Blockchain อาจกำลังล้าสมัย เมื่ออนาคตคือ Hashgraph | Techsauce

Blockchain อาจกำลังล้าสมัย เมื่ออนาคตคือ Hashgraph

เมื่อเราพิจารณาถึงเทคโนโลยีพลิกโลกนับจากอินเตอร์เน็ต ว่ากันว่า Blockchain คือเทคโนโลยีต่อไป โดยในปี 2008 Blockchain เกิดขึ้นมาตอบสนองต่อการล่มสลายของสถาบันการเงินหลายแห่ง จากการเปิดตัว Whitepaper โดย Satoshi Nakamoto ผู้เขียนบทความ “Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System”

"เทคโนโลยี blockchain อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมแบบ peer-to-peer โดยไม่มีตัวกลางเช่นธนาคารหรือหน่วยงานกำกับดูแล" - Don Tapscott

Blockchain เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลสาธารณะ เป็นระบบบัญชีแบบกระจาย ไม่มีศูนย์กลาง อัพเดทอย่างต่อเนื่องพร้อมกัน ปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส แต่ในตอนนี้มีหลายเทคโนโลยีที่อ้างว่ารวดเร็วและดีกว่า Blockchain หนึ่งในนั้นคือ Hashgraph ที่มีการจดสิทธิบัตรขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และกำลังถูกพูดถึงว่า เทคโนโลยีนี้แหละคืออนาคตที่จะมาล้ม Blockchain

อะไรคือ Hashgraph และทำไมถึงดีกว่า?

Hashgraph เป็นเป็นระบบเทคโนโลยีบัญชีระบบกระจายใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากดูรูปแบบการทำงาน จะเห็นจากรูปว่า Blockchain จะทำงานเชื่อมโยงข้อมูลกันเป็น Block มี Chain เชื่อมต่อกันเส้นเดียว แต่ของ Hashgraph ทำงานเชื่อมต่อกันเป็น Graph มีกลไกที่เหนือกว่า อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ Hashgraph

กลไกลของ Hashgraph ที่เหนือกว่า Blockchain

  1. ความเร็ว : Hashgraph สามารถธุรกรรม  250,000+ ธุรกรรมต่อวินาที  ซึ่งปัจจุบัน Bitcoin ทำได้ 7 ธุรกรรม ต่อวินาที
  2. ยุติธรรม : มีการพิสูจน์ด้วยคณิตศาสตร์ (ผ่านการประทับตราเวลาร่วมกัน) ซึ่งไม่มีบุคคลใดสามารถจัดการลำดับของธุรกรรมได้ แต่ในโลกของ Blockchain ผู้เป็น Miner สามารถเลือกคำสั่งสำหรับการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้
  3. ความปลอดภัย : ระดับความปลอดภัยเทียบเท่าธนาคาร

ประสิทธิภาพ : ใน Blockchain การทำธุรกรรมจะถูกใส่ใน Block ที่เป็นโซ่ยาว โดยหากมี Miners สองรายสร้าง Block  พร้อมกันจะมีรายนึงถูกปฏิเสธ แต่ใน hashgraph ไม่มีใครถูกทิ้ง

ที่มาของภาพและเนื้อหา squawker

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...