่อให้พนักงานได้พบกับประสบการณ์จริงของ Digital Disruption ที่กำลังเกิดขึ้นแล้วทั่วโลก

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทอินทัช

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทอินทัช เผยว่า กิจกรรมการพบปะกับ Sophia ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ AI ตัวแรกของโลกที่ได้รับสัญชาติจากประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ AIS Academy ร่วมกับทาง Slingshot Group จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และ AI ให้กับพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่การตื่นรู้ ช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะของพนักงานให้ตอบโจทย์ความต้องการของยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดย คุณกานติมา ให้ทัศนะว่า ความท้าทายของฝ่ายทรัพยากรบุคคลคือการไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะเตรียมการรับมือกับยุค Digital Disruption อย่างไรจึงจะถูกต้องที่สุด ทางออกเดียวคือการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กรให้พร้อมต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ ‘เอไอเอส’ สร้างศูนย์การเรียนรู้ ภายใต้ชื่อ AIS Academy ขึ้นมา

ภารกิจของ AIS Academy คือ ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน เพื่อให้มีศักยภาพเทียบเท่าระดับมาตรฐานนานาชาติสากล โดยมีหลักสูตรการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของลักษณะงาน และโปรแกรมหลักสูตรพิเศษร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก อาทิ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT, Havard Business School, มหาวิทยาลัย Manchester ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ผ่านระบบ Digital Learning Platform อย่าง AIS Learn Di ซึ่งสามารถเข้าถึงความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา

นอกจากนั้น ยังมีห้องสมุดดิจิทัลในชื่อ AIS Read Di และแพลตฟอร์ม AIS Fun Di ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสะสมแต้มจากกิจกรรมพัฒนาตนเองของพนักงาน และสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ ซึ่ง ‘เอไอเอส’ มองว่าหลักสูตรการพัฒนาตนเองในลักษณะนี้ตอบโจทย์พนักงานได้อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะ Gen Y ที่องค์กรมีพนักงานกลุ่มนี้มากถึง  80%  จากพนักงานทั้งหมด 12,000 คน

แต่การทรานสฟอร์มของ ‘เอไอเอส’ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะภายในสิ้นปี จะมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ลดลำดับขั้นในการทำงานจากเดิมที่มีมากถึง 18 ขั้น เหลือเพียงแค่ 6 ขั้น ซึ่งการปรับโครงสร้างนี้ คุณกานติมา บอกว่า จะทำให้ ‘เอไอเอส’ เป็นองค์กรที่ เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เปิดใจกว้างขึ้น และเคารพในตัวตนของคนอื่นได้มากขึ้นในเวลาเดียวกัน และเปรียบเสมือนวัยรุ่นที่คล่องแคล่ว ว่องไว

สำหรับเหตุผลว่าทำไมจึงต้องพัฒนาพนักงานให้มุ่งไปสู่ทิศทางนั้น คุณกานติมา เล่าว่า เราพบความสอดคล้องบางประการระหว่างแนวคิดของ AIS Academy กับแนวคิดของ ดร.เดวิด ฮันซัน ผู้พัฒนาหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ Sophia ที่มองว่า ทักษะที่มนุษย์ในยุคต่อไปควรมีนั้น คือการเปิดใจให้กว้าง เนื่องจากเป็นไปได้ว่า ต่อไปมนุษย์และหุ่นยนต์จะอยู่ร่วมกันในฐานะพาร์ทเนอร์ชิปมากขึ้น ซึ่งการจะก้าวไปสู่จุดดังกล่าว จำเป็นที่มนุษย์จะต้องเป็นบุคคลที่เปิดกว้างทั้งทางความคิดและจิตใจ รวมถึง ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งยังเป็นจุดที่ปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถทำได้ดีนักในทุกวันนี้

ดร.ฮันซัน ผู้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ Sophia กล่าวว่า

การมองว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความกลัวต่อการมาถึงของหุ่นยนต์ แต่ในความเป็นจริง เราสามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ เช่น ให้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยทำงานรูทีน งานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรืองานอันตรายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อวันนั้นมาถึง มนุษย์จะถูกยกระดับไปทำงานที่เหนือกว่า นั่นคืองานที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ หรือการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...