การจับคู่สำคัญกับธุรกิจอย่างไร ทำไมเราจำเป็นต้องเชื่อมโยง SME เข้ากับ Tech

การจับคู่สำคัญกับธุรกิจอย่างไร : ทำไมเราจำเป็นต้องเชื่อมโยง SME เข้ากับ Tech Ecosystem

ในงาน Singapore FinTech Festival เมื่อปีที่ผ่านมา มีบริษัท Startup แห่งหนึ่งกำลังพัฒนาโปรแกรมแชทบอท (Chatbot) เพื่อให้ลูกค้าองค์กรใช้ติดต่อลูกค้าและบริหารงานขาย ธุรกิจ Startup นี้ดูน่าเชื่อถือ เพราะนอกจากจะสามารถหาลูกค้าได้แล้ว ยังได้รับเงินสนับสนุนจาก angel investors และมีบุคลากรที่มีความสามารถทางเทคโนโลยี โดยใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งปีเท่านั้น แต่เมื่อสอบถามเพิ่มเติมก็ได้รู้ว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท ก็ได้เริ่มพัฒนาโปรแกรมลักษณะเดียวกันขึ้นเองแล้ว

ฉัน (ผู้เขียน) เลยแนะนำให้พวกเขาลองตั้งเป้าหมายลูกค้าเป็นกลุ่ม SMEs เพราะธุรกิจเหล่านั้นมีความจำเป็นทางธุรกิจเหมือนกัน แต่ไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการพัฒนาโซลูชั่น และฉันก็ได้รับคำถามกลับมาว่า

“SME เหรอ? พวกเขาจะต้องการโซลูชั่นนี้หรือ? แล้วพวกเขาจ่ายไหวเหรอ?”

SMEs กับ Tech Solutions – พร้อมจะ Connect กันหรือยัง?    

บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Bain & Co คาดการณ์ว่า  Digital Economy ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะสามารถสร้างมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี ค.ศ.2025

ซึ่งการยกระดับ SMEs ของภูมิภาคเพื่อมุ่งสู่ Digital Economy จะสามารถเพิ่ม GDP ได้ราว 7.8 แสนล้านถึง 1.13 ล้านล้านดอลลาร์

และจากผลการสำรวจ 2018 ASEAN SME Transformation Survey SMEsในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 60% มีความสนใจที่จะลงทุนด้าน Tech Solutions เพื่อพัฒนาธุรกิจ ซึ่งราว 1 ใน 3 ของ SMEs มีการลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลไปแล้ว และเกือบ 80% ของการลงทุนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และบริการต่างๆ อาทิ การพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟน การบริหารจัดการ Digital Platforms และใช้บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี

แหล่งข้อมูล: 2018 ASEAN SME Transformation Survey

ดังนั้นในยุค Digital Economy ผู้ให้บริการ Tech Solutions ควรจับมือกับ SMEs 

กรณีตัวอย่างของบริษัท EU Holidays

บริษัทนำเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านบริการนำเที่ยวสู่ทวีปยุโรปและสหรัฐฯ โดยในปี ค.ศ. 2018 ภายใต้การเข้าร่วม The FinLab’s Smart Business Transformation Programme EU Holidays ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Novocall บริษัท Startup ด้านเทคโนโลยี เพื่อให้ลูกค้าที่เข้าใช้เว็บไซต์สามารถโทรติดต่อพนักงานขายได้เลย ทำให้ EU Holidays มีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 160 ราย หรือ 17% ภายในเดือนแรก

โซลูชั่นการติดต่อกลับของ Novocall บนเว็บไซต์ของ EU Holidays   แหล่งข้อมูล: EU Holidays

กรณีตัวอย่างของบริษัท PW Tech

ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์วาล์วและท่อในประเทศไทย ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เจ้าของบริษัททั้งสองคนของ PW Tech ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดประสิทธิภาพในขั้นตอนธุรกิจ พวกเขาพบว่า BizSmart เป็นชุดโซลูชั่นแบบครบวงจร ทั้งการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ งานขาย การจ่ายค่าจ้าง และงานบัญชี ผู้ใช้สามารถถ่ายโอนข้อมูลให้เข้าไปอยู่บนระบบคลาวด์ ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเวลาจากอุปกรณ์ใดก็ได้ นอกจากนี้ PW Tech ยังสามารถบริหารขั้นตอนการจัดซื้อได้อย่างราบรื่น ติดตามรายการสั่งซื้อและจัดเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย

การแปรรูปธุรกิจสู่ระบบดิจิทัลของ PW Tech ด้วยโซลูชั่น BizSmart   แหล่งข้อมูล: UOB BizSmart

ทั้ง EU Holidays และ PW Tech เป็นเพียงสองกรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า SMEsในภูมิภาคของเรามีการนำโซลูชั่นระบบดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โซลูชั่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพในเชิงธุรกิจอย่างมาก อีกทั้งยังรวมเอาการทำงานของโซลูชั่นระบบ E-Commerce แบบออนไลน์ การบริหารจัดการเนื้อหาและฐานข้อมูล การวางแผนด้านทรัพยากรของธุรกิจ และข้อมูลข่าวกรองในธุรกิจ สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใหม่ เนื่องจากโดยทั่วไป SMEsต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญกับโซลูชั่นต่างๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาทั้งสามารถเพิ่มยอดขายและลดต้นทุนได้อย่างดี

นอกจากการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจแล้ว ยังมีเทคโนโลยีใหม่ๆ อีก อาทิ อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things - IOT), ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence), และระบบการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ ก็เริ่มดึงดูดจินตนาการของผู้ประกอบการ SMEs ที่มีหัวคิดก้าวหน้าได้มากขึ้น ซึ่ง SMEs เหล่านี้ต่างก็ได้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้น จากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในธุรกิจของตนเองแล้ว

อีกสองกรณีตัวอย่างที่ควรนำมาพิจารณาคือ Acepac International และ Lih Ming Construction ทั้งสองบริษัทอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์และดำเนินงานแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ (Business-to-Business - B2B) โดย Acepac International คือผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์และการบริหารคลังสินค้า ในขณะที่ Lih Ming Construction มีความเชี่ยวชาญในด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภคใต้ดิน

ภายใต้การเข้าร่วม The FinLab’s Smart Business Transformation Programme ทั้งสองบริษัทได้จับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท Spotto ซึ่งเป็นบริษัท Startup  IOT ซึ้งตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย และเริ่มติดตามสถานะทรัพย์สินของบริษัทด้วยการใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องอ่าน และแอปพลิเคชั่น ปัจจุบัน Acepac International สามารถติดตามตำแหน่งของบรรจุภัณฑ์ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วน Lih Ming Construction สามารถบริหารจัดการ กำหนดตำแหน่ง และติดตามเครื่องมือทำงานใต้ดินของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น โดยเป้าหมายต่อไป คือการเพิ่มความสามารถด้านการผลิต   

ทีมงานของ Lih Ming Construction (ซ้าย) และ Acepac International (ขวา) ที่แข็งแกร่งขึ้นจากการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยโซลูชั่นอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งของ Spotto

การร่วมมือเพื่อ Digitalisation

การใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาประยุกต์จะทำให้ SMEs ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการปฏิบัติงานและด้านกลยุทธ์ อย่างไรก็ดี SMEs ประเทศไทยยังต้องได้รับการปรึกษาและผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่เหมาะสม อีกทั้งจากรายงาน ASEAN FinTech Census 2018 ก็พบว่าการหาลูกค้าใหม่ถือเป็นความท้าทายสำหรับ Tech community  เช่นกัน

เพราะฉะนั้นแล้วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก สำหรับการสร้างการเติบโตแก่ SMEs และ Tech Community โดยการสร้างเวทีเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มาพบกัน ติดต่อเชื่อมโยง และเริ่มทำโครงการนำร่องร่วมกัน

โดย The Finlab ผู้กระตุ้นการสร้างนวัตกรรมโดยธนาคาร UOB  ได้สร้างแพล็ตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยง SMEs เข้ากับกลุ่มผู้ให้บริการ Tech Solutions โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ได้เริ่มดำเนินงาน Smart Business Transformation Programme ครั้งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการจับคู่ SMEs 11 บริษัทเข้ากับผู้ให้บริการ Tech Solutions ที่เหมาะสม เพื่อการปรับธุรกิจของพวกเขา อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือในการเลือกโซลูชั่นที่เหมาะสม  และการใช้งานนำร่องครั้งแรกๆ เพื่อประเมินความสอดคล้องกัน หลังการทำงานที่ประสบผลสำเร็จ เดอะ ฟินแล็บ จึงนำเสนอโปรแกรมนี้สู่ภูมิภาค โดยเริ่มต้นที่ประเทศไทย ผ่านเครือข่ายธนาคาร UOB

ปัจจุบัน The Finlab กำลังค้นหาผู้ให้บริการ Tech Solutions ที่มีความสนใจทำงานร่วมกับ SMEsในอาเซียน หากท่านสนใจ สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่

งานเปิดตัว Smart Business Transformation ของ เดอะ ฟินแล็บ ในประเทศไทย โดยความร่วมมือกับธนาคารยูโอบี (ไทย), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, และ สำนักงานส่งเสริมSMEs  

เมื่อเริ่มนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และ SMEs ต่างหันมาสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น จึงนับเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ Tech Community ที่จะเปิดเกมรุก เข้าถึงและร่วมมือกับบรรดา SMEs ส่วนบริษัท Startup จากงาน Singapore FinTech Festival ปี 2018 ที่ได้พูดถึงข้างต้น พวกเขาประสบความสำเร็จในการให้บริการแก่ SMEs ของยุโรป 6 แห่ง หวังว่าเราบริษัท Startup ด้านเทคโนโลยีอีกหลาย ๆ แห่งในภูมิภาคของเราก็จะประสบความสำเร็จแบบนี้เช่นกัน

เขียนโดย กลาดีส อึ้ง ไค ซิน ผู้จัดการโครงการ The Finlab

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...