ถือเป็นวาระที่น่าสนใจสำหรับวงการ Startup ในเอเชีย เมื่อรัฐบาลเกาหลีได้จัดงาน The Asia Startup Summit (ASSUM 2018) ขึ้นในวันที่ 5-8 กันยายน เปิดให้ตัวแทน Startup จากนานาประเทศทั่วเอเชียมาใช้เวทีในการ Pitch แข่งขัน และแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง Startup Ecosystem ในแต่ละประเทศ เป็นโอกาสสำหรับการสร้าง Connection ในการต่อยอดธุรกิจ
สำหรับประเทศไทย AIS The StartUp นำโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp และ Golfgigg หนึ่งใน AIS The StartUp นำโดย คุณธีระ ศิริเจริญ CEO & Co-Founder และคุณวิชาติพล สุรพลพิเชฏฐ์ CPO & Co-Founder GOLFDIGG Co., Ltd. ตัวแทน Startup สัญชาติไทยที่ได้รับเชิญจากทางประเทศเกาหลีให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งตัวแทนที่มีทั้งหมดสามท่านจะมาแบ่งปันความรู้และแง่มุมที่น่าสนใจให้เราได้ฟังกัน
ดร.ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp ตัวแทนจาก AIS The StartUp และผู้ได้รับเชิญเป็น Speaker ในงาน
ดร. ศรีหทัย : งานนี้ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลเกาหลี เขามองว่าประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) มีความแข็งแรงในการผนึกกำลังรวมกลุ่ม community ในเชิงภูมิภาคได้อย่างแข็งแรง เพื่อผลักดันความร่วมมือด้าน startup ระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน อีกส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีก็ที่มีนโยบายผลักดัน Startup ในแต่ละประเทศเช่นกัน แต่ยังคงทำแยกกันอยู่ในแต่ละประเทศ แต่ละรายก็มีจุดเด่นที่แข็งแรงแตกต่างกัน ปัจจุบันการ cross ระหว่าง 2 ภูมิภาคยังค่อนข้างห่างกันและขาดศูนย์รวม ทางเกาหลีสร้างแนวคิด country as a platform โดยมีหลักการณ์ที่สรุปได้โดยรวมดังนี้
การสร้างตัวเองเป็น country as a platform ทำให้เกาหลีสามารถกระจายทั้งเรื่องความรู้ เทคโนโลยีต่างๆ ในภูมิภาคกันเองและระหว่างภูมิภาคร่วมกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความท้าทายอย่างหนึ่งในภูมิภาคนั้นคือ เขาค่อนข้างจะมีความแข็งแกร่งในแต่ละประเทศ ซึ่งการ Break the ice เพื่อเชื่อมต่อความร่วมมือระหว่างกันสร้างความท้าทาย จึงจัดงาน Asia Startup Summit ในวันที่5-8 กันยายนที่ผ่านมา เป็นงานที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะลงทะเบียนเข้ามาได้ แต่จะมีการเลือกตัวแทนแต่ละประเทศเพื่อมาประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจใน startup ecosystem ของแต่ละประเทศ และโอกาสการขยายความร่วมมือ ดังนั้นในนามที่ไปไม่ได้ไปในนามเพียงแค่ตัวแทน AIS The StartUp แต่ได้รับเชิญไปในนามของตัวแทนคนไทยเพื่อบอกเล่าให้ต่างชาติได้รู้ว่าประเทศไทยทำอะไรบ้าง และโอกาสในการสร้างความร่วมมือระหว่าง startup ของไทย และ startup เกาหลีและ SEA เป็นอย่างไรได้บ้าง
ในการประชุมครั้งนี้นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมีตัวแทนที่ได้รับเชิญจากประเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย อินเดีย เวียดนาม จีน และ เกาหลี อีกด้วย
ดร. ศรีหทัย : สิ่งที่ได้แชร์ในงานก็จะเป็นภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะความเข้มแข็งของเมืองไทยเองในเรื่องของความร่วมมือของทั้ง 3 ฝ่ายคือหน่วยงานเอกชน รัฐบาลและ Startup เอง ทั้ง 3 ฝ่ายเกิดความร่วมมือกันได้อย่างไร และแต่ละฝ่ายช่วยทำอะไรบ้างเพื่อนำประเทศไทยไปสู่ Digital Economy ในปัจจุบันและภายภาคหน้า
ยกตัวอย่างเช่น สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (DEPA) ที่มีเงินทุนให้กับสตาร์ทอัพไทย ตั้งแต่ที่เป็น Conceptual Stage, Idea Stage, และ Scale up Stage เพื่อให้ Startup แต่ละช่วงสามารถเติบโตไปได้ต่อ ซึ่ง 1 ใน Portfolio ของ DEPA ชื่อ SP Smartplants ก็เป็น Portfolio ของ AIS เช่นกัน DEPA สนับสนุนในเรื่องเงินทุน องค์ความรู้ และ AIS ช่วยในเรื่องของการออกสู่ตลาดและความร่วมมือในเชิงเทคโนโลยีร่วมกับ Telco ซึ่ง SP Smartplants เข้ามาเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ของโครงการ Digital for Thais ในภาคการเกษตรของ AIS เราก็จะได้เห็นภาพจิ๊กซอว์ว่ารัฐบาล เอกชน และ Startup เมื่อมีการร่วมมือกันแล้วสามารถขับเคลื่อน (Move) เป็นพลังที่ส่งเสริมกันได้
ดร. ศรีหทัย : เกาหลีลงทุนในเวียดนามเยอะมาก ซึ่งมีโอกาสได้คุยถึง Ecosystem ของเวียดนามที่ถือว่าเพิ่งเกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าตกใจคือเขาเร็วกว่าเรา จากที่เราใช้เวลาเป็นหลายปีในการฟอร์มขึ้นมา แต่เขาใช้เวลาเพียงปีในการดำเนินการต่างๆ และดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามา
อีกอย่างที่รู้สึกตื่นเต้นคือ Startup ในกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่เซินเจิ้น ซึ่งมีโอกาสได้คุยกับตัวแทนของเซินเจิ้น 2-3 ท่าน ก็พบว่าวิธีการคิดของเขามีความแตกต่างจาก Silicon Valley ในระดับหนึ่ง เวลาเขาคิดคือเขา Make for Business แนวคิดการทำธุรกิจ startup ใน Shenzhen ไม่ได้ถูก back ด้วย big venture เหมือนที่ Silicon แต่ startup จะต้องมีแนวคิดว่าจะสร้าง real use for real business ดังนั้นที่ Shenzhen ไม่ได้มุ่งเพื่อสร้าง unicorn ที่มี company valuation 1 M USD แต่เพื่อสร้าง company size ที่มีรายได้ 1M USD เมือเทียบกับ Silicon Valley แล้ว Shenzhen เป็น young economy โดยที่ Economy zone ก่อตั้งเมื่อประมาณ 1980 (ประมาณ 39 ปี) และ อายุคนเฉลี่ยประมาณ 25 ปี
เวลาเราพูดถึง Startup ที่มาทำในเซินเจิ้นอาจจะเป็นคนจีน แต่จริงๆ แล้ว Startup ที่ทำด้าน Hardware IoTมาเติบโตในเซินเจิ้นมีมาก มาจากทวีปแอฟริกาใต้เป็นส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน และการทำ Product ของเขาที่เราคิดว่า Startup ต้องทำ product ให้เร็ว ซึ่งที่เซินเจิ้นเป็นที่หนึ่งที่ทำให้เห็นว่าคำว่าเร็วคืออะไร
การผลิตฮาร์ดแวร์ออกมา ที่อื่นอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือปี แต่ที่เซินเจิ้นใช้เวลาเป็นวันและสัปดาห์ในการที่จะปล่อยออกสู่ตลาด ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งอย่างที่ทำให้เราได้เปิดโลกใหม่ว่า มันมีหลายมุม แม้กระทั่งในทวีปเอเชียเองก็มีหลายมุมที่เราอาจจะยังมองไม่เห็นหรือแม้กระทั่งของเกาหลีเองที่เขานำมาตั้ง ชื่อว่า Startup Campus จะเป็นตึกใหญ่ ในนั้นจะมี Incubator, Hardware, IoT Lab ซึ่งก็ได้คุยกันว่าวิธีการดำเนินการของเขาเป็นอย่างไร เขาบอกว่าให้รัฐบาลทำ แล้วรัฐบาลเขาโฟกัสเพื่อ implement ขนาดไหน ปรากฏว่ารัฐบาลเป็นเสมือน Hardware ที่ทำให้เกิด environment ต่างๆขึ้น ในขณะเดียวกันเขาก็จะมี non-profit ที่ทำตัวเหมือน Software Engine ในการทำให้ environment ขับเคลื่อนได้ วิธีการของเขาค่อนข้างจะชาญฉลาด
เรื่องของ Generation ก็เป็นข้อมูลที่ดีสำหรับ startup ในการออกสู่ตลาดต่างชาติอีกข้อหนึ่ง นอกจาก Shenzhen แล้วอินโดนีเซียและฟิลิปินส์ก็เป็น young generation market ที่มีอายุเฉลี่ยต่ำกว่า 30ปี
ดร. ศรีหทัย : ทีม Golfdigg เป็นผู้ชนะ AIS The StartUp ในปี 2014 ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเขาได้พิสูจน์ให้เห็นในเรื่องของ Traction ได้อย่างชัดเจน และการเติบโตของเขามันมีการเติบโตแบบมีนัยยะสำคัญจริงๆ (Significant)
ในขณะเดียวกันลูกค้าของ Golfdigg ไม่เพียงแต่เป็นลูกค้าในไทยแต่ยังมีลูกค้าต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งเกาหลีถือว่าเป็นเป้าหมายของ Golfdigg ด้วย เพราะคนเกาหลีชอบตีกอล์ฟและคนเกาหลียังมาตีกอล์ฟที่ไทยเยอะมาก ที่สำคัญคือคนเกาหลีจองสนามกอล์ฟผ่าน Golfdigg เยอะมาก
Golfdigg เขามี represent อยู่ที่เกาหลีโดยที่เขายังไม่ได้ทำการตลาดอะไรเลย เรามองว่ามันเป็นโอกาสหนึ่งที่เราจะให้ Golfdigg ได้ไปเปิดตลาดและสัมผัส environment จริงๆ ที่นั่น จากตัวเลขการใช้งานของลูกค้า Golfdigg จะเห็นได้ว่าลูกค้าที่มาจากเกาหลีมีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เรานำ Golfdigg ไปด้วย
โดยตัวแทนจาก Golfdigg ที่มีโอกาสได้ร่วมงานและขึ้น Pitch ได้แก่ คุณธีระ ศิริเจริญ CEO & Co-Founder GOLFDIGG และคุณวิชาติพล สุรพลพิเชฏฐ์ CPO & Co-Founder GOLFDIGG Co., Ltd.
คุณธีระ : Golfdigg ถือว่าได้เป็นทั้งตัวแทนประเทศไทยและตัวแทนของ AIS The StartUp เป็นการ Pitch ที่ตื่นเต้นในระดับหนึ่งเลยเพราะเขาจะมีการแบ่งเป็น 2 รอบ โดยรอบแรกให้ Pitch ภายใน 5 นาที จากนั้นจะมีการโหวตจากกรรมการและจากเว็บไซต์ที่ให้คนทั่วไปเข้ามาโหวตได้ และทำการรวมคะแนน เพื่อเข้าไป Pitch รอบที่ 2 ผลการ Pitch เราเกือบได้เข้าไปรอบที่ 2 แต่การโหวตจากเว็บไซต์ที่มาจากคนทั่วไปยังไม่เพียงพอ
คุณธีระ : โดยรวมถือว่าเป็นมุมมองที่ดี เพราะในงานจะมีการพูดถึงการเข้าไปในแต่ละประเทศ และมี Speaker ของแต่ละประเทศ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และหลายๆ ประเทศ แต่ละคนก็จะพูดถึงมุมมองจากเกาหลีหรือประเทศอื่นที่อยากเข้ามาในประเทศเขาว่าควรมีประสบการณ์ หรือมีข้อควรระวังอย่างไร ซึ่งทางเราก็มีความคิดเหมือนกันว่าอยากเข้าไปในประเทศอื่น ก็ถือว่าเป็นความรู้ที่ดีมาก
คุณธีระ : มีเรื่องของความเชื่อใจ เพราะการที่เราจะเข้าไปในแต่ละประเทศต้องมีคนที่เราเชื่อใจได้ (Local Partner) อย่างเช่นเราเป็น Startup จากไทยจะเข้าไปในอินโดนีเซีย มันก็ไม่เหมือนกันทั้งหมด เขาก็แนะนำเราว่าควรจะมี Local Partner เพื่อทำให้บริการของเรา Localize ในการที่จะไปตอบปัญหาแต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศ และวิธีในการสร้างความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นกับ Partner แต่ละประเทศ
คุณวิชาติพล : ในมุมมองของผมที่ได้จากงานนี้ อย่างวันแรกจะมีตัวแทนของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นคนที่อยู่ในวงการ Startup จริงๆ และเป็นคนที่ดูแล ในแต่ละด้านของประเทศนั้นๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้เยอะๆ คือเขามาแชร์ Customer Insight ของประเทศนั้นจริงๆ ซึ่งข้อมูลอย่างพวกประชากร การใช้อินเทอร์เน็ตเราก็หาได้จาก Google แต่ key success หรือข้อมูลที่อินไซต์มากกว่าการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต Grab Taxi หรือธุรกิจอื่นๆ ในมาเลเซีย ทำไมเข้าถึงมียูนิคอร์นอยู่ 3 ราย ทำไม Traveloka ถึงโตได้โดยที่ Founder อายุแค่ 30 ปี เป็นต้น ซึ่งทำให้เรารู้ว่าถ้าสักวันหนึ่งธุรกิจของเรามีโอกาสที่จะขยายไปยังอินโดนีเซีย เราสามารถเริ่มได้จากตรงไหน อะไรคือข้อดี ข้อเสียของรัฐบาลแต่ละประเทศให้ความสำคัญ หรือกฎหมายที่เขากำลังจะแก้
อย่างฟิลิปปินส์ที่เขาแชร์ว่าในประเทศเขามันมีอยู่ 4-5 อย่างที่ยังแก้ไม่ได้ และเขาก็ยังอยากให้แก้อยู่ หรือกระทั่งเงินเดือนของ Startup ที่กำลังหา Dev เข้ามา ค่าครองชีพแต่ละประเทศเป็นอย่างไร ทำให้ Golfdigg รู้ว่าในประเทศนี้กำลังซื้อสูง แต่วันที่ขยายออกไปก็ต้องมีต้นทุนเรื่องการจ้างคนที่สูงขึ้น
คุณธีระ : ตอนนี้ก็มีคุยกับ partner หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่เกาหลี ก็มีโอกาสจะเข้าไปในรอบใหม่
คุณวิชาติพล : การเข้าไปตอนนั้นเราก็ได้ลองใช้ Expedia ของคนๆ นึงที่ไปอยู่ที่เกาหลี ลองถาม partner และคนที่เกาหลีว่าปกติเขามีเว็บบอร์ด มีการหาข้อมูลออนไลน์ทางไหนได้บ้าง เราก็ได้ชื่อมาและนำมาเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ต ก็เห็นว่ามีคนเกาหลีที่เดินทางมาตีกอล์ฟในไทย มีคนมาเสิร์ชหา Golfdigg พูดถึงว่าจองยังไง ดียังไง ก็มีบ่นบ้างบางเรื่องว่าจองแล้วเวลาไม่ตรง เขางงว่าคือเวลาไทยหรือเกาหลี หรือบริการของเราน่าจะมีแปลงค่าเงินจากบาทเป็นเงินวอน
เราก็ได้ insight จากคนเกาหลีค่อนข้างเยอะ ซึ่งตอนนี้ก็มาอ่านพวกคอมเมนต์ต่างๆ และเก็บเป็น feedback เพื่อมาพัฒนาแอปฯ ต่อไปด้วย
คุณธีระ : การที่เราจะเข้าไปในต่างประเทศ เราต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราทำอะไร เพื่อใคร และเพื่ออะไร ต้องดูว่าเขามีปัญหาอะไร ต้องปรับตัวในการเข้าไปในประเทศนั้นๆ เพราะแต่ละประเทศ คน วัฒนธรรม หรือแม้แต่วิธีการทำงานต่างๆ ก็ไม่เหมือนกัน อย่างเช่นจะเข้าไปในอินโดนีเซียที่มีประชากร 200 กว่าล้านคน เป็นตลาดที่ใหญ่มาก และเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะ ไม่ได้เป็นแผ่นดินใหญ่ เพราะฉะนั้นคนของเขาจะกระจายตัวกันเยอะมาก และเขาทำอะไรเร็วมาก มีวิธีของเขาเอง ดังนั้นเราก็ต้องรู้ธุรกิจของตัวเอง ต้องเข้าใจคนในประเทศนั้นๆ เพื่อจะทำให้ธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
คุณธีระ : ถ้าเราไม่ได้เข้ามาใน AIS The StartUp เราคงไม่มีโอกาสได้ไปงานแบบนี้ ซึ่งเป็น conference แบบปิด คนที่ได้รับเชิญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไป คนที่ได้เข้าไปก็เป็น Startup ที่ถูกคัดเลือกในแต่ละประเทศ ทำให้เราเจอคนที่เขาเก่งในประเทศนั้นๆ ผมเชื่อว่าน่าจะมี 3-4 รายที่เราได้คุยมาตลอด 3 วัน น่าจะได้เกิดความร่วมมือ การทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนการขยายไปแต่ละประเทศร่วมกัน มันทำให้เปลี่ยนมุมมองของเราเหมือนกัน คือการขยายไปต่างประเทศไม่เรื่องยากแล้ว ถ้าเรามี partner ที่ดีพอ ซึ่งงานนี้ทำให้เราคิดว่ามีส่วนช่วยให้เรา ขยายธุรกิจได้
ดร. ศรีหทัย : รัฐบาลเกาหลีเขาให้ความสำคัญมากเรื่อง Startup สิ่งที่ชื่นชมคือเขาไม่ได้ทำเป็นงานเปิดที่มีคนเยอะเกินไป แต่ทำเป็นงานขนาดที่ทุกคนเข้าถึงกันได้ เชิญคนที่รู้ลึกรู้จริงของแต่ละประเทศมา เพราะเขาต้องการทำให้งานนี้ informative ความหมายคืองานไม่ต้องใหญ่แต่แน่ใจว่าคนที่ไปทุกคน connect กันและแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นก็เชิญคนเกาหลีเข้าไปด้วย เขาก็อยากให้คนของเขารู้ว่าประเทศอื่นๆ ทำอะไร งานนี้รัฐบาลเกาหลีเป็น Fully Sponsor ทั้งตั๋วเครื่องบิน ที่พัก งานนี้เป็นงานที่ไม่ได้ใหญ่แต่เป็นงาน premium
คุณวิชาติพล : ตอนที่เราไปและมีโอกาสได้คุยกับ Startup ที่มาจากจีน สิงคโปร์ และเวียดนาม ก็ได้ถามว่าเขาการทำงานของที่นั่นเป็นอย่างไร founder เขาเริ่มต้นธุรกิจอย่างไร ทีมเขาทำงานกันหนักแค่ไหน เราก็ได้รู้ว่าจริงๆ แล้วเขาทำงานกันค่อนข้างเยอะและจริงจังมาก เขาบอกว่าทำงานกันตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน บางครั้งบางเดือนเขาทำงานกัน 7 วัน 12 ชม. ถ้าเรามีฮาร์ดแวร์บางอย่างและคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ไปคุยกับเขา เขาบอกว่าเขาสามารถรื้อออกมา copy ได้ภายใน 24 ชม. ได้ 1 ล้านชิ้นภายใน 3 เดือน คุณจะสู้เขาได้อย่างไร?
เราก็กลับมานั่งคิดและดูในส่วนของเราว่าวันหนึ่งที่เรามีบริการแล้ว และเริ่มมีคู่แข่งขึ้นมาแล้ว เราควรจะพัฒนาอะไรที่จะทำให้คู่แข่งไม่สามารถตามได้ หรือสามารถเป็นผู้นำสิ่งใหม่ๆ ต่อไปได้
นับว่าน่าสนใจที่ประเทศไทยได้มีตัวแทนไปแลกเปลี่ยนความรู้และ connection ในวงการ Startup ในเวทีระดับเอเชีย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การต่อยอดความร่วมมือทางธุรกิจของ Startup ประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการหา Local Partner หรือการแชร์ insight ของลูกค้าไปจนถึงเงื่อนไขเฉพาะในประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยทางความสำเร็จสำคัญที่จะส่งผลดีต่อ Ecosystem ของ Startup ในไทย ไปจนถึงในตลาดเอเชีย
AIS มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของ startup ไทย เพื่อสนับสนุนนักธุรกิจรุ่นใหม่ให้เติบโตทางการค้าในระดับอินเตอร์ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับครอบครัว AIS The StartUp โดยสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้เพื่อเข้าร่วมโครงการ AIS The StartUp Monthly Pitching เพื่อนำเสนอผลงานและมาร่วมเป็น Business partnership ได้ที่ www.ais.co.th/thestartup
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด