ไม่ได้มีแค่ Fintech... มาดูสตาร์ทอัพสาย Blockchain ในวงการ Healthcare กัน | Techsauce

ไม่ได้มีแค่ Fintech... มาดูสตาร์ทอัพสาย Blockchain ในวงการ Healthcare กัน

เมื่อพูดถึง Blockchain นาทีนี้ หลายๆ คนคงนึกถึง Bitcoin หรือการนำไปใช้ในสาย Fintech เป็นอันดับแรกๆ แต่เราคงไม่เคยได้ยินว่ามีสตาร์ทอัพสาย Healthcare ที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ด้วยเช่นกัน โดยการประยุกต์ใช้ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่การติดตามยาของผู้ป่วยไปจนถึงการเก็บข้อมูลการรักษาของคนไข้ เป็นต้น นี่อาจจะถึงเวลาแล้วที่ Blockchain จะช่วยเข้ามาพัฒนาวงการนี้ให้เข้าสู่ยุคใหม่ ทำให้นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพจะได้รับเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นไปอีก มาดูบริการต่างๆ จากสตาร์ทอัพ Blockchain Healthcare กันเลย

Gem แพลตฟอร์มเครือข่ายด้านการแพทย์และยาบน Blockchain

สตาร์ทอัพเจ้าแเรกที่จะพูดถึง มีชื่อว่า Gem บริษัทนี้เปิดตัว Gem Health ออกมาในปี 2016 ที่ผ่านมา เป็นแพลตฟอร์มบน Blockchain สำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะสร้างเครือข่าย Community ด้านการแพทย์และยารักษาโรคขึ้นมา เพราะบริษัทนี้เชื่อว่าเทคโนโลยี Blockchain จะเป็นปัจจัยพื้นฐานอันทันสมัยที่จะช่วยเพิ่มช่องทางใหม่ๆ ให้คนเชื่อมต่อกันได้ และยังสามารถรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยไปพร้อมกันด้วย

bc-gem

ภาพแสดงการใช้งานของ Gem Health จากเว็บไซต์ Gem

พารท์เนอร์เจ้าแรกก็ไม่ใช่ใครอื่น “Philips Blockchain Lab” ศูนย์วิจัยเทคโนโลยี Blockchain ด้านการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะของบริษัทยักษ์ใหญ่ Philips นั่นเอง มีการศึกษาทั้งเรื่องการวิจัยทางคลินิก (Clinic Trials), Supply chain ของยารักษาโรค, ศึกษาด้านพันธุวิศวกรรม เช่น การจัดการข้อมูลจีโนมิกส์และอื่นๆ

บริษัทนี้เซ็นสัญญากับสำนักงาน e-Health ของประเทศเอสโตเนีย สร้างระบบเครือข่ายที่คนไข้ ผู้ให้บริการ บริษัทเอกชนต่างๆ และภาครัฐจะสามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษาของคนไข้ในประเทศได้อย่างปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี Blockchain หากมีการอัปเดตข้อมูลหรือมีการเข้าถึงข้อมูลการรักษาใดๆ ก็ตาม ทุกอย่างจะถูกบันทึกไว้บน Blockchain ทำให้รัฐบาลหรือหมอไม่สามารถปกปิดหรือเปลี่ยนแปลงประวัติคนไข้โดยไม่ได้รับอนุญาตได้เลย

Brontech สร้างความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลคนไข้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

บริษัท Cyph MD ในประเทศออสเตรเลียเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลทั่วไป เมื่อผู้ป่วยมักต้องต่อคิวยาวๆ เพื่อกรอกข้อมูลต่างๆ หรือเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ต้องคอยเช็คแฟ้มประวัติคนไข้ให้ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงหมอที่ยังใช้ช่องทางเก่าๆ อย่างการโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วยซึ่งแม้จะเป็นช่องทางที่ไม่ปลอดภัยแต่ผู้ป่วยก็ต้องยอม ดังนั้นบริษัทนี้จึงสร้าง Brontech แพลตฟอร์มบน Blockchain ที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค และยังวางแผนจะใช้ระบบ Smart Contracts ของ Ethereum บน Blockchain อีกด้วย

bc-brontech

รูปภาพจากเว็บไซต์ Brontech

MedRec แพลตฟอร์มจัดการประวัติการรักษาด้วย Ethereum

ผู้สร้าง MedRec คือศิษย์เก่าที่จบจากสถาบัน MIT ผู้มีเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมข้อมูลของตัวเองได้ จึงสร้างแพลตฟอร์มจัดการประวัติการรักษาด้วย Ethereum บน Blockchain ขึ้นมาโดยผู้ป่วยสามารถเข้ามาดูข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลจากทุกโรงพยาบาลที่เคยไปรับการรักษามาได้ใน เหมือนกับคอนเซปต์ One-stop ของร้านค้าที่ร้านเดียวมีทุกอย่าง มีการรวบรวม Data pointers ด้วยระบบ Smart contracts ของ Ethereum นั่นเอง

PokitDok ซอฟต์แวร์แก้ปัญหาจากประสบการณ์ตรงในการพบแพทย์

PokitDok เกิดจาก CEO ที่เคยต้องค้นหาวิธีรักษาโรคกระดูกสันหลังของเธออยู่ถึง 6 เดือน ประสบการณ์ตรงของเธอทำให้เธอเห็นว่าการสื่อสารระหว่างเครือข่ายการแพทย์และระบบการรักษานั้นยังไม่ดีพอ เธอจึงสร้างซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยเพื่อเชื่อมต่อขั้นตอนทั้งหมด ตั้งแต่ยืนยันตัวตน  ทำ Marketplace เชื่อมต่อสถานรักษาพยาบาลกับผู้ป่วย จัดตารางพบแพทย์ ครอบคลุมไปถึงขั้นตอนการชำระเงิน

bc-potidok

รูปภาพการทำงานของ PokitDok

Blockchain Health Co. แชร์ข้อมูลด้านการแพทย์กับนักวิจัยอย่างปลอดภัย

สตาร์ทอัพใน San Francisco ที่ใช้ Blockchain เพื่อปฏิวัติความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยด้านการแพทย์กับคนไข้ ให้สามารถแชร์ข้อมูลให้กันได้อย่างปลอดภัย ทั้งตัวตนของคนไข้และการยินยอมต่างๆ ตามหลักการ Chain of Custody เพื่อให้เกิดความแน่นอนของผลการตรวจกับสิ่งส่งตรวจ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกบน Blockchain นั่นเอง

Factom เก็บข้อมูลคนไข้อย่างละเอียดในกรณีที่ต้องใช้เป็นหลักฐาน

Factom ทำสัญญากับ HealthNautica ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ข้อมูลสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา แล้วนำข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ตั้งแต่ค่ารักษาพยาบาลไปจนถึงข้อมูลการติดต่อระหว่างหมอกับคนไข้ มาบันทึกบน Blockchain เพื่อเก็บไว้ใช้หากต้องมีการเรียกร้องค่าเสียหาย หลังจากนั้นจะทำให้บริษัทประกันต่างๆ หันมาใช้เทคโนโลยีนี้ในการบันทึกข้อมูลเช่นกันเพื่อความถูกต้องในการตรวจสอบข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

Stratumn สร้างความโปร่งใสในวงการอุตสาหกรรมยา

สตาร์ทอัพในฝรั่งเศสก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการนำ Blockchain มาใช้ในการวิจัยทางคลินิกเพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล เพราะความโปร่งใสและเชื่อใจได้ ถือเป็นประเด็นหลักในอุตสาหกรรมยา เพราะความโปร่งใสและเชื่อใจได้ ถือเป็นประเด็นหลักในอุตสาหกรรมยา ซึ่งจากการศึกษาพบว่าด้วย Protocal แบบเดิม ไม่สามารถทำให้หาข้อมูลออกมาได้ตรงตามต้องการเท่าที่ควร 

Tierion หวังใช้ Blockchain บันทึกข้อมูลทุกประเภทเพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ

บริษัท Tierion ใช้ Blockchain สร้างแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ระดับโลก เพราะเล็งเห็นว่าในอนาคตจะสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ตรวจสอบข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่บันทึกทางการแพทย์ไปจนถึงการชำระเงินออนไลน์ โดยร่วมมือกับ Philips Healthcare เพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่จะมาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพให้ดีขึ้น

Blockpharma ใช้ Blockchain ติดตามยารักษาโรค

สตาร์ทอัพในฝรั่งเศสที่คิดใช้ Blockchain ติดตามยารักษาโรค ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใน Supply chain สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและแจ้งเตือนเมื่อมีการปลอมแปลงยาอีกด้วย เมื่อมีข้อมูลและการพิสูจน์เอกสารต่างๆ ก็จะทำให้เราบอกได้ว่ายาแต่ละตัวมาจากโรงงานตามที่ระบุไว้จริงหรือไม่

blockxhain-healthcare-startup-feature

จะเห็นได้ว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงกำลังค้นคว้าและทดลองการใช้งานของ Blockchain ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ในปัจจุบัน ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ยากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรรมนี้ให้ทันสมัย โดยเราจะเห็นว่าไม่ได้มีพัฒนาการมากว่า 10 ปีแล้ว

บริษัทยาก็กำลังมองว่าวิธีที่จะปรับปรุงการทำงานเพื่อมอบการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามระบบด้านสุขภาพก็ถึงเวลาที่จะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง และสตาร์ทอัพเหล่านี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้

ที่มา: IntelligenceHQ

ความเห็นกองบรรณาธิการ

ก่อนหน้านี้เราเพิ่งยกตัวอย่างสตาร์ทอัพด้าน Healthcare อย่าง RingMD ไป เป็นหนึ่งในความพยายามในการเปลี่ยนแปลงวงการแพทย์และการดูแลสุขภาพ และในบทความนี้ ก็มีการนำเทคโนโลยี Blockchain ที่ว่ากันว่าจะเป็นเทคโนโลยี "ปฏิวัติวงการ" มาใช้สร้างความเปลี่ยนแปลงในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและพัฒนาการรักษาพยาบาลด้วย ซึ่งนอกจากตัวเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ Blockchain ในการบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และสร้างความโปร่งใสให้กับข้อมูลต่างๆ ของคนไข้และการรักษาพยาบาลของแพทย์แล้ว เรายังต้องมองต่อไปอีกว่า จะทำอย่างไรให้พฤติกรรมของผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจนสอดคล้องกันกับเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดระบบที่ดีขึ้น มีการใช้งานจริงในองค์กรต่างๆ และปฏิวัติเข้าสู่ Heathcare ยุคใหม่ในที่สุด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...