วิธีที่ Alibaba - Tencent - Baidu สามยักษ์ใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ตจีนใช้ลุยตลาดโลก | Techsauce

วิธีที่ Alibaba - Tencent - Baidu สามยักษ์ใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ตจีนใช้ลุยตลาดโลก

ในอดีต บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีนถูกเมินโดยนักลงทุนใน Silicon Valley  (ซิลิคอน แวลลีย์) เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะก็อปปี้ผลิตภัณฑ์ของฝั่งตะวันตก แต่ตอนนี้ไม่เป็นแบบนั้นแล้ว เพราะเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนนั้นกำลังพาตัวเองก้าวสู่ระดับโลกอย่างรวดเร็ว

ไปดูข้อมูลเบื้องต้นของสามยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตในจีนกัน รายแรก Alibaba (อาลีบาบา) กรุ๊ปอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของจีนซึ่งมี Transactions (ปริมาณการซื้อขาย) ในแต่ละปีมากกว่า eBay (อีเบย์) และ Amazon (อเมซอน) รวมกัน โดยประธาน Jack Ma (แจ็ค หม่า) เป็นผู้ขับเคลื่อนในการให้บริการลูกค้ามากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลกภายในระยะเวลา 20 ปี

รายที่สอง Tencent (เทนเซ็นต์) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการอินเทอร์เน็ตจีนซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเกมออนไลน์และโซเชียล มีเดีย กลายเป็นบริษัทมหาชนที่มีมูลค่าประมาณ 275 พันล้านดอลลาร์ สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก โดย Pony Ma (โพนี หม่า / ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ Jack Ma แม้ว่าจะมีนามสกุลเดียวกัน) ประธานของ Tencent ต้องการให้จีนปฏิวัติเทคโนโลยีเพื่ออนาคต

ทั้งสองบริษัทจากจีนนี้เข้ามามีอิทธิพลในระดับโลก และต่อมาก็กลายเป็น ‘BAT’ สามยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ต คือ Baidu - Alibaba - Tencent โดยบริษัทที่สาม Baidu (ไป่ตู้) ผู้ให้บริการ Search Engine เข้ามาครองตลาดหลักได้หลังจากที่ Google ออกจากจีนไปเนื่องจากเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ซึ่งจะทำให้ Google ล้าหลัง และเมื่อเทียบกับสองบริษัทแรกแล้ว Baidu ก็ยังตามหลังอยู่

เผยจุดต่างทางความคิดที่ทำให้ธุรกิจโตเร็วโดยเทียบกับฝั่งตะวันตก

ทั้งสามบริษัทนี้มีความแตกต่างจากบริษัทฝั่งตะวันตกในเรื่องวิถีทางธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้

  • ประการแรก บริษัทตะวันตกส่วนใหญ่ชอบที่จะโฟกัสไม่กี่ Core Areas (พื้นที่หลัก) ในขณะที่บริษัทอินเทอร์เน็ตจีนมักพยายามทำทุกอย่างตั้งแต่ระบบคลาวด์ คอมพิวติง ไปจนถึงการชำระเงินแบบดิจิทัล ซึ่งในแนวทางนี้ก็มีตัวอย่างแอปพลิเคชันที่ประสบความสำเร็จมากของ Tencent ออกมาให้เห็น นั่นคือ WeChat และผลที่ได้ก็สามารถสร้างความประทับใจได้
  • ประการที่สอง ด้วยข้อยกเว้นการ Censor ด้านการปกครอง ภาคอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนจึงไม่ถูกควบคุมมากนัก แต่สำหรับ Facebook, Apple และ Google นั้นตรงกันข้าม ต้องเผชิญกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างมาก บริษัทอินเทอร์เน็ตของจีนจึงสามารถครองตลาดประเภทที่จะดึงดูดความสนใจอย่างใกล้ชิดในตลาดอื่นๆ ได้
  • ประการที่สาม บริษัทจีนสามารถประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็วและเติบโตได้มาก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐนั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และบ่อยครั้งที่จีนไม่มีแม้แต่โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่จะทำให้เกิดการก้าวกระโดด เรียกว่าเป็น Third-tier Cities (หัวเมืองรองระดับสาม) เช่น มักจะขาดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าพิจารณาทั่วประเทศแล้วมีห้างสรรพสินค้า 1 แห่งต่อประชากร 1.2 ล้านคน

ตลาดในจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่ได้หยุดยักษ์ทั้งสามจากการฟาดฟันกันเองในสนามรบ และผลที่ได้จากการสู้รบก็เผยออกมาอย่างรวดเร็ว Tencent กับ Alibaba นั้นวิ่งวุ่นกับการก้าวไปข้างหน้า และเป้าหมายของทั้งสององค์กรยักษ์นี้ก็ทิ้งให้ Baidu ตามหลังอยู่ห่างๆ

ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นให้ความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับ Baidu ไว้ว่า จะกลายเป็น Yahoo ของจีน ยักษ์ใหญ่ที่มีการใช้ค้นหาเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะล่มสลายจากการขาดนวัตกรรมและมีการบริหารในด้านต่างๆ ที่ผิดพลาด

รายละเอียดที่ลึกขึ้นของเหล่ายักษ์

ในด้านข้อมูลองค์กร Baidu มีการเติบโตด้านรายได้ลดลงเป็น 6.3% ในปี 2016 ซึ่งลดลงจากปี 2015 คิดเป็น 35% และลดลงจากปี 2014 คิดเป็น 54% โดยมีรายได้จากโฆษณาออนไลน์ประมาณ 9 ใน 10 ส่วน แต่รายได้ที่ลดลงนี้สืบเนื่องจากนักการตลาดเปลี่ยนจากการทุ่มงบโฆษณาบน Baidu ไปยังเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น WeChat และแพลตฟอร์มการค้าบนมือถือที่ดำเนินการโดย Alibaba ในขณะเดียวกัน Baidu ก็ผลาญเงินมหาศาลในด้าน Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์), Online Video (วิดีโอออนไลน์), Virtual และ Augmented-reality  (เทคโนโลยีเสมือนจริง) และบริการ Online to Offline (O2O : ออนไลน์สู่ออฟไลน์) ซึ่งหนึ่งในที่ปรึกษาด้านธุรกิจที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดของจีนมองในแง่ลบเกี่ยวกับอนาคตของสิ่งเหล่านี้ว่า "มีโอกาสน้อยมากที่แต่ละส่วนจะมีความเกี่ยวข้องกันภายในระยะเวลา 5 ปี"

เมื่อกลับไปมองที่สองยักษ์ใหญ่ Tencent ดูจะน่าเกรงกลัวที่สุด เพราะมีรายได้มากกว่า Alibaba แล้ว (เมื่อดูจากกราฟ) โดยมูลค่าของ Tencent ไต่ขึ้นจากเม็ดเงินโฆษณาที่ลงในแอป WeChat ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นอาวุธหลักที่ Tencent นำมาต่อกรกับ Alibaba

หนึ่งในอาวุธของ Tencent คือการลงทุนใน JD.com บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่เป็นอันดับสองของจีน นำโดย Richard Liu (ริชาร์ด หลิว) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่มีความแข็งกร้าวและประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศจีน โดยโมเดลธุรกิจของ JD.com มีการลงทุนในสินทรัพย์สูง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Amazon ในอเมริกา และจนถึงปัจจุบัน การลงทุนจำนวนมากในด้านคลังสินค้า, โลจิสติกส์ และการจัดส่งสินค้าก็ยังไม่สามารถทำได้เทียบเท่ากับ Alibaba

ในปีที่ผ่านมา JD.com มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 37.5 พันล้านดอลลาร์ โดยเพิ่มขึ้นจาก 28 พันล้านดอลลาร์ในปี 2014 ส่วนแบ่งตลาดในประเทศจีนก็เพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2016 โดยเพิ่มขึ้นจาก 18% ณ สิ้นปี 2014 และถ้าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของหลิวเริ่มสร้างผลตอบแทนได้ การเติบโตภายในประเทศของ Alibaba ในอนาคตก็อาจตกอยู่ในความเสี่ยง

ภัยคุกคามดังกล่าวอาจอธิบายได้ว่า ทำไม Jack Ma จึงยังไม่พอใจส่วนแบ่งตลาดโดยรวมของ Alibaba ที่มีอยู่ 70% ในตลาดอีคอมเมิร์ซท้องถิ่น โดยในปี 2016 Alibaba ใช้เงิน 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อเข้าควบคุมกิจการ Lazada (ลาซาด้า) ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ชที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเดือนมีนาคม Lazada ก็เปิดตัวบริการใหม่สำหรับชาวสิงคโปร์โดยตรง ในการซื้อสินค้าบน Taobao (เถาเป่า) ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซภายในประเทศของ Alibaba (อีกแพลตฟอร์มคือ Tmall)

อาวุธของเหล่ายักษ์ที่จะใช้บุกตลาดโลกมีอะไรบ้าง

ปีที่ผ่านมา Jack Ma โน้มน้าวให้การประชุมสุดยอด G20 ของประเทศผู้นำเข้ารับรองข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับ eWTP : electronic World Trade Platform (แพลตฟอร์มการค้าโลกอิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กค้าขายข้ามพรมแดนได้ง่ายขึ้น ส่วนเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Alibaba ก็เปิดตัว Digital Free-trade Zone (เขตการค้าเสรีแบบดิจิทัล) ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ริเริ่มในประเทศมาเลเซีย ซึ่งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนนี้จะเข้ามาทำให้เรื่องโลจิสติกส์และการชำระเงินแก่ผู้ค้ารายย่อยทำได้ง่ายขึ้น

อาวุธหลักของ Jack Ma ที่จะพาธุรกิจไปสู่ระดับโลกคือ Ant Financial (แอนท์ ไฟแนนเชียล) ซึ่งถูกแยกออกจาก Alibaba ก่อนที่จะมีการระดมทุน 25 พันล้านดอลลาร์เมื่อปี 2014 ในนิวยอร์ก โดยในประเทศจีน

  • Ant Financial มีบริการครอบคลุมตั้งแต่ธนาคารออนไลน์ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนต่างๆ
  • Ant Financial ทำธุรกิจผู้ให้บริการด้าน Credit-scoring รายแรกของประเทศ ชื่อว่า Sesame Credit ซึ่งใช้ Big Data เพื่อหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือของนักพนัน
  • Ant Financial มีลูกค้ามากกว่า 450 ล้านรายในประเทศจีนและกำลังขยายไปต่างประเทศด้วยความชื่นมื่น

Ant Financial ยังลงทุนในธุรกิจด้านการชำระเงินออนไลน์ท้องถิ่นในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ส่วนในอเมริกา Ant Financial อยู่ในระหว่างการประมูลและเข้าต่อสู้ในสงครามกับ Euronet ซึ่งเป็นคู่แข่งในอเมริกา เพื่อซื้อ MoneyGram International ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโอนเงิน และเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา Ant ก็เสนอเงินให้ MoneyGram จำนวน 1.2 พันล้านดอลลาร์  มากกว่า 3 เท่าที่ร่วมประมูลกับ Euronet

ทางด้าน Tencent นั้น เข้าซื้อกิจการจำนวนมากในต่างประเทศ โดยมีหุ้นส่วนนำเงิน 8.6 พันล้านดอลลาร์ไปซื้อ Supercell ในฟินแลนด์เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นดีลที่ทำให้ Tencent กลายเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเมื่อปีที่แล้ว Tencent ยังร่วมกับบริษัท Foxconn แห่งไต้หวัน บริษัทผู้ผลิตด้านอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ลงทุน 175 ล้านดอลลาร์ใน Hike Messenger แอปพลิเคชันส่งข้อความในอินเดียซึ่งคล้ายกับ WhatsApp ในอเมริกา นอกจากนี้ Tencent ยังเป็นนักลงทุนในลำดับต้นๆ ของ Snapchat ในอเมริกา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันส่งข้อความยอดนิยมที่ Snap บริษัทแม่ ได้เป็นบริษัทมหาชนในเดือนมีนาคม

เหตุผลในการซื้อกิจการเหล่านี้เป็นเพราะว่า ในช่วงต้นที่ Tencent พยายามจะโปรโมต WeChat ในต่างประเทศ (รวมถึงแคมเปญโฆษณาในยุโรปที่มีนักฟุตบอล Lionel Messi) นั้นล้มเหลว เพราะเครือข่ายทางสังคมที่ก่อตัวขึ้นอย่าง Facebook และ WhatsApp ยึดครองตลาดได้มากเกินกว่าจะไปรบด้วยได้ และแม้ทางฝั่งตะวันตกจะ Copy บางอย่างจากพวกเดียวกัน หรือมีครั้งหนึ่งที่นำนวัตกรรมของ WeChat ไปปรับใช้ ผู้บริโภคฝั่งตะวันตกก็ยังมีเหตุผลน้อยนิดที่จะเปลี่ยนไปใช้เครือข่ายสังคมของจีน

การลงทุนในพื้นที่หลักของ Tencent นั้นห่างจากสนามที่ Alibaba และ Baidu ครอบครองอยู่ แต่บางครั้งทั้งสามองค์กรก็ร่วมทำอะไรบางอย่างด้วยกันโดยไม่ได้ออกแบบเอาไว้ เช่น การที่ BAT เป็นผู้สนับสนุนของ Didi Chuxing (ตีตี ชูสิง) บริษัทผู้ให้บริการเรียกรถรับส่งคล้าย Uber และถ้ามองในด้านอื่นๆ นั้น สงครามในประเทศของ BAT กำลังไหลออกสู่ตลาดต่างประเทศ

สนามรบในต่างแดนที่ต้องวางกำลังไว้ให้แน่น

อินเดีย ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่สมรภูมิรบของ BAT เพราะในเดือนเมษายน 2017 Tencent ร่วมกับ  eBay และ Microsoft ลงทุนในบริษัท Flipkart ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกออนไลน์ชั้นนำในอินเดียด้วยจำนวน 1.4 พันล้านดอลลาร์ ส่วน Alibaba และ Ant Financial ก็ออกมารายงานร่วมกันว่า ลงทุนเกือบ 900 ล้านดอลลาร์ใน Paytm บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ชั้นนำของอินเดียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดย Paytm ได้เปิดตัวพอร์ทัลอีคอมเมิร์ซที่คล้ายกับ Tmall ของ Alibaba เพื่อใช้กับ Flipkart และ Amazon ในอินเดีย

สำหรับพื้นที่อื่น เมื่อเดือนที่แล้ว Tencent เปิดตัวบริการซึ่งจะอนุญาตให้บริษัทในยุโรปใช้ WeChat ขายสินค้าในแผ่นดินใหญ่ สิ่งนี้จะช่วยให้ฝั่งยุโรปค้าขายกับประเทศจีนได้โดยตรง นอกจากนี้ Tencent ก็เพิ่งลงทุน 1.8 พันล้านดอลลาร์ใน Tesla ผู้บุกเบิกรถยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ที่ขับเคลื่อนอย่างอิสระในอเมริกา  นั่นคือสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับ Baidu ซึ่งวางเดิมพันเพื่ออนาคตกับการทำ Machine Laerning และ AI เอาไว้

แรงผลักดันของ Baidu ในตลาดต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นวิธีการเข้าถึงความสามารถในเทคโนโลยีดังกล่าว โดย Baidu เพิ่งเริ่มต้นแคมเปญสรรหานักพัฒนาครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา ได้แก่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แม้ว่า Andrew Ng ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จะลาออกไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ Baidu ก็มีแลปด้าน AI ที่ Silicon Valley

อย่างไรก็ตาม Baidu ก็ยังไม่มีอาวุธเหมือนที่ Alibaba และ Tencent มี และความพยายามของ Baidu ที่จะเอาชนะตลาดต่างประเทศก็ยังล้มเหลว เช่น ญี่ปุ่น ที่มี Search Engine เป็นของตัวเองและเพิ่งเปิดตัวเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ Tesla ทำไปแล้วในปี 2014 กระนั้นก็ดี Baidu ยังมีหนทางอีกยาวไกลที่จะก้าวต่อไปก่อนจะเกิดอิมแพ็คด้านการขับขี่อัตโนมัติขึ้นมา

เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในระดับโลก BAT ควรจะหยิบจับส่วนเล็กๆ น้อยๆ ในประเทศไว้ด้วย ซึ่งมันอาจเป็นข้อผิดพลาดหากละเลยตลาดในประเทศที่สร้างผลกำไรได้ เช่นที่ Goldman Sachs (โกลด์แมน แซคส์) ธนาคารเพื่อการลงทุนคำนวณไว้ว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์ของจีนจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวภายในปี 2020 เป็น 1.7 พันล้านดอลลาร์ หรือที่ Duncan Clark (ดันแคน คลาร์ก) ผู้เขียนหนังสือเล่มล่าสุดของ Alibaba ชี้ให้เห็นว่า พาดหัวข่าวของ Jack Ma และเจ้าของธุรกิจอินเทอร์เน็ตรายอื่นๆ มีผลต่อการลงทุนในกิจการต่างประเทศ

"ต้องใช้พลังมากหากจะเลี่ยงแรงดึงดูดของจีน"

แต่ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือประเทศอื่นๆ ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ไม่สามารถเพิกเฉยต่อยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตจากจีนได้เลย

ที่มาของเรื่องและภาพ The Economist

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...