คนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีเงินทุนมากมาย จะสามารถลงมือสร้าง Startup ให้สำเร็จได้อย่างไร? เมื่อสิ่งที่ชี้วัดไม่ใช่แค่ไอเดีย แต่เป็นเรื่องการลงมือปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง และนี่ก็คือคำแนะนำเรื่องการหาเงินหล่อเลี้ยงตัวเองในช่วงแรก จากประสบการณ์จริงของ TakeMeTour และ GetLinks
โดยบทความนี้เป็นการสรุปเนื้อหาจากงาน DO IT OR DIE : Bootstrap for Young Startup ที่ HUBBA Workshops & Events จัดขึ้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559
เป็นอีกคำศัพท์หนึ่งที่นิยมพูดกันในวงการ ว่าด้วยเรื่องของเงินทุน โดย Bootstrapping คือพึ่งพาเงินลงทุนของตัวเอง โดยที่ยังไม่พึ่งพาการ Raise funding (ระดมทุน) กล่าวได้ว่าเป็นสภาวะที่ Startup ทั่วไปจะต้องเจอ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนในช่วงแรก
มีอยู่สองวิธีหลักๆ
1. Personal financing
คือการหาเงินลงทุนด้วยตัวเอง เช่น เงินเก็บสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งจากการรับจ้างหรือทำงานเสริมอื่นๆ เป็นต้น นอกจากการหาเงินเองของ Founders แล้ว เราอาจขอการสนับสนุนจากคนรอบข้าง อย่างเช่นกลุ่ม 3F ได้แก่ Friends (เพื่อน), Family (ครอบครัว) และ Fools (ใครก็ตามที่ซื้อไอเดียของเรา) ก็ได้ (ถ้าคุณสามารถจูงใจพวกเขาได้สำเร็จ)
สำหรับทีม TakeMeTour นั้น เป็นการ Bootstrap โดยใช้วิธี Personal financing เป็นหลัก ซึ่งจะเล่าหลังจากนี้
2. Customer financing
ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะยังไม่สมบูรณ์ 100% แต่วิธีนี้คือการขายไอเดียหรือ Product เริ่มต้น (MVP) ให้กับลูกค้า โดยที่ลูกค้ากลุ่มแรกๆ (early adopter) จะยอมจ่ายเงิน เพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ซึ่งสำหรับทีม GetLinks นั้น ได้ทำ Bootstrap วิธีนี้ได้น่าสนใจมาก
ของ TakeMeTour (Marketplace for local tours) เป็นการทำ Personal financing ที่ไม่ได้มาจากกลุ่ม 3F ด้านต้น แต่เป็น F ตัวที่ 4 ซึ่งก็คือมาจากเงินของ Founders ทั้งสองคนเองล้วนๆ ซึ่งเรื่องราวของ TakeMeTour มีดังนี้
ผลิตภัณฑ์นี้เริ่มจาก Co-founders สองคน ทำด้วยกันแบบ Part-time พวกเขาไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยวมาก่อน ที่บ้านไม่ได้ทำทัวร์ หรือโรงแรมอะไร เพียงแต่มีใจรักด้านการท่องเที่ยว ก่อนจะมาเป็นแพลตฟอร์มอย่าง TakeMeTour พวกเขาเริ่มต้นจากวิธี Manual ก่อน อย่างการสร้างคอมมูนิตี้ และลิงก์คนไทยกับคนต่างชาติให้นัดกันผ่านเครื่องมืออื่นๆอย่าง Skype ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ scale จึงตัดสินใจทำแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตามการทำแพลตฟอร์มอย่างจริงจังนั้นจำเป็นจะต้องลงทุนทั้งเงินและเวลาอย่างมหาศาล
สิ่งที่ทั้งคู่ทำในอดีต คือการที่ Co-founder คนนึง (คุณนพพล) ลาออกมาทำงานแบบเต็มตัว ส่วน Co-founder อีกคนนึง (คุณทาโร่) ยังทำงานประจำอยู่ โดยที่คนนึงสามารถให้เวลาได้เต็มที่ ในขณะที่อีกคนนึงสามารถนำเงินเดือนของตนมาเป็นทุนได้ และยังคงช่วยทำงานเต็มที่หลังจากเลิกงาน แต่เมื่อสิ่งที่เป็น input นั้นเป็นคนละประเภทกัน เรียกได้ว่าความน่าสนใจของทั้งคู่คือ ความเชื่อใจกันของทั้งสองคน เป็น Co-founders ลงเรือลำเดียวกัน ที่จะตกลงกันช่วยเหลืองานในบริษัทกันให้ลงตัว (ในปัจจุบัน Co-founders ทั้งหมดทำงาน full-time ที่ TakeMeTour)
กรณีศึกษาจาก GetLinks (Top Tech Hiring Marketplace in Asia) มีวิธีการทำ Customer financing ได้น่าสนใจมาก หากใครพอจะจำได้ เมื่อปีที่แล้วมีงานใหญ่หนึ่งงานชื่อว่า BKK Startup Job Fest เรียกได้ว่าเป็นงานจ็อบแฟร์ ที่รวมบริษัท Startup เอาไว้มากที่สุดในไทย รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเลือกจัดงานในรูปแบบที่เป็น Startup Job Fair ผสมผสานกับ Tech Conference ให้ฟังฟรี ผู้เข้าร่วมงานนอกจากจะได้มาทำความรู้จักกับบริษัท Startup ยังได้มาหาความรู้ใหม่ๆ และอาจจะได้งานกลับไปด้วย และผลที่ได้ก็คือมี users ที่สมัครเข้ามาร่วมงานมากกว่าครึ่งหมื่น (5,500 คน) ผ่านทางเว็บไซด์ และ แอปพลิเคชั่นและมาร่วมงานจริง กว่า 3,500 คน เกิดเป็น community ของคนสาย tech ที่สนใจทำงานกับ Startup ซึ่งทำให้ยอดการ Recruit คนให้กับ Startup ได้ผลตอบรับที่ดีมากจากงานในครั้งนั้น รวมถึงเป็นการสนับสนุนวงการ Startup ไปในตัวอีกด้วย
บริษัท Startup อย่าง GetLinks หาเงินทุนจากไหน ในการจัดงานใหญ่ครั้งนี้? เคล็ดลับก็คือ การทำความเข้าใจในปัญหา และความต้องการของลูกค้าแท้จริง จากงานนี้เงินสนับสนุนงานส่วนใหญ่นั้นมาจากการที่ Customers หรือบริษัทที่ต้องการหาคนเข้าทำงาน สนับสนุนเงินในรูปแบบของการออกบูธ และสปอนเซอร์ ส่วนรูปแบบงานที่สามารถจัดเป็น Conference เชิญกูรูต่างๆมากมายมาได้นั้น ก็มาจากไอเดียสุดเจ๋งและความไฟแรงของทีมที่ได้เชิญชวนพี่ๆกูรูในวงการ Startup มาแบ่งปันไอเดีย และประการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อ Community และเกิดการแนะนำและช่วยเหลือต่อๆกันมา
และหลังจากจบงาน ยังมีช่วงถาม-ตอบ โดยมีคำถามคำตอบที่น่าสนใจดังนี้
Q: ว่ากันว่าถ้าเกิดล้มให้รีบลุก แต่เมื่อไรเราถึงจะเรียกได้ว่าล้มเหลว fail จริงๆแล้ว?
A: คุณป๊อปเล่าว่า GetLinks เคย pivot มาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง เรียกได้ว่า pitch อีกนับครั้งไม่ถ้วน แต่ละรอบ ไม่เหมือนกันเลยซักครั้ง เราผ่านอะไรกันมาเยอะ แต่ทุกครั้งเราเรียนรู้จากมัน เราล้มแล้วลุกเร็วมาก และมันทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น ดังนั้น นี่ไม่ได้เรียกว่า fail นี่คือการไปต่อ ทั้งสองคนมีความเห็นว่า จุดที่เรียกว่า fail คือการที่หมดจริงๆ ระหว่างอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ 1. หมดเงิน 2. หมด passion เพราะถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้หมด แปลว่าไม่มีแรงจะไปต่อแล้ว ถ้ายังไม่ถึงสองจุดนี้ พวกเขามองว่ายังเป็นปัญหาที่ไปต่อได้ ถ้าเหนื่อยก็พักบ้าง
Q: หากทีมไม่สามารถลงคะแนนเสียงโหวตให้ลงตัวได้ (GetLinks มี 4 คน อาจแบ่งเป็น 2:2 และ TakeMeTour มี 2 คน อาจแบ่งเป็น 1:1) จะมีวิธีทำอย่างไร เพื่อให้ลงตัว?
A: คุณป๊อปบอกว่า ต้องคุยโดยใช้หลักเหตุผลเยอะๆ ถามถึงสิ่งที่แต่ละคนคิดในระดับวิสัยทัศน์ คุณทาโร่บอกว่า บางครั้งถ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ละคนอาจจะผลัดกันยอม แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ต่อให้คุยกันข้ามคืนก็ยอม แต่จะต้องไม่ใช้อารมณ์ ถ้าเริ่มเป็นเรื่องของอารมณ์ เริ่มเกิดการทะเลาะ ก็ให้เลิกคุย แล้วค่อยคุยกันใหม่พรุ่งนี้
นอกจากนี้คุณทาโร่ยังได้ฝากข้อคิดสำคัญๆ ไว้สองประเด็น
บอกข่าวอีกนิด สำหรับใครที่สนใจร่วมงานกับสองรายนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ TakeMeTour.com/Career และ GetLinks.co/c/GetLinks หรือใครที่สนใจร่วมงานกับบริษัท Startup ชั้นนำทั่วเอเชียก็สามารถสมัครผ่านบริการของ GetLinks ได้เช่นกัน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด