จีน ทุ่มงบสร้าง 'Hyperloop' แก้ปัญหาจราจรและมลพิษทางอากาศ | Techsauce

จีน ทุ่มงบสร้าง 'Hyperloop' แก้ปัญหาจราจรและมลพิษทางอากาศ

HyperloopTT

เป็นที่รู้กันว่าเมืองใหญ่อย่างจีนกำลังเผชิญปัญหาการจราจร อันเป็นต้นเหตุปัญหามลพิษทางอากาศและระยะเวลาการเดินทางที่คาดคะเนไม่ได้ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน

โดยล่าสุด บริษัทจีนที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้พยายามแก้ปัญหารถนี้ ทำการทุ่มเงินลงทุนใน Startup ด้านไฮเปอร์ลูป ของสหรัฐที่ชื่อว่า Arrivo จำนวน 1 พันล้านดอลลาร์ และอีก 300 ล้านดอลลาร์ในบริษัท Hyperloop Transportation Technologies (HyperloopTT)

อ่านเพิ่มเติม: Hyperloop คืออะไร การปฏิวัติการคมนาคมในอนาคตหรือแค่ขายฝัน?

มีรถไฟความเร็วสูงแม็กเลฟเป็นต้นแบบ

โดยแผนของทั้งสองบริษัทนั้นคือ บริษัท Arrivo ผู้ให้บริการด้านการขนส่ง มุ่งเน้นไปที่การบรรเทาการจราจรบนทางหลวง โดยการสร้างทางแยกที่อนุญาตให้รถวิ่งได้ในความเร็ว 320 กม. ต่อชม. บนท่อแม่เหล็กที่ลอยด้วยแม่เหล็กภายในหลอดสุญญากาศที่ปิดผนึก (ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันจะอยู่บนถนนหรือใต้ดิน)

ภาพจาก Arrivo และ Colorado Department of Transportation

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนการสร้างไฮเปอร์ลูปของ Arrivo ให้จีนนั้นยังไม่ได้ประกาศแน่ชัดว่าจะเป็นอย่างไร หรือจะสร้างในเมืองไหน อย่างไรก็ตาม Andrew Liu ผู้เป็น co-founder ได้บอกกับทางสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า เม็ดเงินลงทุน 1  พันล้านก็น่าจะเพียงพอแล้วในการสร้างโครงข่ายไฮเปอร์ลูปทั่วเมืองในแต่ละส่วนในระยะ 9.5 ถึง 14.4 กม.

ส่วนบริษัท Hyperloop Transportation Technologies (HyperloopTT) ได้มีแผนออกมาแล้ว จริงๆ แล้วก็จะมีรูปแบบเหมือนรถไฟความเร็วสูงแม็กเลฟ (Maglev) แต่สิ่งโดยสารจะเป็นมนุษย์ ไม่ใช่รถยนต์ ที่จะพุ่งทะยายไปกับเครื่องด้วยความเร็วระดับ 1200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเม็ดเงินจำนวน 300 ล้านบาทจะนำไปสร้างเส้นทางเพื่อทำการทดทอบในระยะ 10 กิโลเมตร ที่เมืองกวางโจว นี่ถือเป็นการร่วมมือครั้งที่สามของ HyperloopTT หลังจากได้ทำสัญญาสร้างที่อาบูดาบีและยูเครนไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

การจัดการกับเงินลงทุนที่สูงลิบ

แน่นอนว่าการสร้างไฮเปอร์ลูปนั้นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่การสร้างโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาการขนส่ง ก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร ที่เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกในเมืองใหญ่

ประเทศจีน ได้มีความพยายามแก้ปัญหานี้หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดการออกทะเบียนรถ การขยายเส้นทางจักรยาน ไปจนถึงการแชร์ข้อมูลการขับขี่ร่วมกันด้วยสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ จากข้อมูลของ AutoNavi บริษัทพัฒนาแผนที่และระบบนำทางของจีน รายงานว่า ความหนาแน่นของกระแสจราจรลดลง 12.5% และ 9% ในเมืองหางโจวและเซินเจิ้นตามลำดับ แม้ว่าประชากรจะเพิ่มขึ้น 3-5% ก็ตาม

แล้วจะรอดไหม?

หากการสร้างไฮเปอร์ลูปสำเร็จจริง การปรับใช้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะหากมีค่าบริการสูง (เพื่อนำมาครอบคลุมต้นทุนที่เสียไป) การปรับใช้ก็อาจจะต่ำด้วย และอาจจะไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมากนัก

รถไฟความเร็วสูงแม็กเลฟของจีนถือเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยแก้ปัญหาประชากรที่กำลังเพิ่มขึ้นก็จริง ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยบริษัท HyperloopTT จะต้องสร้างท่อที่มีผ่านเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 4 เมตร ต้องทำการโดยสารคนจำนวนครั้งละ 28-40 คน อีกทั้งต้องนำมาแก้ปัญหาหารจราจรในเซินเจิ้นที่มีรถวิ่งบนถนนกว่า 3 ล้านคัน

ในตอนนี้เราอาจจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจีนจะประสบความสำเร็จในการปรับใช้ไฮเปอร์ลูปหรือไม่ เราอาจจะได้มองจีนเป็นอีกกรณีศึกษาในการปรับใช้ไฮเปอร์ลูปกันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไอเดียการนำนวัตกรรมมาใช้ในการแก้ปัญหาการคมนาคมในเมืองที่กำลังขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในเมื่อนวัตกรรมนั้นยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มันก็ไม่ใช่ไอเดียที่ผิดอะไร

ล่าสุด เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา บริษัท Arrivo ได้ทำการปิดตัวลง เนื่องจากไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนได้ ทำให้ตอนนี้มีเพียง HyperloopTT เท่านั้นที่ดำเนินการสร้างไฮเปอร์ลูปในประเทศจีน ส่วนผลจะเป็นอย่างไรนั้นต้องทำการติดตามกันต่อไป

ภาพหน้าปกจาก HyperloopTT

อ้างอิงข้อมูลข่าวจาก:

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถกยุทธศาสตร์ AI ไทย หนทางดึงไทยกลับเวทีโลก ควรเริ่มอย่างไร ?

ค้นพบโอกาสและความท้าทายของ AI ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน!...

Responsive image

รัฐบาลเวียดนามขยับ SME ได้เวลาทวงคืนตลาดแฟชั่นจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีนอย่าง Shein และ TEMU

รัฐบาลเวียดนามเตรียม "บล็อก" แอปพลิเคชันและโดเมนช้อปปิ้งออนไลน์ของจีนอย่าง Shein และ Temu ถ้าไม่จดทะเบียนอย่างถูกต้องก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทวงคืน “อุ...

Responsive image

AI ไม่ได้แทนที่คุณ แต่จะช่วยให้คุณ 'ดีกว่าเดิม'

สำรวจแนวคิด "จิตวิทยาไซบอร์ก" ในการออกแบบระบบมนุษย์-AI เพื่อความรุ่งเรืองของมนุษย์ พร้อมบทบาทของ AI ในการพัฒนาไทยให้เป็น “AI Land” จากมุมมอง ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร ในงาน THE STANDARD ...