รู้จัก Carbon Robotics บริษัท Startup ด้าน AgriTech เจ้าของ LaserWeeder เทคโนโลยีเลเซอร์และ AI กำจัดศัตรูพืช

วันนี้จะพามารู้จัก Carbon Robotics บริษัท Startup ผู้นำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับการกำจัดศัตรูพืชพร้อมปฎิวัติวงการณ์ Agritech 

AI

Carbon Robotics คือใคร

Carbon Robotics เป็นบริษัท Startup สร้างหุ่นยนต์จำกัดศัตรูพืชขับเคลื่อนด้วย AI ก่อตั้งบริษัทในปี 2018 มี Paul Mikesell เป็น CEO บริษัทตั้งอยู่ที่เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน และ มีโรงงานผลิตหุ่นยนต์ ในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน และจัดส่งโดยตรงไปยังผู้ปลูกในอเมริกาเหนือ บริษัทระดมทุนได้ 67 ล้านดอลลาร์จนถึงปัจจุบัน

มีการเปิดตัวเทคโนโลยีของตัวเองที่มีชื่อว่า LaserWeeder  ในช่วงต้นปี 2022 โดยกำหนดเป้าหมาย ไปยังผู้ปลูกผักรายใหญ่ทั้งในรัฐแอริโซนา, แคลิฟอร์เนีย, ไอดาโฮ, นิวเม็กซิโก,โอเรกอนตะวันออก และรัฐวอชิงตันตะวันออก 

ภาพจาก : Carbon Robotics

ในปีนี้ LaserWeeder ของ Carbon Robotics จะถูกส่งไปยังฟาร์มต่างๆ ใน 17 รัฐของประเทศ สหรัฐอเมริกา และอีก 3 จังหวัดในประเทศแคนาดา บริษัทพร้อมที่จะขยายตลาดไปต่างประเทศต่อไป

ปัจจุบันมีการระดมทุนใน Series C มูลค่าถึง 30 ล้านดอลลาร์ หนึ่งในผู้ลงทุนที่สำคัญก็คือ Voyager Capital หากนับรวมการระดมทุนทั้งหมดจะมีมูลค่าถึง 67 ล้านดอลลาร์

เทคโนโลยีของ Carbon Robotics มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีของ Carbon Robotics เรียกว่า  LaserWeeder เป็นการนำ AI และ Deep learning เข้ามาใช้พัฒนาให้เลเซอร์กำจัดวัชพืชและศัตรูพืชแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

หุ่นยนต์ของ Carbon Robotics ในรุ่นล่าสุดใช้ชิปประมวลผลของ Nvidia มีกล้องความระเอียดสูงรอบตัว ถึง 42 ตัว สามารถตรวจจับหาวัชพืชได้อย่างแม่นยำ 

ตัวเลเซอร์จะเป็นการยิงคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีเลเซอร์ทั้งหมด 30 ตัว มีกำลังไฟ 150 วัตต์ และมีความแม่นยำถึงระดับมิลลิเมตร สามารถที่จะยิงเลเซอร์ได้ทุกๆ 50 มิลลิวินาที ทำให้การกำจัดวัชพืชมีประสิทธิภาพมากกว่าการไถหรือถอนวัชพืชที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก

การทำงานจะใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันกำจัดวัชพืชซึ่งในแอปจะแยกระหว่างวัชพืชและพืชผลแต่ละชนิดเพื่อกำจัดเฉพาะวัชพืชแบบเรียลไทม์ ในขณะที่รถแทรกเตอร์มีความเร็วที่ 1- 2 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 2-4 เอเคอร์ ต่อชั่วโมง 

ภาพจาก : Carbon Robotics

บริษัทยังเชื่อว่าการใช้หุ่นยนต์เข้ามากำจัดวัชพืชจะทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนสำหรับการจ้างแรงงาน และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องสำหรับการทำการเกษตรซึ่งคิดเป็น 28.2% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ในอนาคตการทำเกษตรอาจใช้แรงงานคนลดลงและประหยัดต้นทุนในการผลิตมากขึ้นด้วยการเข้ามาของ AI สำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศแห่งเกษตรกรรม หากนำ AI มาใช้ในอนาคตอาจเพิ่ม ประสิทธิภาพให้กับผลผลิตในไทยก็เป็นได้ 

สำหรับเกษตรไทยภาครัฐบาลและเอกชนมีการผลักดันเทคโนโลยี Digital Transformation เพื่อให้เกษตรไทยก้าวไปสู่ Smart Farm ในอนาคต สำหรับตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนที่สุดคือ Ricult บริษัท Startup สัญชาติไทยที่ใช้ Big Data และ Machine Learning ช่วยเหลือเกษตรกรไทย 

ที่มา : Carbon Robotics

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดโมเดล MIT vs Stanford vs Cambridge ปั้น Deep Tech Spin-off อย่างไรให้ดังระดับโลก?

เรามักตื่นเต้นกับเทคโนโลยีสุดล้ำที่แจ้งเกิดจากมหาวิทยาลัยระดับโลก แต่เคยสงสัยไหมว่าอะไรคือ 'สูตรลับ' ที่เปลี่ยนงานวิจัยเหล่านั้นให้กลายเป็นธุรกิจที่เติบโตได้จริง?...

Responsive image

สรุป 13 เวทีสำหรับองค์กร ผู้ประกอบการ และนักนวัตกรรม ที่ Techsauce Global Summit 2025

เตรียมพร้อมก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมไร้ขีดจำกัดไปกับ Techsauce Global Summit 2025 : The Dawn of Symbiosis ปีนี้เรากลับมาพร้อม 13 เวทีสุดพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อจุดประกายความค...

Responsive image

ทำไมแต่ละประเทศต้องมี AI ของตัวเอง ? ฟัง Jensen Huang คุย Emmanuel Macron ในงาน VivaTech 2025

"คุณไม่สามารถเอาความฉลาดของประเทศไปให้คนอื่นทำ" Jensen Huang (NVIDIA) กล่าวบนเวที VivaTech 2025 ชี้ว่า AI คือวัฒนธรรมและคุณค่าของชาติ เป็นการตอกย้ำจุดยืนฝรั่งเศสในการเป็นผู้นำ AI ด...