ชวนมารู้จัก Captura Startup ที่จะนำคาร์บอนออกจากมหาสมุทร ช่วยแก้ปัญหาสภาพอากาศโลก | Techsauce

ชวนมารู้จัก Captura Startup ที่จะนำคาร์บอนออกจากมหาสมุทร ช่วยแก้ปัญหาสภาพอากาศโลก

หากว่าเราสามารถดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากทะเลได้จะเป็นอย่างไร วันนี้จะพามารู้จักกับ Captura Startup ที่ต้องการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 

Captura คือใคร 

Captura เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2021 โดยมีจุดประสงค์ในการนำคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากมหาสมุทรโดยใช้เทคโนโลยีจัดการคาร์บอนอัจฉริยะ ที่ตั้งแต่ก่อตั้งเคยประกวดจนได้รับ รางวัลมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์จากการแข่งขัน XPrize ของ Elon Musk

Captura ได้เริ่มดำเนินโครงการแรกที่ Newport Beach ที่แคลิฟอเนียร์จากนั้นจึงขยายโครงการเพิ่ม ที่ศูนย์วิจัยของรัฐบาล และเอกชนที่ชื่อว่า AltaSea ที่ท่าเรือลอสแองเจลิส โครงการนี้คาดว่าจะสามารถกรองคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากมหาสมุทรได้ถึง 100 ตันต่อปี 

เทคโนโลยีของ Captura

แนวคิดของ Captura คือการกรอง CO2 หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ออกจากน้ำทะเล ซึ่งจะทำให้มหาสมุทรสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้นเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกบนชั้นบรรยากาศที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน 

เทคโนโลยี Direct Ocean Capture (DOC) ของ Captura จะใช้วิธีเหมือนกับการรดน้ำต้นไม้ เมื่อน้ำผ่านเข้าสู่ต้นไม้จะมีการดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจนบริสุทธิออกมา แต่ในกรณีนี้จะเป็นการปล่อยน้ำทะเลลงสู่มหาสมุทรดังเดิม เปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำเลยก็ว่าได้ 

โดยน้ำที่ปล่อยกลับคืนสู่มหาสมุทรจะเป็นน้ำที่อยู่ชั้นบนสุด จากนั้นน้ำจะทำปฏิกิริยาดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศลงมา  

ทั้งนี้ Steve Oldham CEO ของ Captura ระบุว่า Captura ขายก๊าซที่ได้จากการกรอง ให้กับบริษัทอื่นเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เช่น คอนกรีตหรือคาร์บอนไฟเบอร์ 

ในระยะยาวเขามองถึงการสร้างโรงงานในการทำ Direct ocean capture (DOC) แบบเชิงพาณิชย์บนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง ที่ปลดระวางแล้ว ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่กรองได้จะถูกนำลงไปใต้พื้นทะเลเพื่อกักเก็บไว้อย่างถาวร

ภาพจาก : Captura

เทคโนโลยีนี้จะกระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ?

กลุ่มคนบางกลุ่มมีความเห็นว่าเทคโนโลยีของ Captura จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเลหรือไม่ เนื่องจากการที่ใช้เครื่องดูดน้ำทะเลเข้าไปนั้น อาจจะมีสัตว์ทะเลที่ติดไปด้วย

Shaye Wolf ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีความรู้ในด้านนิเวศวิทยาและวิทยาศาสตร์มหาสมุทร แสดงความกังวลในเทคโนโลยีของ Captura 

โดยมองว่านอกจากปัญหาที่สัตว์ทะเลอาจเข้าไปติดในเครื่องกรองแล้ว ยังมีคำถามในเรื่องของเสียง ที่มาจากการเพิ่มขนาดของเครื่องกรอง หรือการทำกิจกรรมต่างๆอาจไปกระทบต่อสัตว์ทะเล ในระบบนิเวศหรือไม่ 

 โดยภาพรวมแล้ว ผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดในการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ กลุ่มอุตสาหกรรมฟอสซิลและกลุ่มพันธมิตรที่เหลือ มักจบด้วยการหลอกลวงและหลีกเลี่ยง การดำเนินการที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการสกัดและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

                                                                        Shaye Wolf กล่าว 

ปัจจุบันกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เริ่มให้ความสำคัญกับ Climate Change จึงมีการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีกรองคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศและน้ำมากขึ้น เพื่อต้องการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ 

บริษัท Captura ได้ทำสัญญากับ Frontier หรือ Frontier Climate ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มจาก Stripe, Alphabet, Meta, Shopify และ McKinsey ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้วเพื่อช่วยให้บริษัทอื่นๆ สามารถชดเชยการปล่อยมลพิษผ่านเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอนที่เกิดขึ้นใหม่ได้ง่ายขึ้น 

Captura มีเป้าหมายที่จะขายคาร์บอนเครดิตที่ได้มาจากการกรองในมหาสมุทรผ่าน Frontier และยังมีแผนที่จะสร้างโครงการใหม่ๆเพิ่มในปีหน้า 

ที่มา : The Verge, Frontier, Captura

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBTG เผย ‘Horizontal Core Banking’ บิ๊กโปรเจกต์ขยายระบบหลังบ้าน KBank รองรับการเติบโตได้ถึงปี 2031

เจาะอินไซด์การขยายระบบหลักของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้ายาวถึงปี 2031 ใน ‘Core Banking Horizontal Scale Project’ โดยทีม KBTG และทีม KBank รวมแล้วพันคน มาร่วมแรงร่ว...

Responsive image

DeepSeek และ Qwen: เมื่อ AI ราคาถูกเปลี่ยนโฉมโลก

DeepSeek และ Qwen จาก Alibaba กำลังเปลี่ยนแปลงวงการ AI ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ และระบบนิเวศ AI ทั่วโลก สุภาวดี ตันติยานนท์ วิเคราะห์ผลกระทบและแนวทางที่ประเทศไทยค...

Responsive image

ทำไม Deepseek อาจยังไม่ใช่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ฟังความเห็น ดร.พัทน์ แห่ง MIT Media Lab

DeepSeek R1 คือ AI จากจีนที่ถูกมองว่าอาจท้าทาย ChatGPT-O1 ของ OpenAI แต่ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร วิเคราะห์ว่า DeepSeek อาจยังไม่ใช่ "breakthrough" ที่แท้จริง...