ส่องดูสนามบิน Changi Airport Terminal 4 กับความก้าวหน้าด้าน TravelTech ที่สิงคโปร์ | Techsauce

ส่องดูสนามบิน Changi Airport Terminal 4 กับความก้าวหน้าด้าน TravelTech ที่สิงคโปร์

เราพึ่งพูดกันถึงเรื่องใบตรวจคนเข้าเมืองกันหยกๆ คราวนี้เรามาดูเพื่อนบ้านกันบ้างอย่างสิงคโปร์ซึ่งเตรียมเปิด Terminal ใหม่ Terminal 4 ในปีหน้านี้แล้ว ภายใต้พื้นที่กว่า 225,000 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 ชั้นพร้อมความสะดวกสบายด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เราสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

โครงการนี้มีแผนมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อรองรับผู้โดยสารต่อปีที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ และจะมีสายการบิน 9 แห่งเท่านั้นที่จะมาอยู่ที่ Terminal แห่งนี้ในช่วงแรก กลุ่มของ Oneworld รายแรกที่มาก่อนคือ สายการบิน Cathay Pacific กลุ่ม Skyteam จะมา 2 สายการบินนั่นคือ Korean Air และ Vietnam Airlines ส่วน Star Alliance ยังไม่มีมาที่สนามบินนี้ (รวมถึงการบินไทย) ส่วนหนึ่งเพราะ Singapore Airlines ไม่ได้มาที่ Terminal นี้ ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ ถ้าจะต่อเครื่องก็ควรจะง่ายและสะดวกที่สุด เลยยังไม่มีกลุ่ม Star Alliance มาที่ Terminal ดังกล่าว นอกจากนี้สายการบินอื่นๆ ที่จะมาอยู่ที่ Terminal นี้คือ Air Asia, Cebu Pacific และ Spring Airlines นั่นเอง

แนวคิด End-to-End Fully Automated Terminal

สนามบินแห่งนี้มาพร้อม concept ที่ว่า end-to-end fully automated departure process ทุกอย่างเน้น Fast และ Seamless Travel (FAST) รวดเร็วและให้ประสบการณ์แบบกลมกลืนกัน ตั้งแต่ Self Check-in, Baggage Drop และ Immigration นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องการตกแต่งให้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดูสดใส สนุกสนาน และที่นั่นที่ทันสมัย รวมถึงมีต้นไม้เยอะขึ้นกว่า Terminal อื่นๆ

จุด  Check-in

เริ่มต้นประสบการณ์ Automated departure system ด้วย Self Check-in Station พัฒนาโดย Changi Airport เองและทำให้เหมือนกันกับทุกสายการบินงทุกวันนี้ใครที่บินด้วย Jetstar ที่ Terminal 1 อาจเคยได้เห็นเครื่องลักษณะนี้มาบ้างแล้ว ด้วยหน้าจอที่ใหญ่และ Check-in ได้ง่ายขึ้น พร้อม Biometric การตรวจสอบจากใบหน้าว่าตรงกับภาพในหนังสือเดินทางหรือไม่ เปลี่ยนทรงผมยังไง ก็ยังสามารถตรวจสอบได้ แต่ต้องถอดแว่นออก ทางสนามบินคาดหวังว่าจะมีคนใช้เครื่อง Check-in กันอยู่ที่ราวๆ 30-40% ของผู้โดยสาร และอนาคตจะเริ่มทดแทนการ Checkin รูปแบบเดิมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ที่ Drop กระเป๋า

หลังจากนั้นเอา Tag ที่ได้จากการ Checkin ไปติดที่กระเป๋า แล้วเอากระเป๋าไป drop ไว้ ตรงจุดนี้ก็ไม่ได้มีคนอยู่ และใช้กล้องในการตรวจสอบ ถ้ามีปัญหาอะไรจะแจ้งกลับไปยังเจ้าหน้าที่ให้มาตรวจสอบอีกที

จุด Immigration

ล้กษณะคล้ายๆ กับ Check-in และระบบการ Drop กระเป๋า จะใช้เครื่องตรวจในรูปแบบของ Biometric โดยคนสิงคโปร์สามารถใช้ระบบนี้ได้อัตโนมัติ แต่สำหรับชาวต่างชาติต้องทำการลงทะเบียนก่อนใช้บริการนี้ ขั้นตอนการตรวจสอบประกอบด้วยการสแกนเอกสาร ตรวจสอบลายนิ้วมือ และการสแกนใบหน้า ดูแล้วคล้ายๆ บ้านเราแต่รองรับชาวต่างชาติที่ทำการลงทะเบียนด้วย ลักษณะแบบนี้เคยเห็นที่อิสราเอลเช่นกัน

จุดตรวจความปลอดภัย

ถือเป็นจุดที่ดูเคร่งเครียดที่สุดแต่สนามบินนี้เอาจอ LED อันใหญ่ๆ ขนาด 70 เมตรมาตั้งไว้พร้อมภาพสวยๆ ที่ลดความตึงเครียดลงไปได้ สำหรับเครื่องตรวจมีทั้งเครื่องตรวจโลหะ และ full body scanner ที่ไม่ต้องมาคอยถอดเสื้อคลุม รองเท้า หรือเข็มขัดอีก ส่วนกระเป๋าถือจะใช้ CT Scanner แทนการ X-ray แบบเดิม ทำให้เจ้าหน้าที่เห็นภาพในรูปแบบ 3 มิติมากขึ้น การใช้ CT Scanner ทำให้ไม่ต้องเอา Notebook ออกจากกระเป๋าแล้ว ทำให้กระบวนการตรงนี้เร็วขึ้นมาก

Boarding Gates

ในจุดนี้ก็เช่นกันใช้ Biometric เป็นหลักในการตรวจสอบ ใช้การจดจำใบหน้าจากจุดของ Immigration ไม่ต้องมาแสดงเอกสารเดินทาง

นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์หน้าตาจิ้มลิ้มแบบนี้มาทำความสะอาดในส่วนพื้นที่ใหญ่ๆ อีกด้วย สำหรับผู้โดยสารขาเข้าก็เช่นเดียวกัน การตรวจสอบต่างๆ จะเน้นไปที่การนำเสนอประสบการณ์แบบ Automate มากที่สุด

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทำให้นักเดินทางสะดวกสบาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่วนบ้านเราจะปรับปรุงอย่างไรให้ดีขึ้นนั้น...คงต้องติดตามดูกันต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านต่อได้ที่ Business Traveller

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...